การพัฒนากิจกรรมเสริมสร้างความรู้ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย

Main Article Content

สุดาพร ปัญญาพฤกษ์
อนุชิต วัฒนาพร
ไอลดา มณีกาศ
ณัฐธิดา ดวงแก้ว
ทัศน์พล ชื่นจิตต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมเสริมสร้างความรู้ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก 2) เปรียบเทียบความรู้ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการก่อนและหลังกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก 3) ศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก มีกลุ่มเป้าหมาย คือ ครูโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดเชียงราย จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ คู่มือกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ แบบวัดความรู้ แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบสังเกต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา


ผลการวิจัย พบว่า 1) กิจกรรมเสริมสร้างความรู้ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ มีเนื้อหา 4 ประเด็น ได้แก่ 1.1) การบูรณาการเพื่อพัฒนาผู้เรียน 1.2) การจัดกิจกรรมและการวัดประเมินผลการเรียนรู้แบบบูรณาการตามบริบทโรงเรียน 1.3) สื่อเพื่อบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ตามบริบทโรงเรียน และ 1.4) การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามบริบทโรงเรียน มีกิจกรรม 4 ลักษณะ ได้แก่ กิจกรรมเดี่ยว คู่ กลุ่มเล็ก และกลุ่มใหญ่ กิจกรรมที่สำคัญ คือ การสะท้อนคิด การอธิบาย การอภิปราย การยกตัวอย่าง กรณีศึกษา การสาธิต กระบวนการกลุ่ม การลงมือปฏิบัติ เทคนิคคู่คิด การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเทคนิคอ่างปลา 2) ครูมีความรู้ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลังจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนจัดกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) ครูมีความคิดเห็นต่อกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกในระดับมากที่สุด และจากการสังเกตพบว่ามีการออกแบบและเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นบริบทโรงเรียนและท้องถิ่น

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

จรรยา ดาสา. (2552). 15 เทคนิคในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนเชิงรุก. นิตยสาร สสวท., 36(163), 72-76.

ชัย สันกว๊าน และ พูนชัย ยาวิราช. (2557). ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กในอนาคต (พ.ศ. 2556 -2565) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตภาคเหนือตอนบน. วารสารราชพฤกษ์, 12(2), 45-53.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี

ประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 21). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นพพร ธนะชัยขันธ์. (2555). สถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์วิทยพัฒน์.

นรินทร์ เจริญพันธ์. (2565, 5 มกราคม). การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning. คลังปัญญามหาวิทยาลัยบูรพา. http://km.buu.ac.th/article/frontend/article_detail/141

พัชราวดี พระยาลอ. (2565). ประสิทธิผลทางการเรียนของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่หลากหลายใน

วิชาเคมีคลินิก, วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้, 2(1), 87-96.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2561). ทักษะ 7C ของครู 4.0 (พิมพ์ครั้งที่ 4). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และ พเยาว์ ยินดีสุข. (2563). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังกับ PLC

เพื่อการพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). บทนำ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: ข้อเสนอต่อสังคมไทยและสังคมอาเซียน. ใน ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (บ.ก.), เติบโตเต็มตามศักยภาพสู่ศตวรรษที่ 21 ของการศึกษาไทย (น. 11). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เยาวเรศ ภักดีจิตร. (2557, 30 กรกฎาคม). Active Learning กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. https://apr.nsru.ac.th/ home.php?page=act_file&y=WndIMUFqPT0=&f=WlFSPQ==

สมศรี สุ่มมาตย์. (2557). รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2560). ครูยุคใหม่กับการจัดการเรียนรู้สู่การศึกษา 4.0. ศูนย์หนังสือ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุดาพร ปัญญาพฤกษ์. (2562). ก้าวสู่การจัดการเรียนรู้แนวใหม่ในศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 2).

บริษัท แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

สุเทพ ชิตยวงษ์. (2564, 15 ธันวาคม). นโยบายการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก. สํานักงาน

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. http://www.cri2.go.th/wp-content/uploads

/2020/07/m-p-4.pdf

สุภาพร เตวิยะ. (2565). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความเชื่อมั่นในตนเองของนักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 16(1), 122-134.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). แนวการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2564, 15 ธันวาคม). ยุทธศาสตร์ชาติ

พ.ศ. 2561 – 2580 (ฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา). สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและ

สังคมแห่งชาติ. https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/568683

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). แนวทางการจัดการเรียนฐานสมรรถนะเชิงรุก :

ถอดบทเรียนจากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. บริษัท เอส.บี.เค. การพิมพ์ จำกัด.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2553). หลักการสอน (ฉบับปรับปรุง) (พิมพ์ครั้งที่ 5). โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮาส์.

Bonwell, C.C., & Eison, J.A. (1991). Active learning: Creating Excitement in the Classroom. https://eric.ed.gov/?id=ED336049

Felder, R. & Brent, R. (1996). Navigating the Bumpy Road to Student-Centered Instruction. Journal of College Teaching, 44(2), 43-47. https://www.jstor.org/stable/27558762

Fosnot, C. T. (1996). Constructivism: Theory, Perspectives and Practice. Teacher

College Press.

Minnick, W., Cekada, T., Marin, L., Zreiqat, M., Seal, B., & Mulroy, J. (2022). The Impact of Active Learning Strategies on Retention and Outcomes in Safety Training. Creative Education, 13(2), 526-536. https://doi.org/10.4236/ce.2022.132031