การส่งเสริมทักษะการปฏิบัติดนตรี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับชุดกิจกรรม รายวิชา ดนตรี-นาฏศิลป์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับชุดกิจกรรม รายวิชา ดนตรี-นาฎศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนและหลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับชุดกิจกรรม รายวิชา ดนตรี-นาฎศิลป์ 3) ศึกษาพัฒนาการทักษะการปฏิบัติดนตรีของนักเรียนชันมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับชุดกิจกรรม รายวิชา ดนตรี-นาฎศิลป์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโนนกอกวิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผนการเรียนรู้ รวม 16 ชั่วโมง ชุดกิจกรรม รายวิชา ดนตรี-นาฏศิลป์ จำนวน 5 ชุดกิจกรรม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ แบบวัดทักษะการปฏิบัติดนตรี จำนวน 5 ข้อ มีระดับคะแนน 4 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าคะแนนพัฒนาการ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับชุดกิจกรรม มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.17/81.11 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาดนตรี-นาฏศิลป์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) พัฒนาการทักษะการปฏิบัติดนตรีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยรวมอยู่ในระดับมาตรฐาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.01 คิดเป็น ร้อยละ 80.06
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
กนกพร ฉันทนารุ่งภักดิ์. (2548). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บแบบผสมผสานด้วยการเรียนการสอนแบบร่วมมือ ในกลุ่มการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] สาขาโสตทัศนศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กรมศิลปากร. (2564, 10 มิถุนายน). ราชสดุดี คีตมหาราชา. สืบค้นจากhttp://royalmusic.tkpark.or.th/dumrhi.htm
ฐิติพัฒน์ โกเมนพรรณกุล. (2554). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานวิชาปฏิบัติกีตาร์ 1 ที่มีต่อทักษะการปฏิบัติทางดนตรี สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา. นครปฐม:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปรัชญนันท์ นิลสุข และปณิตา วรรณพิรุณ. (2556). การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน: สัดส่วนการผสมผสาน. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 25(85), 31-36.
ปองภพ สุกิตติวงศ์. (2561). การประยุกต์ใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานในการจัดการเรียนการสอน ทางด้านทฤษฎีดนตรีสากล. วารสารจันทรเกษมสาร, 24(47), 95-108.
พัฒนะ พิพัฒน์ศรี. (2563). การพัฒนาการจักการเรียนรู้แบบผสมผสาน เรี่อง การเขียนโปรแกรม Kid Bright สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.
พัฒน์ณรี ลีวิวัฒนโชต. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติขลุ่ยรีคอรเ์ดอร์โดยใช้ชุดการสอนมัลดิมีเดีย เรื่อง รีคอร์เดอร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดทองสัมฤทธิ์ [ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ยุทธนา ทรัพย์เจริญ. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานวิชาดนตรีสากล เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติทางดนตรีและความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สาขาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
วัจนกร สารแขวีรกุล. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติดนตรีโปงลาง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
สุธีระ เดชคำภู. (2560). การพัฒนาทักษะการปฏิบัติเปียโนและคีย์บอร์ด โดยใช้ชุดกิจกรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
อุษา รัตนบุปผา. (2547). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แบบความสัมพันธ์สำหรับนักเรียน
มัธยมศึกษา ปีที่ 1 [ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
Bonk, C.J., & Graham, C.R. (2004). Handbook of blended learning: global perspectives. San Francisco, CA: Pfeiffer publishing.
Nick Van Dam. (2003). The E-Learning Fieldbook. New York: McGraw-Hill.