การวิเคราะห์องค์ประกอบการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

Main Article Content

เจนจิรา ปาทาน
จรัญ แสนราช

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อ และ 2) ศึกษาความคิดเห็นต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ จำนวน 893 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 36 ข้อ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา อยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.867 การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย ใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ


ผลการวิจัย พบว่า การตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ มีค่าความแปรปรวนรวม 65.345 % จากการวิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างขององค์ประกอบจำนวน 36 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 1 ภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยและหลักสูตร องค์ประกอบที่ 2 อาจารย์และเหตุผลส่วนตัว องค์ประกอบที่ 3 การเงิน องค์ประกอบที่ 4 ภาพลักษณ์อาชีพ องค์ประกอบที่ 5 บุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยองค์ประกอบภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยและหลักสูตรมีค่าความแปรปรวนที่มากที่สุดเท่ากับ 45.815% และ 2) นักศึกษามีความคิดเห็นต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยความคิดเห็นลำดับแรกที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ คือ ครอบครัวสนับสนุนการเข้าศึกษาต่อ

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

ณัชชา สุวรรณวงศ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา (ระบบโควตา) ประจำปี 2560. งานบริหารงานทั่วไป. สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

ธีระ จิตต์หาญ, อัญชิษฐา สืบสมบัติ, สุทัศน์ ชื่นผล และปาณิสรา จรัสวิญญู. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการจัดการทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร (น. 390 - 399). มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ปฐมา อาแว และนิยาวาเฮร์ ไพบูลย์. (2562). การตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วารสารวิชาการ ปขมท., 9(2), 22-32.

พรพนา ศรีสถานนท์ และสุชาดา บุญเรือง. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรีออนไลน์. วารสารรัชต์ภาคย์, 11(23), 257- 266.

ยุทธ์ ไกยวรรณ์. (2550). หลักการทำวิจัยและการทำวิทยานิพนธ์. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

รตวรรณ ประวิรัตน์ และสมบัติ ท้ายเรือคำ. (2561). การวิเคราะห์องค์ประกอบแรงจูงใจในการเลือกเรียนระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 37(4), 142-153.

วิทวัส เหล่ามะลอ. (2562). รายงานการวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปีการศึกษา 2562 โดยผ่านการคัดเลือกด้วยระบบ TCAS. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 - 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ. (2565). สถิติจำนวนนักศึกษาคงอยู่ จำแนกตามคณะ/วิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2565 (วันที่ 30 กันยายน 2565). มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

http://www.oass.sskru.ac.th/OASS.html

สุชาดา สุดจิตร. (2562). คุณลักษณะของอาจารย์ผู้สอนตามความคิดเห็นของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดภูเก็ต. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 37(1), 146–156.

Berry, W.D. & Feldman, S. (1985). Multiple Regression in Practice (Quantitative Applications in the Social Sciences). Thousand Oaks: SAGE Publications.

Comrey, A. L. (1988). Factor-Analytic Methods of Scale Development in Personality and Clinical Psychology. Journal of Consulting and Clinical Psychology, 56, 754-761.

Comrey, A. L., & Lee, H. B. (1992). A First Course in Factor Analysis (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum.

Harbison, Frederick Harris. (1973). Human resources as the wealth of nations.

New York: Oxford University Press.

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J. & Anderson, R.E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). New York: Pearson.

Kerlinger, F. N. (1986). Foundations of Behavioral Research (3rd ed.). USA: Hort, Rinehart and Winson.

Maslow. A.H. (1970). Motivation and Personality. New York: Harper & Row Publishers.

Nunnally, J.C. (1978). Psychometric theory (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.

Simon, H. (1966). Administrative Behavior: A Study of Decision Making Process in Administrative Organization. Toronto: The Free Press.