การศึกษาภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มจัดการศึกษาเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาเนินมะปราง 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2

Main Article Content

นาขวัญ สุรนันท์
ณิรดา เวชญาลักษณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มจัดการศึกษาเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาเนินมะปราง 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือ ผู้บริหาร และครู จำนวน 173 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 18 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง และครู จำนวน 105 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย รวม 123 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่น 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มจัดการศึกษาเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาเนินมะปราง 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การฟัง รองลงมา คือ การสร้างสังคมชุมชน การเห็นอกเห็นใจ การโน้มน้าวใจ และการให้บริการ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ วิสัยทัศน์         

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กนกพร อินตาวงค์. (2564). ภาวะผู้นำใฝ่บริการ: ความหมายความสัมพันธ์และการนำไปปรับใช้ในองค์การ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร. วิทยาเขตอีสาน, 2(1), 31-38.

ขวัญจิตร์ อักษร. (2565, 11 มกราคม). นโยบายสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2. การประชุมเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน 1/2565. โรงเรียนรักไทยร่มเกล้าอุปถัมภ์ พิษณุโลก.

ทิพสุคนธ์ บุญรอด. (2563). ภาวะผู้นำมุ่งบริการของผู้บริหารสถานศึกษากับคุณภาพชีวิตการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นิพนธ์ ภู่พลับ. (2564). รูปแบบภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 13(2), 368-384.

บุญจันทร์ สีสันต์. (2557). การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะผู้นำแบบรับใช้ของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 13(2), 58-65.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.

พรพิพัฒน์ ตั้งจิตรวัฒนากุล, และ สุกัญญา แช่มซ้อย. (2560). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบให้บริการของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 23(1), 38-54.

พิชญ์สิชา พงษ์พันแพงพงา, และ วิชัย วงษ์ใหญ่. (2558). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำการให้บริการสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(1), 121-128.

ภณิดา ชูช่วยสุวรรณ, และ วิชิต แสงสว่าง. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบรับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษากับการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 13(2), 356-370.

มารุต ศักดิ์แสงวิจิตร, และ ทิวัตถ์ มณีโชติ. (2564). ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความมุ่งมั่นในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วารสารครุศาสตร์, 49(1), 1-18.

รุ่งทิวา กลัดมุข, และ ชวน ภารังกูล. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมของครู ในสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่นที่ 4. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 22(1), 194-209.

รุจิรา เข็มทิพย์, และคณะ. (2561). ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารโรงเรียนและวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วารสารบัณฑิตศึกษา, 15(70), 111-121.

วาระดี ชาญวิรัตน์. (2559). การพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้นำวิชาการด้านการศึกษาพิเศษ. วารสารชุมชนวิจัย, 10(1), 35-44.

สดศรี พูลผล. (2562, 13-15 มีนาคม). Servant Leadership: Leading by serving. การประชุมวิชาการ HA National Forum ครั้งที่ 20. กรุงเทพฯ, ประเทศไทย.

สายชล มัตถะปะโท, และคณะ. (2564). ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 6(3), 55-68.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี

สุริยา ทองยัง, และ วรกาญจน์ สุขสดเขียว. (2560). ทักษะของผู้บริหารโรงเรียนวัดตะล่อม สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร, 7(2), 1-9.

อรุณ พรหมจรรย์, และคณะ. (2556). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), 19(2), 67-80.

เอกวิทย์ น้อยมิ่ง, และคณะ. (2563). ภาวะผู้นำเชิงบริการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน : การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 14(3), 105-116.

Greenleaf, R.K. (2003). The servant-leader within: A transformative path. In H. Beazley, C.L. spears, & J. Beggs (Eds.), Paulist Press.history and development (pp. 1-28). UniversityPress of America.

Laub, J. (2004). Defining servant leadership: A recommended typology for servant leadership. In S. Adjibolosoo (Ed.), The human factor in shaping the course of history and development. American University Press.

Patterson, K. (2003). Servant leadership: A theoretical model [Doctoral dissertation]. Regent University. http://www.regent.edu/acad/global publications/sl_ proceedings /home.shtml

Spears, L.C. (2002). Focus on leadership: Servant-leadership for the twenty-first century. John Wiley & Sons.

Page, D., & Wong, P.T.P. (2000). A conceptual framework for measuring servant leadership. Trinity Western University.

Yukl, G.A. (2002). Leadership in organizations. (5th ed). Prentice-Hall.