การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่อง ทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดเมตาคอกนิชัน

Main Article Content

อรทัย วรรณวุฒิ
ปาริชาติ ประเสริฐสังข์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทศนิยมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามแนวคิดเมตาคอกนิชันให้มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป ในการวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบัณฑิตวิทยา จำนวน 12 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดเมตาคอกนิชัน เรื่อง ทศนิยม แบบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เป็นแบบอัตนัย จำนวน 4 ข้อ และแบบสัมภาษณ์นักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


              ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนกลุ่มเป้าหมายจำนวน 12 คน มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเมตาคอกนิชันสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70  โดยในวงรอบปฏิบัติการที่ 1 นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ผ่านเกณฑ์ 10 คน จากนักเรียนทั้งหมด 12 คน คิดเป็นร้อยละ 83.33 และวงรอบปฏิบัติการที่ 2 นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ผ่านเกณฑ์ 12 คน คิดเป็นร้อยละ 100 แสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเมตาคอกนิชันที่มุ่งให้นักเรียนมีกระบวนการคิด กำกับ ควบคุม และประเมินความคิดของตนเองอย่างเป็นระบบ สามารถพัฒนาการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนได้

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กรมวิชาการ. (2545). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. โรงพิมพ์องค์การรับส่ง สินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ทิศนา แขมมณี, ศิริชัย กาญจนวาสี, พิมพันธ์ เดชะคุปต์, ศรินธร วิทยะสิรินันท์, นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์, และ ปัทมศิริ ธีรานุรักษ์. (2544). วิทยาการด้านการคิด. เดอะมาสเตอร์กรุ๊ปแมเนจเม้นท์.

ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 19). โรงพิมพ์ด่านสุทธาการพิมพ์.

ปาริชาติ ประเสริฐสังข์. (2564). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์สมัยใหม่. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

โรงเรียนบัณฑิตวิทยา. (2564). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา. โรงเรียนบัณฑิตวิทยา.

วัชรา เล่าเรียนดี, ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง และ อรพิณ ศิริสัมพันธ์. (2560). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อพัฒนาการคิดและยกระดับคุณภาพการศึกษา สำหรับหรับศตวรรษที่ 21. โรงพิมพ์เพชรเกษมพริ้นติ้ง.

ศศิธร งามผ่อง. (2565). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA MODEL ร่วมกับกลวิธีเมตาคอกนิชัน [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2564,10 มีนาคม). ค่าสถิติพื้นฐานผลการทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562-2564. http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/Login.aspx

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564, 16 มีนาคม). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. https://drive.google.com/file/d/1YJPcpAk6FfQb9RP3FBumLvZIgDgOpTUo/view

อัมพร ม้าคนอง. (2556). จิตวิทยาการเรียนรู้คณิตศาสตร์. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rd ed). Stale: Victoria Deakin University.

Miller, M. (1991). Self-assessment as a specific strategy for teaching the gifted learning disabled. Journal for the Education of the Gifted, 14(2), 178-188.

Özsoy, G., & Ataman, A. (2009). The effect of metacognitive strategy training on mathematical problem solving achievement. International Electronic Journal of Elementary Education, 1(2), 67-82.

Woolfolk, A. E. (2004). Educational psychology. Boston: Allyn & Bacon.