ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

Main Article Content

อรัญญา แสนสีแก้ว
วัลนิกา ฉลากบาง
พรเทพ เสถียรนพเก้า

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียน 2) ระดับประสิทธิผลในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลกับประสิทธิผลในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียน                4) อำนาจพยากรณ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียน และ 5) แนวทางพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 จำนวน 468 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิผลการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยที่ส่งผลกับประสิทธิผลในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียน              โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียนด้านการจัดการเรียนรู้ ความเข้าใจของผู้ปกครองและชุมชน ความรู้และทักษะของครูผู้สอน และบทบาทผู้บริหารโรงเรียน มีอำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 77.80 5) แนวทางพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียน มี 4 องค์ประกอบ คือ การจัดการเรียนรู้ ความเข้าใจของผู้ปกครองและชุมชน ความรู้และทักษะของครูผู้สอน และบทบาทผู้บริหารโรงเรียน

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการฉบับที่ 3 พ.ศ.2560-2564. https://qrgo.page.link/bfkeb.

กันตพัฒน์ มณฑา. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษากรุงเทพมหานคร [ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสยาม.

กิ่งเพชร ส่งเสริม.(2552). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรวมแบบคละชั้นที่มีเด็กที่มี ความต้องการพิเศษในโรงเรียนประถมศึกษา [ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จาตุรงค์ เจริญนำ. (2558). การศึกษาสภาพการบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT) และแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของโรงเรียนจัดการเรียนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

จีระพรรณ โพนพุธ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษภาคตะวันออก. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 10(2), 291-303.

ดารณี อุทัยรัตนกิจ. (2562). การศึกษาแบบเรียนรวมเพื่อความเป็นธรรมในสังคม. หอสมุดคุรุสภา.https://shorturl.asia/A7Vsx.

ธัญลักษณ์ จันทร์ศรี. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารการศึกษาพิเศษของโรงเรียนแบบการเรียนรวมสำนักงานศึกษาธิการภาค 14 [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

นงค์รักษ์ เคนไชยวงศ์. (2561). กลยุทธ์การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมอย่างมีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

นิลักษณ์ การสอน. (2561). สภาพปัญหาและแนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรวมในโรงเรียน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครพนม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. สุวีริยาสาส์น.

รุ่งชีวา สุขศรี. (2556). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเรียนร่วมระดับมัธยมศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. สุวีริยาสาส์น.

ศานติกรศิ์ วงค์เขียว. (2560). รูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมมาตรฐานการเรียนรวมของโรงเรียนรวม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(2), 231-244.

สุชาดา บุบผา. (2557). การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education). คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

สุมาลี ศรีผง. (2560). รูปแบบการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน[วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สุทธิ สุวรรณจันทร์. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. (2562). สรุปรายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาเรียนรวม ปีการศึกษา 2562. https://bit.ly/3hVcLKz.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาต้นแบบการเรียนรวม (Inclusive schools). สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). การวิเคราะห์การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กพิการและเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษของประเทศไทย. 21 เซ็นจูรี่ .

สำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ. (2562). รายงานจำนวนข้อมูลนักเรียนพิการเรียนรวมแยกเขตพื้นที่และประเภทความพิการ. http://specialbasic.spcialset.bopp.go.th/specialbasic/download/studentall_deform_2562_1.pdf.

สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2553). อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ. สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). รายงานการวิจัยเรื่อง ความทั่วถึงและเท่าเทียมของการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. 21 เซ็นจูรี่.

Callin, L. (2012). A case study examining the inclusion of children with special needs in a mainstream primary school. Teacher Education and Special Education, 14(4), 221-227.

Galleto, P. and Bureros, S. (2017). Estimating vulnerability in promoting inclusive education in the Philippines, American Journal of Educational Research, 5(3), 332-337.

Lee, F.L.M. et al (2016). What predicts teacher acceptance of students with special needs in kindergarten. Australian Journal of Education & Development Psychology, 14, 60-70.

McCrimmon, A.W. (2014). Inclusive education in Denmark: Issues in teacher preparation. Universal Journal of Educational Research, 4(2), 83-91.

Mitchell, D. (2016). Inclusive education strategies in New Zealand: A leader in inclusive education. Teaching Exceptional Children, 4(2), 19-29.

Sears, P. (2014). Introduction to learning disability quarterly special series on universal design for learning: Part one of two. Learning Disability Quarterly, 37(2), 68-70.

Vreoy, A.D, Struyf, E. and Petry, K. (2015). Secondary schools included: A literature review. International of Inclusive Education, 20(2), 2-14.