แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2

Main Article Content

อัจฉรา แจ่มใส
ศุภธนกฤษ ยอดสละ
ประภาพร บุญปลอด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา 3) ประเมินแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหาร สถานศึกษาจำนวน 29 คน ครูจำนวน 306 คน รวมทั้งสิ้น 335 คน และทำการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 และผู้วิจัยใช้วิธีดำเนินการระดมสมอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่า   ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากและสภาพที่พึงประสงค์ของ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ 1) การสร้างวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน 2) การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล 3) การสร้างแรงบันดาลใจ 2. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 พบว่า ได้จำนวนทั้งสิ้น 5 องค์ประกอบหลัก 20 แนวทางย่อย ได้แก่ ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน มี 4 แนวทาง ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล มี 4 แนวทาง ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ มี 4 แนวทาง ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์มี 4 แนวทาง และด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา มี 4 แนวทาง 3.ประเมินแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 พบว่า ผลการประเมินความถูกต้องความเหมาะสม และความเป็นไปได้ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยมากที่สุดทุกองค์ประกอบ

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

ขจรอรรถพณ พงศ์วิริทธิ์ธร.(2560).แนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร สถานศึกษาโรงเรียนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ:เชียงราย.คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น, ตาก.

ไชยา ภาวะบุตร. (2555). ภาวะผู้นำทางวิชาการ. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ไชยา ภาวะบุตร. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการ. ฉบับปรับปรุง 2560 (พิมพ์ครั้งที่ 4). มหาวิทยาลัย ราชภัฏสกลนคร

ทินกร บัวชู และทิพภาพร บัวชู. (2562). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา. ครุศาสตร์สาร, 13(2), 285-294.

นลินพร จินตเวชศาสตร์. (2565). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน ขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.

นุชรี กันทะเนตร. (2560). แนวทางการเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อรองรับการพัฒนาในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ประสิทธิ์ สุวรรณรักษ์. (2555). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ภคพร เลิกนอก (2563).การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2560, เมษายน 6). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก.: 14.รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2551). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง(Transformation Leadership Theory). สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2563-2565.กลุ่มนโยบายและแผน.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.(2563). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ. กระทรวงศึกษาธิการ.

อารี แสงขำ. (2550). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องความน่าจะเป็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้เทคนิคการสอนแบบระดมสมอง. [สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

Bass,B.M.and Avolio. (1994). Improving organization effectiveness through transformational leadership. Thousand Oaks: Sage

McShan, S.L. and M.A. Von. Gilnow. (2000). Organization Behavior. New York: McGraw Hill.

Sheninger, E C. (2014). Pillars of Digital Leadership. International Center for Leadership in Education, 4-1.