แนวทางการยกระดับสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์

Main Article Content

พิศเจริญ ต้นจำปา
ธัญเทพ สิทธิเสือ
ศุภธนกฤษ ยอดสละ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับสภาพปัจจุบันของสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ และ 2) เพื่อหาแนวทางการยกระดับสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา 70 คน และครู 280 คน รวม 350 คน  เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 และผู้วิจัยใช้วิธีดำเนินการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


              ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกองค์ประกอบ โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยตามลำดับ ดังนี้ คุณลักษณะ ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ 2) แนวทางการยกระดับสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ ซึ่งได้จากการสนทนากลุ่ม ทั้ง 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านประสบการณ์ ประกอบด้วย 5 แนวทาง 2) ด้านความสามารถ ประกอบด้วย 5 แนวทาง 3) ด้านความรู้ ประกอบด้วย 6 แนวทาง และ 4) ด้านคุณลักษณะ ประกอบด้วย 7 แนวทาง

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กสิญาณินท์ บุญลีประสิทธิ์. (2565). แนวทางการพัฒนาทักษะเชิงยุทธศาสตร์ของผู้บริหารสถานศึกษา

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

นิภาพร รอดไพบูลย์. (2565). ทักษะการบริหารในศตรวรรษที่21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระแก้ว [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปราโมทย์ วังสะอาด. (2559). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านไอซีทีของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10(พิเศษ), 506-524.

พรรษรัตน์ พรมมินทร์. (2563). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุค

ดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 จังหวัดลพบุรี. วารสาร

สังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(8), 36-53.

ศศิวิมล ม่วงกล่ำ. (2562). การวิเคราะห์องค์ประกอบด้านความสามารถทางดิจิทัลของครูและ

บุคลากรทางการศึกษา จังหวัดสระบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สุภัททรา สังขวร. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะผู้นำเชิงเทคโนโลยีกับการบริหารงานวิชา

การของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2

[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2563, 28 ตุลาคม). คู่มือแนวทางการพัฒนาบุคลากร

ภาครัฐ พ.ศ. 2563-2565.

https://www.ocsc.go.th/civilservice

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20

ปี พ.ศ. 2561-2580 (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. (พิมพ์ครั้งที่ 2).

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

รุจาภรณ์ ลักษณะดี. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตบ้านบึง 1 สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 [การค้นคว้าอิสระปริญญา

มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกริก.

อิทธิฤทธิ์ กลิ่นเดช. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีกับการบริหารงาน

วิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงนส่งเสริมการศึกษานอกระบบและ

การศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสระบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559, 1 พฤศจิกายน). การบริหารสถาบันการศึกษายุคดิจิทัล.

http://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/52232.

Kozloski, K. C. (2006). Principal leadership for technology integration: A study of

principal technology leadership. Doctoral dissertation, Drexel University.

Hester, J.P. and Killian, D.R. (2011). The Leader as Moral Agent: Praise, Blame,

and The Artficial Person. The Journal of Values Based Leadership, 4(1),

-104.

Mohd Izham Mohd Hamzah, Faridah Juraime, Azlin Norhaini Mansor. (2016). Malaysian

Principals’ Technology Leadership Practices and Curriculum Management.

Faculty of Education, The National University of Malaysia.

The University Library of the University of Illinois. (2014). Digital literacy definition

and resources.

http://www.library.illinois. edu/diglit/definition.html. Retrieved 10 June 2022.

World Economic Forum. (2016). The 10 skills you need to thrive in the Fourth Industrial

Revolution. https://www.weforum.org/agenda/2016