การพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษา โดยใช้เทคนิคการประเมินผลการเรียนรู้ที่เน้นการสะท้อนคิด

Main Article Content

ชนันพัฒณ์ แก้วกิริยา
ธัญญรัศม์ ชิดไธสง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการประเมินโดยใช้เทคนิคการประเมินผลการเรียนรู้ที่เน้นการสะท้อนคิดในการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษา 2) ทดลองใช้แผนการประเมินโดยใช้เทคนิคการประเมินผลการเรียนรู้ที่เน้นการสะท้อนคิดในการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษา และ 3) สะท้อนผลการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาโดยใช้เทคนิคการประเมินผลการเรียนรู้ที่เน้นการสะท้อนคิด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนโนนสูงศรีธานี จำนวน 1 ห้องเรียน โดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการประเมินและคู่มือโดยใช้เทคนิคการประเมินผลการเรียนรู้ที่เน้นการสะท้อนคิด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 4) แบบประเมินแผนการประเมินและคู่มือ และ 5) แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระกัน เป็นการทดลองกลุ่มเดียวและมีการทดสอบ 2 ครั้ง คือก่อนเรียนและหลังเรียน


              ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการประเมินมีผลการตรวจสอบคุณภาพข้อมูลอยู่ในระดับ มากที่สุด คู่มือมีผลการตรวจสอบคุณภาพข้อมูลอยู่ในระดับ มากที่สุด และแผนการจัดการเรียนรู้มีผลการตรวจสอบคุณภาพข้อมูลอยู่ในระดับ มากที่สุด 2) การทดลองใช้แผนการประเมินโดยใช้เทคนิคการประเมินผลการเรียนรู้ที่เน้นการสะท้อนคิดในการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษา โดยได้ใช้กระบวนการ PAOR จำนวน 3 วงรอบ พบว่า ผู้เรียนสามารถใช้เทคนิคการสะท้อนคิดในแต่ละแผนการประเมินได้ โดยในแต่ละเทคนิคการสะท้อนคิดส่งผลให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถการคิดอย่างมีวิจารณญาณจำนวน 5 ด้าน ซึ่งพบว่า เทคนิคการสะท้อนคิดที่ผู้เรียนใช้ได้ดี ได้แก่ การถามคำถาม และการอภิปรายสะท้อนการเรียนรู้ จึงได้นำมาใช้ร่วมกับเทคนิคอื่น ๆ ในแผนการประเมินถัดไป และเทคนิคอื่นๆ ตามลำดับ ได้แก่ การสร้างผังความคิด การเขียนสะท้อนการเรียนรู้ การประเมินตนเองและการตั้งคำถามกับตนเอง 3) ผลการศึกษาการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ พบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กนกนุช ชื่นเลิศสกุล. (2544). การเรียนรู้โดยผ่านการสะท้อนคิด: การศึกษาและการปฏิบัติการพยาบาล

ในคลินิก. Learning by Reflection: Education and Clinical Nursing Practice.

วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 9(2), 35-48.

กมล โพธิเย็น. (2565). สอนอย่างไรให้ผู้เรียนเกิดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ. วารสารศึกษาศาสตร์,

(2), 11-24.

กมลวรรณ บัณฑิตสาธิสรรค์. (2561). การสะท้อนคิดของนักศึกษาสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัย

เทคโนโลยีสุรนารี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ชมพูนุช จันทร์แสง. (2557). ผลของการประเมินตนเองโดยใช้วิธีการสะท้อนคิดที่แตกต่างกันที่มีต่อ

ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์

ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46281 pdf

นัชชา รอญยุทธ. (2558). การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องคำราชาศัพท์และ

คำสุภาพกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองบัว สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญา

มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

ปาริชาติ สุขสวัสดิพร. (2561). การพัฒนารูปแบบการประเมินเพื่อการเรียนรู้การตัดสินใจทางคลินิกด้าน

การพยาบาลสูติศาสตร์ของนักศึกษาพยาบาล โดยใช้คอมพิวเตอร์มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์

[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63318.pdf

รัชนีกร ทองสุขดี. (2545). การเขียนสะท้อนความคิด: ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้. ศึกษาศาสตร์สาร,

(2), 45-51.

รัตติกร เหมือนนาดอน, ยุพาภรณ์ ติรไพรวงศ์, เจียมใจ ศรีชัยรัตนกูล, และ สันติ ยุทธยง. (2562). การ

พัฒนาการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิด. Learning Development through Reflection.

วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 35(2), 13-25.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2557). การโค้ชเพื่อการรู้คิด Cognitive Coaching

(พิมพ์ครั้งที่ 3). จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542

สํานักนายกรัฐมนตรี.

Ali, M. S. (2016). Learning and teaching: Theories approaches and models. Necmettin

Erbakan University: Education Faculty.

Ennis, R. H. (1993). Critical thingking assessment. Theory to Practice, 32(3), 179-186.

Good, C. V. (1973). Dictionary of education. New York: McGraw-Hill Book.

Kemmis, S. & McTaggart, R. (1988). The action research planner. Victoria:

Deakin University.

Knowles, J. et al. (1994). Through preservice teachers’ eyes. New York: Macmillan.