ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลกับองค์การแห่งการเรียนรู้ ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3

Main Article Content

ศุภาวณีย์ ระคนจันทร์
พงษ์ศักดิ์ ทองพันชั่ง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลกับองค์การแห่งการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 32 คนและครูจำนวน 290 คน รวมทั้งสิ้น 322 คน ที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษเขต 3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.974 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


 ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด คือ การมีวิสัยทัศน์ยุคดิจิทัล รองลงมาคือ ความเป็นมืออาชีพด้านดิจิทัล และค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อยที่สุดคือ การสร้างวัฒนธรรมยุคดิจิทัล 2) ระดับองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษเขต 3 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านการทำงานเป็นทีม รองลงมาคือ ด้านการใช้เทคโนโลยี และค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อยที่สุดคือ ด้านการเพิ่มอำนาจแก่บุคคล 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลกับองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษเขต 3 มีความสัมพันธ์กันในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.850

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กนกอร สมปราชญ์. (2562). ภาวะผู้นำ: แนวคิด ทฤษฎีและการพัฒนา. ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กรณัฏฐ์ ตาแปง. (2563). บทบาทภาวะผู้นําทางการศึกษาของผู้บริหารยุคดิจิทัลในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษากลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาแม่สลองในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กระทรวงศึกษาธิการ.

จันทนา แสนสุข. (2559). ภาวะผู้นำ Leadership (พิมพ์ครั้งที่ 3). บริษัท ทริปเพิ้ลกรุ๊ป จำกัด.

จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล สำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. โรงพิมพ์ศิริธรรมออฟเซ็ท.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์ โปรเกรสซิฟจำกัด.

ชูชัย ศรชำนิและคณะ. (2549). การวางแผนกลยุทธ์และการพัฒนาคุณภาพบริการของโรงพยาบาล. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ณรัฐ วัฒนพานิช. (2550). รูปแบบการจัดองค์กรแห่งการเรียนรู้สําหรับบุคลากรกลุ่มโรงเรียนในเครือสารสาสน์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรามคําแหง

ดวงกมล กิ่งจําปา. (2555). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมงานเทคโนโลยีทางการศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ทินกร บัวชู, ทิพภาพร บัวชู. (2562). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา The Status of Digital Leadership of Education Management Administrators. วารสารครุศาสตร์สาร : Journal of Educational Studies, 13(2): 294-285.

ทองเพียร เตยหอม. (2561). แนวทางการพัฒนาความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ของสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุทัยธานี เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). ข้าวฟ่าง.

ประภาวัลย์ สิงหภิวัฒน์. (2556). แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาช่วงชั้นที่ 3-4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

พนารัตน์ หุ่นเอี่ยม. (2559). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มอำเภอแก่งหางแมว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่กรศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

พรธิดา เมฆวทัต. (2559). ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

มลิวัลย์ ธรรมแสง. (2558). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาเฉพาะความพิการ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนดุสิต.

วรรณา เฟื่องฟู. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลธัญบุรี.

สราวุธ นาแรมงาม. (2561). ผู้นำกับการขับเคลื่อนนโยบายประเทศไทย 4.0. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2558). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี: การนำเทคโนโลยีสู่ห้องเรียนและโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(4), 216-224.

สุธาสินี สุริยา. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจใน การปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

สุภวัช เชาวน์เกษม. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อํานาจ ศรีพูนสุข. (2551). องค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล (School Management in Digital Era). บทความออนไลน์สานพลังประชารัฐ. https://shorturl.asia/sWPBU.

Benett, J.K. and O’Brien, M.J. (1994). The Building Blocks of the Learning Organization. Training, 3, 41-49.

Center for Advanced Study of Technology Leadership in Education (CASTLE). (2009). Principal Technology Leadership

Assessment. http://schooltechleadership.org/wordpress/wpcontent/uploads2010/02/ptla_info_packet.pdf

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed). Harper CollinsPublisher.

Duickert, J. (2016). Digital leadership: Changing paradigms for changing times. New Jersey: Prentice-Hall.

Ford, David F. (1997). Toward a Learning Organization: Guidelines for Bureaucracies. ME.D. Dissertation Abstract, Memorial University of Newfoundland (Canada).

Gephart, M. A. and et al. (1996). Learning Organizations Come Alive. Training & Development. 50(12), 35 - 45.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3),607 -610.

Larson, L., Miller, T., & Ribble, M. (2009). 5 Considerations for Digital Age Leaders.

Maki, M.J. (2001). School as learning organization: How Japanese teachers learn to performnon – instructional tasks. Ph.D. Dissertation, Canada: The University of British Columbia.

Marquardt, M. J. (1996). Building the Learning Organization: A System Approach to Quantum Improvement and Global Success. New York: McGraw-Hill.

Marquardt & Reynolds. (1994). The Global Learning Organization. New York: Irwin.

Ribble, M. S., Bailey, G. D., & Ross, T. W. (2004). Digital citizenship addressing appropriate technology behavior. ISTEInternational Society for Technology in Education, 32(1), 6-12.

Senge, (1994). The Fifth Discipline Fieldbook. New York: Currency Doubleday.

Stewart, M. (2015). The Language of Praise and Criticism in a Student Evaluation Survey. Studies in Educational Evaluation, 45, 1-9.

Sheninger, E C. Pillars of Digital Leadership. International Center for Leadership in Education, 2014, 4-1.

Zhu. (2016). The plant cell. Journal Description, 18(9), 102