การศึกษาคุณลักษณะของความเป็นครูมืออาชีพ ในโรงเรียนระดับประถมศึกษา พื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ธัชพร คำชามา
ภาวิณี โสธายะเพ็ชร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อสังเคราะห์คุณลักษณะความเป็นครูมืออาชีพของครูประถมศึกษาในระดับนานาชาติ 2) เพื่อศึกษาสภาพความเป็นครูมืออาชีพของครูประถมศึกษาในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยครูประถมศึกษาในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครทั้ง 4 สังกัด ได้แก่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สังกัดกรุงเทพมหานคร และสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม กําหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น               389 คนซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จํานวน 35 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการสังเคราะห์คุณลักษณะของความเป็นครูมืออาชีพของครูประถมศึกษาในระดับนานาชาติจากทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง จึงได้เกณฑ์ของคุณลักษณะของความเป็นครูมืออาชีพของครูประถมศึกษาทั้งหมด 5 ด้านประกอบด้วย ด้านพฤติกรรม ด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่น ด้านความมีปฏิภาณไหวพริบ ด้านทัศนคติ และด้านความเชี่ยวชาญ 2) ผลการศึกษาสภาพความเป็นครูมืออาชีพของครูประถมศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำแนกตามสังกัดต่างๆ พบว่าภาพรวมครูประถมศึกษาส่วนใหญ่ให้คะแนนด้านพฤติกรรมมากที่สุด ส่วนปัญหาที่พบคือการตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของครูประถมศึกษาควรมีการประเมินผลงานจากสถานการณ์จริง หรือบริบทสภาพจริง เพื่อสะท้อนคุณลักษณะความเป็นครูมืออาชีพของครูประถมศึกษาได้อย่างชัดเจน

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

จุฑามาศ เผื่อแผ่. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะภาวะผู้นำระดับซอฟสกิลกับประสิทธิภาพการตัดสินใจของผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อุบลปริทรรศน์, 7(2), 513-524.

ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2556). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์,

(1), 371-381.

พิณสุดา สิริธรังศรี. (2562). ข้อเสนอการยกระดับคุณภาพครูไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารสถาบันวิจัย

และพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 1(2), 2014.

ภาวิณี โสธายะเพ็ชร. (2560). การคิดเชิงศาสตร์การสอนที่สะท้อนถึงความรู้ครู: พหุกรณีศึกษาครูโรงเรียน

สาธิตในระดับประถมศึกษา จังหวัดกรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย, 47(1), 317-336.

สรรเสริญ อินทรัตน์. (2559). ปฏิภาณสร้างชีวิต. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 125(1), 25-38.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2550). การบริหารทักษะและการปฏิบัติ. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

Allport, G. W. (1967). A history of psychology in autobiography. In E.G. Boring & G. Lindsay (Eds.)

Baker-Doyle, K. J., & Yoon, S. A. (2020). The social side of teacher education: Implications of social network research for the design of professional development. International Journal of Educational Research, 101, 101563. https://doi.org/https://doi.org/10.1016/j.ijer.2020.101563

Blanchard, K., Carlos. (2001). Empowerment takes more than a minute. Berrett-Koehler Publishers.

Brill, F. M. (2007). Toward a more comprehensive approach to evaluating teaching

effectiveness: Supplementing student evaluations of teaching with pre–post learning measures, Assessment & Evaluation in Higher Education, 32(4), 403- 415.

Cooper, M. L., Thomson, C. L., & Baer, D. M. (2016). The Experimental Modification of Teacher Attending Behavior 1. Journal of Applied Behavior Analysis, 3(2), 153-157.

Eklund, G. (2019). Master’s thesis–a tool for professional development? Teachers’

experiences from Finnish teacher education. Nordic Journal of Education and Practice, 5(1), 76-92.

Good, T. L. (2012). Teacher effectiveness in the elementary school. Journal of teacher education, 30(32), 52-64.

Haimovitz, E., Houseal-Allport, P., Lee, R. S., & Svistova, J. (2018). Exploring the perceived benefits and limitations of a school-based social–emotional learning program: A concept map evaluation. Children & Schools, 40(41), 45-54.

Korhonen. (2014). The innovative school as an environment for the design of educational innovations. In Finnish innovations and technologies in schools yff. Sense publishers.

Perrotta, K. (2022). Stuck in a box: Elementary teacher education students’ perspectives of the impact of edTPA on social studies instruction. The Journal of Social Studies Research, 46(3), 116-128. https://doi.org/https://doi.org/10.1016/j.jssr.2022.01.005

Rushton, S., Morgan, J (2007). Teacher's Myers-Briggs personality profiles: Identifying effective teacher personality traits. Teaching and Teacher Education, 23(4), 432-441.

Trowbridge, M. H. (1932). An experimental study of Thorndike's theory of learning. The Journal of General Psychology, 7(2), 245-260.

Van Driel, J. H. B., A., (2011). Teacher Professional Development Focusing on pedagogical Content Knowledge. Middle School Journal, 39(1), 4-8.