การจัดกิจกรรมอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิคการสะท้อนคิดที่มีต่อ การตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการตระหนักรู้ในตนเองด้วยการจัดกิจกรรมอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิคการสะท้อนคิด 2) เปรียบเทียบการตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิคการสะท้อนคิด ก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนระดับชั้น Year 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) โครงการหลักสูตรนานาชาติ ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิคการสะท้อนคิด จำนวน 12 แผน 2) แบบสังเกตการพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนเป็นรายบุคคล 3) แบบวัดการตระหนักรู้ในตนเอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มประชากรที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีการพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเอง โดยมีการพัฒนาด้านการประเมินตนเอง การตระหนักรู้ทางอารมณ์ และความเชื่อมั่นในตนเอง ตามลำดับ และ 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิคการสะท้อนคิดมีการตระหนักรู้ในตนเองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
คัทรียา รัตนวิมล, วารีรัตน์ แก้วอุไร และ พูลสุข หิงคานนท์. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียน การสอนโดยผู้ป่วยจำลองร่วมกับวงสนทนาแห่งความไว้ใจเพื่อส่งเสริมความสุขในการเรียน สำหรับนิสิตพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 9(3), 179-190.
จงกลวรรณ มุสิกทอง. (2556, 14 พฤษภาคม). Clinical Teaching: Feedback (การให้ข้อมูลย้อนกลับ). คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
https://ns.mahidol.ac.th/english/thdepartments/MN/th/km/56/km_feedback.html
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์. (2566, 2 กุมภาพันธ์). ให้การศึกษาพัฒนานักเรียนสู่พลเมืองโลก. https://www.chadchart.com/policy/6214b64e204d4c4f8ab8c822
ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ บริษัทด่านสุธาการพิมพ์.
ธันยพร ทวีชัย. (2555, 9 เมษายน). ผลการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตด้านการตระหนักรู้ในตนเองตามแนวทางความฉลาดทางสุขภาวะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่. โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย.
https://academic.prc.ac.th/TeacherResearch/ResearchDetail.php?ID=917.
ปิยาณี ณ นคร. (2556). การเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิด (Learning by Reflective Thinking). วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร 2556, (3 กรกฎาคม 2556), 1-20.
รัชนีกร ทองสุขดี. (2545). การเขียนสะท้อนความคิด: ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้. ศึกษาศาสตร์สาร, 29(2), 45-51
ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. (2560). คู่มือสำหรับพ่อแม่เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลและพัฒนาเด็ก เด็กวัยเรียน6-12ปี. ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย.
วรนาท รักสกุลไทย. (2561). การใช้ผังกราฟิก (Graphic Organizer) เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย. บริษัท แปลน พริ้นท์ติ้ง จำกัด.
สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์. (2566, 9 มกราคม). เด็กไทยมีทักษะชีวิตเป็นอย่างไร. https://www.camri.go.th/th/home/infographic/infographic-897?fbclid=IwAR08 WZzBfL4xeULSgrqkg7rdzAnRNt_Wa3gz4PzeALalBiFAmDaVQHYo7Xc
สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน. (2562, 5 พฤษภาคม). ทักษะการแก้ปัญหาของเด็กหายไปไหน. ผู้จัดการออนไลน์. https://mgronline.com/qol/detail/9620000079842
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2562). รายงานประจำปี 2562. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2554). แนวทางการพัฒนาทักษะชีวิตบูรณาการการเรียนการสอน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุขุมาล เกษมสุข. (2548). การปลูกฝังจริยธรรมแก่เด็ก. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร (ฝ่ายประถม) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อัจฉรา ชีวพันธ์. (2553). ภาษาพาสอน เรื่องน่ารู้สำหรับครูภาษาไทย. แอคทีฟพริ้นท์จำกัด.
Arthur, H. (1995). Student self evaluation: How useful? How valid? Journal of Nurse Studies, 32, 271-276.
Benton. (2014). Thinking about Thinking: Metacognition for Music Learning. Rowman & Littlefield Education.
Costa, A. L., & Kallick, B. (2008). Learning and leading with habits of mind: 16 essentialcharacteristics for success. ASCD.
Eurich, T. (2018, 4 January). What Self-Awareness Really Is (and How to Cultivate It). Harvard Business School. https://hbr.org/2018/01/what-self-awareness-really-is-and-how-to-cultivate-it
Goleman, D. (1995). Emotional Intelligence. Bantam Dell.
Goleman, D. (1998). The emotional intelligence of leaders. Leader to Leader, 1998(10), 20-26.
Johns, C. (2017). Becoming a reflective practitioner. John Wiley & Sons.
Kember, D., McKay, J., Sinclair, K., & Wong, F. K. Y. (2008). A four‐category scheme for coding and assessing the level of reflection in written work. Assessment & Evaluation in Higher Education, 33(4), 369-379.
Morin. (2003). Self-awareness review Part 2: Changing or escaping the self. Science & Consciousness Review. Science and Consciousness Review, 1, 1-8.
Quinton, S., & Smallbone, T. (2010). Feeding forward: using feedback to promote student reflection and learning-a teaching model. Innovations in Education and Teaching International, 47, 125-135.
Waterloo University. (2022, 20 october). Self-awareness. Waterloo University. https://uwaterloo.ca/student-success/events/cultivating-self-awareness-personality-dimensionsr-9
World Health Organization [WHO] (1994). (1994). Life skills education for children and adolescents in schools Geneva. World Health Organization.