การเปลี่ยนแปลงวิถีการดำรงชีวิตและระบบเศรษฐกิจของพื้นที่ชายแดน ไทย – กัมพูชา กรณีศึกษาตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตและระบบเศรษฐกิจของคนในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา 2) เพื่อหาแนวทางการมีส่วนร่วมในการพัฒนาความมั่นคงในวิถีชีวิตและเศรษฐกิจของชุมชนชายแดน โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง ประชาชน กลุ่มบุคคลและองค์กร ที่ตั้งอยู่พื้นที่ชายแดนไทย – กัมพูชา ตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเชิงนโยบายในจังหวัดศรีสะเกษ
ผลการวิจัยพบว่า 1) การเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตและระบบเศรษฐกิจของคนในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชาจากผลพวงของการพัฒนาพื้นที่ชายแดน พบว่าพัฒนาการของพื้นที่ช่องสะงำซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลไพรพัฒนา ที่สัมพันธ์กับการขยายตัวของระบบทุนนิยม แย่งชิงพื้นที่ที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน การสร้างพื้นที่ทางเศรษฐกิจ การค้า ที่เริ่มเชื่อมโยงเข้าสู่ความสำคัญของการเป็นรัฐชาติ ช่องสะงำเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างพื้นที่ของรัฐและทุนสมัยใหม่ที่เชื่อมโยงกันอย่างรวดเร็วทั้งด้านข้อมูลข่าวสาร การคมนาคม โดยกระบวนการทางเศรษฐกิจ 2).แนวทางการมีส่วนร่วมในการพัฒนาความมั่นคงในวิถีชีวิตและเศรษฐกิจของชุมชนชายแดน การศึกษาพบว่าการเชื่อมต่ออย่างรวดเร็วของเวลาและสถานที่ ทำให้ระบบทุนสามารถดำเนินการได้สะดวกขึ้น มีการสะสมทุนมากขึ้นในพื้นที่ศึกษา เช่น การซื้อที่ดินเพื่อเก็งกำไร การลงทุนปลูกพืชเศรษฐกิจยางพารา การสร้างตลาดเพื่อการค้า หรือแม้กระทั่งการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก บริเวณชายแดนช่องสะงำเป็นศูนย์กลางของความเจริญ ที่ดึงดูดคนให้เข้ามาใช้ชีวิตประจำวันในลักษณะแตกต่างกันไป แต่ขณะเดียวกันก็พบว่าทุนกลับแฝงกลไก เงื่อนไขต่างๆเพื่อเอาเปรียบผู้คน ชาวบ้านบริเวณชายแดนช่องสะงำก็ยังคงมีการต่อสู้ ต่อรองเช่นกัน เพียงแต่เป็นรูปแบบที่ยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์เชิงอำนาจในระดับโครงสร้างได้ แนวทางการมีส่วนร่วมจึงควรสร้างสำนึกของชุมชนและจุดร่วมสำคัญคือ“ภาคเศรษฐกิจ” เป็นแนวทางการมีส่วนร่วมในการพัฒนาความมั่นคงในวิถีชีวิตและเศรษฐกิจของชุมชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงโดยหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน(NGOs) เพราะระบบทุนยังคงทำงานอย่างเข้มข้น จนสามารถทำให้รูปแบบการเอาเปรียบ กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาในชีวิตประจำวัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
เขียน ธีระวิทย์.(2550). ความท้าทายทางสังคมในภูมิภาคแม่น้ำโขง.ศูนย์วิจัยสังคมอนุภาคลุ่มน้ำโขง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. อุบลราชธานี.
จามะรี เชียงทอง.(2554). จากมาร์ซิสม์ถึงเสรีนิยมใหม่ การสร้างชนบทลาวในโลกสมัยใหม่และ “การพัฒนา”ในสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ.ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.
ชลิศา รัตรสารและสมชาย เบ็ญจวรรณ์. (2564).รายงานวิจัย เรื่อง ความพึ่งพาทางเศรษฐกิจจากการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา กรณีศึกษาจังหวัดสระแก้ว. มหาวิทยาลัยสยาม.กรุงเทพฯ.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร.(2553). รัฐ-ชาติ กับ(ความไร้)ระเบียบโลกชุดใหม่. สำนักพิมพ์วิภาษา.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2545). อำนาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์และความเป็นอื่นวาทกรรมการพัฒนา.สำนักพิมพ์ วิภาษา.
เดวิด ฮาร์วี.(2555). ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของลัทธิเสรีนิยมใหม่ (A Brief Historyof Neoliberaiism) งานแปล บรรณาธิการโดย ภัควดี วีระภาสพงษ์. สำนักพิมพ์สวนเงิน.
ปิ่นแก้ว เหลืองอร่างศรี.(2554). ทุนนิยมชายแดน นิคมเกษตรยางพาราและการเปลี่ยนแปลงของสังคมเกษตรในภาคใต้ของลาว. ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พวงทอง ภวัครพันธุ์.(2552). สงคราม การค้า และชาตินิยมในความสัมพันธ์ ไทย-กัมพูชา.มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย.
พฤกษ์ เถาถวิล.(2552). พื้นที่ของการดำรงชีวิตในการค้าชายแดน: เขตแดนพื้นที่ในระหว่างและภูมิศาสตร์แห่งการครอบงำ/ต่อต้าน.วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ฉบับพิเศษ. ศูนย์วิจัยสังคมอนุภาคลุ่มน้ำโขงคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
วีระ สมบูรณ์.(2553). รัฐ-ชาติ ชาติพันธุ์. สำนักพิมพ์สมมติ.
อานันท์ กาญจนพันธุ์.(2549). วัฒนธรรมทางเศรษฐกิจในเศรษฐกิจไร้วัฒนธรรม. โครงการจัดพิมพ์คบไฟศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2555). พื้นที่ความรู้และกลไกเชิงซ้อน ในจินตนาการใหม่ของสังคมเปลี่ยนผ่าน, จุลสารเวทีประชุมสังคมวิทยาระดับชาติครั้งที่ 4. คณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติสาขาสังคมวิทยา.
Appaduai (2000). Modernity at Large: Cultural Dimensions of Globalization. Minnesota University Press.
Deleuze (1995). Negotiations, 1972-1990.Translated by Martin Joughin. NewYork: Columbia University Press.
Ewen,S. (1999). All Consuming Imags:The politics of Style in Contemporary Culture. Revised Edition.New York : Basic Books.
Harvey, D. (1990). The Condition of Post modernity: An Enquiry in to the Origins of Cultural Change. Oxford: Basil Blackwell.