รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมศักยภาพนักเรียนโรงเรียนราษีไศล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ประเมินและตัดสินคุณค่าบริบท 2) ประเมิน
และตัดสินคุณค่าปัจจัยเบื้องต้น 3) ประเมินและตัดสินคุณค่ากระบวนการ 4) ประเมินและตัดสินคุณค่า ผลผลิต และ 5) ศึกษาผลกระทบของโครงการส่งเสริมศักยภาพนักเรียนโรงเรียนราษีไศล โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการ แบบซิปป์ (CIPP Model) และการประเมินตัดสินคุณค่าเชิงธรรมชาติ NV Models (Naturalistic Value – Oriented Evaluation) ประชากรได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการบริหารโรงเรียน ครู ผู้ปกครองและนักเรียน ในปีงบประมาณ 2561-2565 จำนวน 3,096 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 1,014 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงและการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือในการประเมิน ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามและแบบประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า 1) บริบทของโครงการโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด โครงการมีความเหมาะสม สอดคล้อง มีคุณค่าและสามารถดำเนินการได้ 2) ผลการประเมิน ความเหมาะสมด้านปัจจัยเบื้องต้นทั้ง 14 กิจกรรม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 3) ผลการประเมินความเหมาะสมด้านกระบวนการทั้ง 14 กิจกรรม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 4) ผลการประเมินด้านผลผลิต 4.1) ความรู้ความเข้าใจของครูในการจัด การเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญและแนวทางการส่งเสริมศักยภาพนักเรียนตามทฤษฎีพหุปัญญา หลังการอบรมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4.2) คุณภาพของกิจกรรมตามโครงการส่งเสริมศักยภาพนักเรียนโรงเรียนราษีไศล โดยภาพรวมทั้ง 14 กิจกรรม อยู่ในระดับมากที่สุด เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 4.3) คุณภาพนักเรียนโรงเรียนราษีไศล หลังการดำเนินโครงการส่งเสริมศักยภาพนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 4.4) คุณภาพสถานศึกษาตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 1 ด้านคุณภาพของผู้เรียน จุดเน้นผู้เรียนได้รับการพัฒนาคุณภาพให้มีความรอบรู้และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 4.5) ความพึงพอใจของนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการบริหารโรงเรียน ครูผู้สอนและผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมศักยภาพนักเรียนโรงเรียนราษีไศล โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 5) ผลกระทบจากการดำเนินโครงการ ได้แก่ นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้และได้รับการพัฒนาศักยภาพตนเองตามความถนัดมากยิ่งขึ้น ครูมีศักยภาพในการปฏิบัติงานมากขึ้น สามารถจัดกิจกรรม การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้ดีมากขึ้น ผู้บริหารได้แนวคิดในการส่งเสริมเชาวน์ปัญญานักเรียนมากขึ้น ผู้ปกครองและชุมชนได้รับทราบข้อมูลของทางโรงเรียน ให้ความสำคัญต่อการศึกษามากขึ้น สัมพันธภาพระหว่างโรงเรียนกับชุมชนเป็นไปในทางบวก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
กันต์ฤทัย คลังพหล กิติโรจน์ ปัณฑรนนทกะ และวัสส์พร จิโรจพันธุ์. (2556). การประเมินโครงการ
โรงเรียนกรุงเทพมหานครสู่ความเป็นเลิศของมูลนิธิชิน โสภณพนิช. วารสารบัณฑิตศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมป์, 7(3), 19-39.
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2551). รวมระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวกับการศึกษา. กรมส่งเสริม
การปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.
แขก บุญมาทัน และอิศราพร ชัยงาม. (2564). การวิจัยและพัฒนายกระดับผลการทดสอบทางการศึกษา
ระดับชาติขั้นพื้นฐานของนักเรียนด้วยรูปแบบการปฏิบัติการสอนโดยใช้หลักสูตรเป็นฐานและ
การบูรณาการภาษาอังกฤษในสาระการเรียนรู้ผ่านการศึกษาชั้นเรียนและการนิเทศออนไลน์.
วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 27(1), 65-81.
ทิศนา แขมมณี. (2552). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ธัญชมณ บุญประกอบ. (2560). พัฒนารูปแบบการนิเทศการเรียนการสอนในโรงเรียนขนาดเล็กด้วย
เทคนิคการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด [วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้
ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธนกฤต อั้งน้อย. (2565). การนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านวังจาน. วารสาร
วิชาการ, 25(3), 48-54.
ประทีป ไชยเมือง. (2564). การประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะนักเรียนอย่างสมดุลของ
โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 4. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 11(2),
-242.
พัชรินทร์ ศิริสุข. (2564). การประเมินโครงการเสริมสร้างคุณภาพโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศกลุ่มเครือข่าย
โรงเรียนที่ 15 สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารราชพฤกษ์, 2(2), 82-91.
พัศวัต สาระอาวาส. (2562). เส้นทางสู่โรงเรียนพระราชทานเพื่อการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศของ
โรงเรียนอย่างแท้จริง. วารสารวิชาการ, 22(4), 50-54.
ภูริทัต ชัยวัฒนกุล. (2563). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูพี่เลี้ยงด้วยกระบวนการพัฒนาบทเรียน
ร่วมกันและการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาตามแนวคิดโรงเรียนเพลินพัฒนาเป็นชุมชนแห่ง
การเรียนรู้. วารสารวิชาการ, 23(1), 35-45.
มรกต ฉัตรจินดา. (2562). รายงานการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัด
การเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียนโรงเรียนอนุบาลสงขลา ปีการศึกษา 2562. โรงเรียนอนุบาลสงขลา.
สงขลา.
ยุทธกิจ ถาวรเกษตร. (2563). รายงานการประเมินโครงการพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อยกระดับ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนวัดบ่อพระอินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต1 ปีการศึกษา 2562. โรงเรียนวัดบ่อพระอินทร์. สระบุรี.
รุจิรดา วรรณศิริ. (2563). รายงานการประเมินโครงการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมโรงเรียนต้นแบบ
คุณธรรมของโรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
เขต 6. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, 20(1), 54-68.
วิมลรัตน์ จตุรานนท์และเชษฐ์ ศิริสวัสดิ์. (2561). การวิจัยพัฒนาสมรรถนะการสอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ของครูในสังกัดโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 ระยะที่ 2 การพัฒนา
หลักสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. วารสารศึกษาศาสตร์, 29(1), 85-96.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2549). การพัฒนาการเรียนการสอนภาควิชาหลักสูตรและการสอน.
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เวชพงศ์ หนูด้วง และสุจินต์ หนูแก้ว. (2565). การประเมินโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ
โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนบ้านบ่อหินสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(2), 953-968.
ศิรประภา ขวัญทอง. (2562). รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตาม
แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนจะโหนงพิทยาคม ปีการศึกษา 2561 -
โรงเรียนจะโหนงพิทยาคม.
ศิริ ธนะมูล. (2562). รายงานการประเมินโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ
เป็นภาษาอังกฤษ (English Program : EP) โรงเรียนสตรีศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด.
โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2550). ทฤษฎีการประเมิน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริวรรณ อรุณปรีย์. (2565). การประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพนักเรียนสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ
โรงเรียนบ้านสันโค้ง (เชียงรายจรูญราษฎร์). วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ.
(11), 126-146.
สมคิด พรมจุ้ย. (2550). เทคนิคการประเมินโครงการ. ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2544). “ความรู้พื้นฐานสำหรับการประเมินโครงการทางการศึกษา” ใน รวมบทความ
ทางการประเมินโครงการ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุญาดา เฮงชัยโย. (2564). รายงานการประเมินผลโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร
กระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program) โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย
นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9.
วารสารการวัดผลการศึกษา, 38(104), 153-164.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. สำนักการพิมพ์
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
อุทัย คำสีหา. (2562). องค์ประกอบการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ. วารสารวิชาการ, 22(2),
-24.
อุทัย บุญประเสริฐ. (2539). เอกสารชุดความรู้พื้นฐานการวางแผนสำหรับผู้บริหาร หรือ ผู้บังคับบัญชา
เรื่อง การวางแผนในหน่วยงานหรือองค์การ. ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Agustina, N.Q., & Mukhtaruddin, F. (2019). The CIPP Model-Based evaluation on
Integrated English Learning (IEL) program at language center. English Language
Teaching Educational Journal, 2 (1), 22-31.
Lunenburg, F.C., & Ornstein, A.C. (1996). Educational Administration Concepts and
Practices. Thomson Learning, inc.
Ramage, R. (2003). Every Child is a Gifted Child. Kea Press.
Stufflebeam, D. L. (2002). CIPP Evaluation Model Checklist. Retrieved on October 19,
http://www.mich.edu/evalctr/checklists/cippchecklist
Stufflebeam, D.L. & Shinkfield. (2007). Evaluation Theory,Models and Application.
John Wiley and Son, Inc.
Stufflebeam, D.L., & Zhang, G. (2017). The CIPP Evaluation Model: How to Evaluate
for Improvement and Accountability. The Guilford Press.