การสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ของชุมชนประมงพื้นบ้านจอมพระ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนชายน้ำห้วยทับทัน-บึงบูรพ์

Main Article Content

เอมอร แสนภูวา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้  มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชนประมงพื้นบ้านจอมพระเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนชายน้ำห้วยทับทัน-บึงบูรพ์ 2) เพื่อจัดทำต้นแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ของชุมชนประมงพื้นบ้านจอมพระเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนชายน้ำห้วยทับทัน-บึงบูรพ์ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ของชุมชนประมงพื้นบ้านจอมพระเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนชายน้ำห้วยทับทัน-บึงบูรพ์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ  จำนวน 60 คน  ใช้การเลือกแบบเจาะจง 


ผลการศึกษา พบว่า 1) วิเคราะห์ศักยภาพของชุมชนประมงพื้นบ้านจอมพระเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนชายน้ำห้วยทับทัน-บึงบูรพ์  ประกอบด้วย 1.1) สภาพอดีตและปัจจุบันของชุมชนประมงพื้นบ้านจอมพระ แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่  ด้านการรวมกลุ่ม  ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และ ด้านทุนวัฒนธรรม 1.2) วิเคราะห์ศักยภาพ  จุดแข็ง ชุมชนมีองค์ความรู้ปลาส้ม จุดอ่อน การผลิตสินค้าขาดความต่อเนื่อง  โอกาส แหล่งผลิตตั้งอยู่ในการคมนาคมที่ดี  และ อุปสรรค มีคู่แข่งขันมากและสินค้าสามารถลอกเลียนแบบได้ง่าย  2) ต้นแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ มี 3 ต้นแบบ ได้แก่  ต้นแบบปลาส้ม ต้นแบบปลาส้มฟัก และต้นแบบปลาแผ่นวง  และ 3) แนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ของชุมชนประมงพื้นบ้านจอมพระ มี 13 แนวทาง ได้แก่ 1) ปรับปรุงภูมิทัศน์ตลาดริมน้ำให้สวยงาม 2) ขอรับการสนับสนุนถนนคอนกรีต 3) สร้างเครือข่ายการตลาด  4) พัฒนาเส้นทางลำน้ำให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว 5) เชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจการท่องเที่ยว  6) ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานให้เกิดกิจกรรมต่อเนื่อง 7) พัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นสินค้าโอทอป 8) สร้างโรงเรือนการผลิตที่ได้มาตรฐาน 9) ยกระดับผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน 10) การพัฒนาการบริหารจัดการด้านการตลาด 11) พัฒนาผู้นำและคณะกรรมการในด้านการทำงานภายในกลุ่ม 12) สร้างความร่วมมือกับผู้ประกอบการประเภทเดียวกัน  และ 13) สร้างการมีส่วนร่วมให้กับสมาชิกได้ตระหนักเห็นความสำคัญของการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์สินค้าของชุมชนโดยผ่านสื่อดิจิทัล 

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)
Author Biography

เอมอร แสนภูวา, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

-

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2553). การขับเคลื่อนกระบวนการแผนชุมชน. (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา

http://www.cddburiram.com./photo1/155.doc(17 กันยายน 2562)

โกวิทย์ พวงงาม. (2553). ชุมชนและท้องถิ่นปกครองตนเอง. กรุงเทพมหานคร: พอปิตการพิมพ์.

กลุ่มงานแผนเทศบาลตำบลบึงบูรพ์. (2566). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีเทศบาลตำบลบึงบูรพ์ 2565. เทศบาลตำบลบึงบูรพ์.

เลหล้า ตรีเอกานุกูล. (2561). ศักยภาพทุนชุมชนเพื่อการเป็นพื้นที่พิเศษด้านการท่องเที่ยว เทศบาล

ตำบลเวียงเชียงแสน จังหวัดเชียงราย. สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา สำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย.

วงศ์ธีรา สุวรรณิน. (2563). แนวทางการเพิ่มมูลค่าสินค้าชุมชนบนรากฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่าง

ยั่งยืน กรณีศึกษาชุมชนต้นแบบในจังหวัดหนองคาย. หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาธุรกิจระหว่างประเทศคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วรสุดา ขวัญสุวรรณ และสาทินี วัฒนกิจ. (2563). การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัสดุเหลือทิ้งสู่ผลิตภัณฑ์

ออกแบบตกแต่งและแฟชั่น: ชุมชนต้นแบบเทศบาลเมืองเขารูปช้าง. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม.

สุริยา ล่องแก้ว และคณะ. (2563). แนวทางการส่งเสริมศักยภาพการสร้างมูลค่าเพิ่มนวัตวิถีชุมชน

ตลาดริมน้ำคลองแดนตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. วารสารมหาจุฬา

นาครทรรศน์, 7 (4) (เดือนเมษายน 2563. น 109-110).

อรรณพ หอมจันทร์และคณะ. (2561). ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวพุน้ำร้อน กลุ่มท่องเที่ยว

อารยธรรมล้านนา. ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.