ความเข้าใจโครงสร้างวลีตามหลักวากยสัมพันธ์: กรณีศึกษานักศึกษาในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

Main Article Content

อินทิรา ศักดิ์เมียนแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาความเข้าใจโครงสร้างวลีประเภทต่าง ๆ ตามหลักวากยสัมพันธ์ และ 2) เปรียบเทียบความเข้าใจโครงสร้างวลีประเภทต่าง ๆ ตามหลักวากยสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ใน 4 มหาวิทยาลัย ที่เรียนสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ จำนวน 164 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง จำนวนตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แบบทดสอบการแปลโครงสร้างวลี 5 ประเภท ได้แก่ นามวลี กริยาวลี คุณศัพท์วลี วิเศษณ์วลี และ บุพบทวลี จำนวน 21 ประโยค ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยการแจกแจง ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย


              ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาความเข้าใจโครงสร้างวลีประเภทต่าง ๆ ตามหลักวากยสัมพันธ์ แสดงให้เห็นการแปลที่หลากหลายและแตกต่างกัน ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็น 4 ลักษณะ ได้แก่ การแปลประโยคที่เนื้อความถูกต้องครบถ้วน การแปลประโยคที่เนื้อความไม่ครบ การแปลประโยคที่เนื้อความเกิน และการแปลประโยคที่ผิดความหมายบางส่วนหรือทั้งประโยค 2) ผลการศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างในความเข้าใจโครงสร้างวลีประเภทต่าง ๆ ตามหลักวากยสัมพันธ์ พบว่า ประโยคที่มีการแปลเนื้อความถูกต้องครบถ้วน มากที่สุด ได้แก่ โครงสร้างวิเศษณ์วลีทำหน้าที่บอกสถานที่ คิดเป็นร้อยละ 95.12 (SD=.84) ประโยคที่มีการแปลเนื้อความไม่ครบ มากที่สุด ได้แก่ โครงสร้างบุพบทวลีทำหน้าที่บอกถึงเวลา คิดเป็นร้อยละ 40.24 (SD=.63) ประโยคที่มีการแปลเนื้อความเกิน มากที่สุด ได้แก่ โครงสร้างนามวลีทำหน้าที่เป็นประธาน คิดเป็นร้อยละ 3.66 (SD=.32) และประโยคที่มีการแปลผิดความหมายบางส่วนหรือทั้งประโยค มากที่สุด ได้แก่ โครงสร้างวิเศษณ์วลีทำหน้าที่แสดงเหตุผล คิดเป็นร้อยละ 17.02 (SD=.55)

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กฤศ เอี่ยมหฤท และ จิรันธรา ศรีอุทัย. (2561). โครงสร้างประโยค: อุปสรรคในการเข้าใจกวีนิพนธ์ภาษาอังกฤษ. วารสารอักษรศาสตร์, 47(1), 93-160.

กิตตินาถ เรขาลิลิต. (2559). การจำแนกความแตกต่างระหว่างสรรพนามหน่วยสรรพนามและคำอ้างถึง ตามแนวคิดทางวากยสัมพันธ์. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 23(1), 1-21.

จุฑามณี ทิพราช และคณะ. (2560.) แนวโน้มในการแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยผิดในระดับคำ วลี และประโยค: กรณีศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 8(2), 352-372.

จักกเมธ พวงทอง และ อภิษฎาข์ ศรีเครือดง. (2564). เทคนิคการแปลเอกสารทางวิชาการ: ข้อผิดพลาดในการใช้คำและรูปแบบประโยคที่พบบ่อยในการแปลเอกสารทางวิชาการจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 3(1), 87-101.

โชติกา เศรษฐธัญการ และคณะ. (2564). ข้อผิดพลาดการแปลบทบรรยายใต้ภาพยนตร์จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 11(1), 149-164.

ชัชรีย์ บุนนาค. (2561). ปัญหาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย และข้อเสนอแนะด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ปี 2564 – 2568. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 2 (235-241). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

เตือนจิตต์ จิตต์อารี. (2548). แปลให้เป็นแล้วเก่ง. อมรินทร์พริ้นติ้ง

พระหน่อแสง อัคคะเสนะ. (2558). ศึกษาปัญหาการแปล กรณีศึกษาภาษาอังกฤษและภาษาไทย[วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต]. ภาษาอังกฤษ (นานาชาติ) มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศิริรัตน์ ณ ระนอง. (2554). ภาษาศาสตร์เบื้องต้น. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สมจิต จิระนันทิพร และ ปรีมา มัลลิกะมาส. (2559). ปัญหาการแปลหน่วยสร้างกริยาเรียงภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษของผู้เรียนชาวไทย. วารสารอักษรศาสตร์, 45(2), 205-262.

สุดฤทัย อรุณศิโรจน. (2559). การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดการแปลโดยใช้ทฤษฎีไวยากรณ์ระบบ และหน้าที่: กรณีศึกษานักเรียนไทยที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์, 33(3), 18-38.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.