การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้แผนผังความคิด เรื่อง แหล่งน้ำและลมฟ้าอากาศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

ญาณิกา ไหลครบุรี
น้ำเพชร นาสารีย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้แผนผังความคิด เรื่อง แหล่งน้ำและลมฟ้าอากาศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสระแก้ว จำนวน 20 คน  โดยใช้วิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง าคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องแหล่งน้ำและลมฟ้าอากาศ โดยผู้วิจัยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้แผนผังความคิด จำนวน 5 แผนการจัดการเรียนรู้ ดังนี้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง แหล่งน้ำบนโลก, แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง เมฆและหมอก, แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง น้ำค้างและน้ำค้างแข็ง, แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง หยาดน้ำฟ้า และแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง วัฏจักรน้ำ จำนวน 11 ชั่วโมง มีค่าดัชนีความสอดคล้องของแผนการจัดการเรียนรู้ เท่ากับ 0.95 และ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา 40 ข้อ เป็นแบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก  ครอบคลุมเนื้อหาในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ และสอดคล้องกับขั้นตอนการแก้ปัญหา 4 ข้อ คือ 1) ขั้นระบุปัญหา 2) ขั้นวิเคราะห์ปัญหา 3) ขั้นกําหนดวิธีการแก้ปัญหา และ 4) ขั้นตรวจสอบผลลัพธ์ มีค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา เท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย


ผลการวิจัยพบว่า ผลการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหามีคะแนนหลังเรียน เรื่อง แหล่งน้ำและลมฟ้าอากาศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้แผนผังความคิด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.

กระทรงศึกษาธิการ.

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

จันทร์เกษม ใจอารีย์. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ด้วยห้องเรียนกลับ ด้าน เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหา (Unpublished Doctoral dissertation). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกลา้พระนครเหนือ.

ทิศนา แขมมณี. (2544). ศาสตร์การสอน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

____________. (2547). ศาสตร์ การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่3). ด่านสุทธาการพิมพ์.

____________. (2556). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ(ม.ป.ป.). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญญา ผลอนันต์ และขวัญฤดี ผลอนันต์. (2550). Mind Mapping กับการศึกษาและการจัดการความรู้. ขวัญข้าว.

นัสรินทร์ บือซา. (2558). ผลการจัดเรียนรู้ตามแนวคิดสะเตม็ ศึกษา (STEM Education) ที่มีต่อ

ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนชีววิทยา ความสามารถในการแก้ปัญหาและความพึงพอใจต่อการ

จัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (UnpublishedMaster’sthesis)

[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นฤมล สุดสังข์. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถด้าน การแก้ปัญหา เรื่อง ลม ฟ้า อากาศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์. (2544). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ: แนวคิด วิธี และเทคนิคการสอน. สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.

ยทุธ ไกยวรรณ์. (2552). ออกแบบเครื่องมือวิจัย. ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2553). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 5). โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

วรรณภา บำรุงพันธ์ และยุพิน ยืนยง. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ร่วมกับเทคนิคแผนผังมโนทัศน์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ (มสป.), 23(2), 186 – 207.

สุทธิดา จำรัส และ นฤมล ยุตาคม. (2551). ความเข้าใจและการสอนธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ในเรื่องโครงสร้างอะตอมของครูผู้สอนวิชาเคมี. วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์, 29(3), 228 - 239.

สุนิสา จูฑามาตย์. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับกิจกรรมพัฒนาสมองสองซีก เรื่อง แหล่งน้ำและลมฟ้าอากาศ ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาท้ายเหมือง 3 จังหวัดพังงา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือประกอบการอบรมการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC (Professional Learning Community). จามจุรีโปรดักส์ จำกัด.

Novak and Gowin. (1984). Learning how to learn. Cambridge University Press.OlsonandLoucks-Horsley. (2000). Inquiry and the Nationnal Science Education Standards.

UNESCO. (2010). Curren Challenge in Basic Science Education. UNESCO.