ปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีต่อตราสินค้าร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ดร.ศิริวรรณ เอี่ยมศิริ
ดร.สฤษฎ์ ตะเส
ลินดา ชาวนา

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีต่อตราสินค้าร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดในเขตกรุงเทพมหานคร 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีต่อตราสินค้าร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่เคยใช้บริการร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 384 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์การถดถอยแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า ผลการวิเคราะห์ระดับของปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านช่องทางการจัดจําหน่ายมีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ระดับของปัจจัยด้านคุณภาพการบริการ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ระดับของปัจจัยด้านภาพลักษณ์ตราสินค้า เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านตราสินค้า มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ระดับของปัจจัยด้านความจงรักภักดีต่อตราสินค้าร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านเชิงทัศนคติ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อความภักดีต่อตราสินค้าร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ด้านกระบวนการให้บริการ ด้านราคา ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านลักษณะทางกายภาพ ปัจจัยด้านคุณภาพการบริการ ประกอบด้วย ด้านการรู้จักและเข้าใจในผู้รับบริการ ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ และด้านความน่าเชื่อถือหรือความไว้วางใจได้ ปัจจัยด้านภาพลักษณ์ตราสินค้า ประกอบด้วย ด้านบรรยากาศและสภาพแวดล้อม และด้านตราสินค้า ส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อตราสินค้าร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณะ ดาราเรือง และคณะ. (2561). การรับรู้คุณภาพการให้บริการ และส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการโรงแรมในอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(ฉบับพิเศษ), 67-70.

เกศณีย์ อยู่เจริญ. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าที่มีต่ออาหารแช่แข็งพร้อมรับประทานในร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชลธิชา บุนนาค. (2562). งานบริการอาหารและเครื่องดื่ม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐพร ดิสนีเวทย์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีของลูกค้าที่มีต่อตราสินค้า ร้านคาเฟ่ขนมหวานในห้างสรรพสินค้า. (การศึกษาค้นคว้าอิสระศิลปศาสตร มหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

มนัสมนต์ กล่ำแดง. (2561). ภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีผลต่อความรักภักดีของผู้บริโภคร้านอาหารชาบูบุฟเฟ่ต์ในกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษาร้านชาบูบุฟเฟ่ 2 ร้านที่ถือครองส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุด. (การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2555). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: สามลดา.

Marketeer online. (2563). โควิด - 19 ทำให้ Landscape ร้านอาหารเปลี่ยนไป. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 12, 2564, จาก https://marketeeronline.co /archives/203516.

MONEY BUFFALO. (2563). ประวัติศาสตร์ของอุตสาหกรรมฟาสต์ฟู้ด มูลค่ากว่า 17 ล้านล้านบาท. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 14, 2564, จาก https://www.moneybuffalo.in.th/business/%E0%B8%AD%E0%B8%B8% E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%81%E0%B8%A3% E0%B8%A3%E0%B8%A1-fastfood.

Bourdeau, L. (2005). A new examination of service loyalty: Identification of the Antecedents and outcomes of additional loyalty framework. (Dissertation, Ph.D. Business Administration). Florida: Florida University.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York, NY: Harper Collins.

Cochran, W.G. (1997). Sampling techniques. (3rd. ed.). New York: John Wiley & Sons. Inc.

Kotler, P. (2000). Marketing Management. The Millennium. (10th. ed). New Jersey: Prentice-Hall.

Kotler, P., & Armstrong, G. (2014). Principles of marketing (15th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Kotler, P., & Keller, K. (2016). Marketing Management (15th ed.). New Jersey: Pearson Education.

Oliver, R. L. (1999). Whence consumer loyalty. Journal of Marketing, 63(4), 33-34.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1985). A Conceptual Model of Service Quality and Its Implications for Future Research. Journal of Marketing, 49, 41-50.

Parasuraman, A., Berry, L. L. & Zeithaml, V. A. (1990). Deliver Quality Service: Balancing customer perceptions and expectation. New York: The Free Press.

Schiffman, Leon G. & Kanuk, Leslie Lazar. (2007). Consumer Behavior. (9th ed.). New Jersey: Prentice-Hill.