รูปแบบการดำเนินชีวิตและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีอิทธิพล ต่อกระบวนการตัดสินใจซื้ออาหารคลีนผ่านช่องทางออนไลน์ ของบุคลากรกรมสอบสวนคดีพิเศษ

Main Article Content

สุนิสา ชีวันโชติบัณฑิต
ดร.พอดี สุขพันธ์

บทคัดย่อ

           การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการดำเนินชีวิต ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ และกระบวนการตัดสินใจซื้ออาหารคลีนผ่านช่องทางออนไลน์ของบุคลากรกรมสอบสวนคดีพิเศษ 2) รูปแบบการดำเนินชีวิตและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้ออาหารคลีนผ่านช่องทางออนไลน์ของบุคลากรกรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ส่วนกลาง) ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป และเคยมีประสบการณ์การสั่งซื้อสินค้าเกี่ยวกับอาหารคลีนผ่านช่องทางออนไลน์ จำนวน 400 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ
            ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 30-39 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้ต่อเดือน 15,001-30,000 บาท และมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการดำเนินชีวิต ด้านความคิดเห็น อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ ด้านความสนใจ ด้านกิจกรรม และมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ ด้านผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการรักษาความเป็นส่วนตัว ด้านการให้บริการส่วนบุคคล ด้านการส่งเสริมการตลาด และมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการตัดสินใจซื้อ ด้านการรับรู้ถึงความต้องการ อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ ด้านพฤติกรรมภายหลังการซื้อ ด้านการตัดสินใจซื้อ ด้านการประเมินทางเลือก และด้านการค้นหาข้อมูล
           ผลการวิเคราะห์รูปแบบการดำเนินชีวิตที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้ออาหารคลีนผ่านช่องทางออนไลน์ พบว่า สามารถพยากรณ์กระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ได้ดังนี้ ด้านการรับรู้ถึงความต้องการ ได้ร้อยละ 29.90 ด้านการค้นหาข้อมูล ได้ร้อยละ 21.10 ด้านพฤติกรรมภายหลังซื้อ ได้ร้อยละ 17.90 ด้านการตัดสินใจซื้อ ได้ร้อยละ 17.00 และด้านการประเมินทางเลือก ได้ร้อยละ 16.30 และผลการวิเคราะห์ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้ออาหารคลีนผ่านช่องทางออนไลน์ พบว่า สามารถพยากรณ์กระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ได้ดังนี้ ด้านพฤติกรรมภายหลังซื้อ ได้ร้อยละ 31.70 ด้านการประเมินทางเลือก ได้ร้อยละ 29.70 ด้านการตัดสินใจซื้อ ได้ร้อยละ 24.60 ด้านการรับรู้ถึงความต้องการ ได้ร้อยละ 20.80 และด้านการค้นหาข้อมูล ได้ร้อยละ 17.80

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ ไทยประดิษฐ์ และกรวินท์ เขมะพันธุ์มนัส. (2563). รูปแบบการตลาดออนไลน์บนเครื่องมือเครือข่ายสังคมออนไลน์ (เฟซบุ๊ก). วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 19(1).

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2544). หลักสถิติ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จตุพร ลิขิตทัศชูวงศ์. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อน้ำผลไม้พร้อมดื่มตราดอยคำของผู้บริโภคในเขตบางแค จังหวัดกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม.

ณัฐชา คชกฤษ. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (6Ps) ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องแต่งกายสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน ผ่านสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กแฟนเพจ. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

ณัฐภัทร วัฒนถาวร. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจบริโภคอาหารคลีนฟู๊ดของประชากรในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ธิติมา พัดลม. (2558). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้ออาหารคลีนฟู๊ดผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในเขตกรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ฟู้ด เนวิเกเตอร์-ยูเอสเอ. (2558). อิทธิพลจากรายการอาหารเพื่อสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางไปชิมอาหารจากทั่วทุกมุมโลก. สืบค้นจาก http://www.now26.tv/mobile/view/41369.

เมขลา สังตระกูล. (2557). อิทธิพลของคุณค่าที่รับรู้ต่อความไว้เนื้อเชื่อใจ ความพึงพอใจ การบอกต่อ และการกลับมาซื้อซ้ำของผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วิภาวรรณ มโนปราโมทย์. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสังคมออนไลน์(อินสตาแกรม) ของประชากรในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วรันพร นางาม. (2561). อิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำอาหารคลีนของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

วัลย์ลดา ทองเย็นบุริศร์. (2562). ปัจจัยการตัดสินใจซื้ออาหารคลีนในสถานการณ์ของโควิด 2019. วารสารวิชาการคณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยพิษณุโลก.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) (2563). รายงานประจำปี 2563 สืบค้นจาก https://www.thaihealth.or.th/Books/list/8/.

สำนักพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. “พาณิชย์จัดงาน eCommerce Big Bang :

วิถีการค้าไทย สู่วิถีออนไลน์”. สืบค้นจาก http://www.dbd.go.th/ewt_news.

Antonides, G., & Van Raaij, W. F. (1998). Consumer behavior an European perpective.

Chicheter: John Wiley and Sons.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2012). Marketing management (14th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.