ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการให้คำปรึกษา และการสอนงาน ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดฝึกอบรม ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (Effects of learning activities based on coaching and mentoring techniques via social media to enhance training management abilities of undergraduated students Department of Educational Technology, Faculty of Education, Silpakorn University)

Main Article Content

ศิวนิต อรรถวุฒิกุล (Siwanit Autthawuttikul)

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการให้คำปรึกษา และการสอนงานผ่านสื่อสังคมออนไลน์และศึกษาความสามารถในการจัดฝึกอบรมของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรจํานวน 45 คน ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาเทคโนโลยีการศึกษาสำหรับการฝึกอบรม ดำเนินการทดลอง 16 สัปดาห์ ในภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา 2560 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ขั้นตอนกิจกรรมการเรียนรู้กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการให้คำปรึกษา และการสอนงานผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 6 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 เริ่มต้นกระบวนการสานสร้างความสัมพันธ์ ขั้นตอนที่ 2 กำหนดความช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อคำปรึกษา ขั้นตอนที่ 3 แบ่งปันประสบการณ์สอนงานผ่านสื่อฯ ขั้นตอนที่ 4 มองเห็นช่องทาง ดำเนินตามคำชี้แนะ ขั้นตอนที่ 5 ลงมือดำเนินการ ปฏิบัติงาน ฝึกอบรม ขั้นตอนที่ 6 สะท้อนผลงาน กระบวนการยุติ 2) ความสามารถในการจัดฝึกอบรมของนักศึกษามีคะแนนเฉลี่ย 46.05 คิดเป็นร้อยละ 76.75 ซึ่งความสามารถในการจัดฝึกอบรมของนักศึกษาอยู่ในระดับดีมาก 3) ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของนักศึกษาโดยภาพรวมกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการให้คำปรึกษา และการสอนงานผ่านสื่อสังคมออนไลน์มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.23, S.D. = 0.71)


This paper is a classroom action research aiming to study the effects of learning activities based on coaching and mentoring techniques via social media. Its purpose was to enhance training management abilities of undergraduates from The Department of Educational Technology, Faculty of Education, Silpakorn University. The sample group included 45 undergraduates who enrolled in the Educational Technology for Training module from the referred university. The experiment was conducted for 16 weeks in 2017 in the second term. The statistical measures included, namely percentage, means, and standard deviation. The findings can be generated into three folds. Firstly, the steps of learning activity process comprised 6 steps, namely 1.1) Step 1: Starting the Process & Building Relationships; 1.2) Step 2: Definition Help & Counseling; 1.3) Step: 3 Sharing Experiences & Teaching via Social Media; 1.4) Step 4: Finding the Ways & Following the Suggestions; 1.5) Step 5: Taking Actions & Implementing Projects; and 1.6) Step 6: Reflecting the Process & Assessing Activities. Secondly, in terms of statistical outcomes, the training management abilities had average score of 46.05 and 76.75 percent, respectively. This can be interpreted that the training management ability level found in the undergraduates were high. Finally, after voicing overall experiment’s feedback and appropriateness, students were favored this learning programs with high level (X̅ = 4.23, S.D. = 0.71).

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Autthawuttikul, Siwanit. (2016). Educational Technology for Training. Nakhon Pathom: Silpakorn University Printinghouse.

Bangmo, Somkid. (2008). Training and Meeting Techniques (เทคนิคการฝึกอบรม และการประชุม). Bangkok: Wittayapat.

George R. L., & Christiani, T. S. (1995). Counseling: Theory and practice (4th ed.). Needham Heights, Massachusetts: Allyn & Bacon.

Gilley, A., Gilley, J. W., Quatro, S., & Dixon, P. (2009). The Praeger Handbook of Human Resource Management. Westport, Connecticut: Praeger.

Hongladarom, Chira. (2005). 4 L’s VS 4 E’s (4 L’s ปะทะ 4 E’s). [Online]. Retrieved August 20, 2018 from http://www.technologymedia.co.th/article/articleview.asp?id=199

Office of the National Economic and Social Development. (2018). The National Economic and Social Development Plan The Twelfth Plan (2017-2021) (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564). [Online]. Retrieved September 19, 2018 from https://www.nesdb.go.th

Piyakun, Methee., & Lertthanaphon, Surachai. (2008). The Development of E-Training Training Packages on Teaching Skills for Supervisors (การพัฒนาชุดฝึกอบรมแบบ e-Training เรื่อง ทักษะการสอนสำหรับหัวหน้างาน). Bangkok: Sukhothai Thammatirat.