สลากย้อม : จินตภาพใหม่สู่ศิลปะร่วมสมัย (Salak Yom: New imaginary images towards contemporary art)

Main Article Content

สุเมธ จันทร์เพ็ญ (Sumet Chanpen)
ฉลองเดช คูภานุมาต (Chalongdej Khuphanumat)

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทของประเพณีสลากย้อมในเนื้อหาเกี่ยวข้องกับประวัติความเป็นมา ตำนานเรื่องเล่า และแนวความคิด คติความเชื่อ และรูปแบบ ตลอดจนสภาวการณ์ปัจจุบันของประเพณีสลากย้อม 2) เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประเพณีสลากย้อมมาเป็นแรงบันดาลใจสู่การสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย เพื่อสะท้อนคุณค่าทางวัฒนธรรมภายในประเพณีสลากย้อม โดยการศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัย และผลงานศิลปะที่เกี่ยวข้อง ในบริบทที่เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ตำนานเรื่องเล่า คติความเชื่อ ตลอดจนรูปแบบของประเพณีสลากย้อม พื้นที่วิจัย คือ ตำบลริมปิง ตำบลประตูป่า อำเภอเมืองลำพูน และงานประเพณีสลากย้อมที่จัดขึ้นช่วงปี พ.ศ. 2561-2566 ภายในวัดพระธาตุหริภุญไชย จังหวัดลำพูน ผลการศึกษาพบว่า 1) ประเพณีสลากย้อมมีบทบาทสำคัญต่อชุมชนท้องถิ่น ตั้งแต่อดีตจัดว่าเป็นประเพณีเฉพาะหญิงสาวชาวไทยอง แต่ด้วยโลกของทุนนิยมวัฒนธรรมถูกปรับเปลี่ยนกลายเป็นสินค้าสร้างความเชื่อมโยงกับผู้คน ในปัจจุบันจึงกลายเป็นประเพณีที่ส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จักของผู้คนภายนอกชุมชน สร้างการมีส่วนร่วมของบุคคลทุกเพศทุกวัย อันยังคงคุณค่าทางวัฒนธรรมและบทบาทประเพณีส่วนหนึ่งไว้ โดยนำหลักคุณค่าทางพุทธศาสนา ความศรัทธามาเชื่อมโยงกับกิจกรรมตามยุคสมัยใหม่ 2) ผู้วิจัยได้สร้างสรรค์งานศิลปะร่วมสมัยจากคติความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีสลากย้อม เพื่อสะท้อนคุณค่าทางวัฒนธรรมด้วยเทคนิคคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้ชมได้รับสุนทรียภาพและเข้าถึงภาพจินตนาการของเหตุการณ์จำลองที่สร้างสรรค์ในรูปแบบสามมิติ จากการสร้างสรรค์งานศิลปะร่วมสมัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ข้อสังเกตที่สำคัญ คือ ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างชิ้นงานศิลปะกับผู้รับชม สร้างความสัมพันธ์แบบที่เรียกว่า สัมพันธบท ผลที่ได้สามารถต่อยอดการสร้างสรรค์ผลงาน การสร้างสรรค์รูปแบบสื่อนวัตกรรมใหม่ ๆ และการเผยแพร่สื่อสมัยใหม่เพื่อสร้างสุนทรียภาพในการสื่อสารกับผู้รับสารต่อไปในอนาคต


This research article aims to 1) study the context of the Salak Yom tradition, including its historical background, legends, ideologies, beliefs, and forms, as well as its current status, and 2) use the knowledge gained from studying the Salak Yom tradition to inspire the creation of contemporary art that reflects the cultural values of this tradition. The study involved reviewing documents, concepts, theories, research, and artworks related to the historical background, legends, beliefs, and forms of the Salak Yom tradition. The research area includes the subdistricts of Rim Ping and Pratu Pa in Mueang Lamphun District and the Salak Yom events held between 2018 and 2023 at Wat Phra That Hariphunchai in Lamphun Province. The study findings reveal that 1) the tradition of Salak Yom has played a significant role in local communities. Historically, it was an exclusive tradition practiced by young women of the Thai Yong ethnic group. However, influenced by consumer culture, this tradition has evolved into a commercialized practice that connects people through cultural products. Today, Salak Yom has become a tradition that promotes tourism, gaining recognition beyond the local community. It now involves people of all genders and ages while preserving its cultural values and traditional essence. By integrating Buddhist principles and faith with contemporary activities, Salak Yom remains a relevant and dynamic tradition. 2) The researcher created contemporary artworks based on the beliefs associated with the Salak Yom tradition. By employing computer techniques, the goal was to reflect cultural values and provide viewers with an aesthetic experience and access to a three-dimensional simulation of imaginative events. Through this contemporary art creation, the researcher observed a significant relationship between the artwork and the viewers, establishing a dialogue. This outcome has the potential to further innovative creations, the development of new media formats, and the dissemination of contemporary media to foster aesthetic communication with audiences in the future.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Auachitracharoen, Usa, Polpalawat, Natta, Suanprasert, Mayuree, & Saenjundee, Waraporn. (2011). “Salak Pat” Ceremony (ประเพณีสลากภัต). [Online]. Retrieved May 15, 2020 from http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6-1/no16-25-26-42/kong-dee-kong-thai/sec52.html

Na wanna, Phairin. (2016). An Analytical Study of the Value and Importance of Salakyom towards Lamphun’s Socio – Cultural Community (ศึกษาวิเคราะห์ คุณค่าและความสำคัญของสลากย้อมที่มีต่อสังคมและวัฒนธรรม ลำพูน). Doctoral dissertation, Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Bangkok, Thailand.

Office of the National Culture Commission. (2007). Traditionalism Based on the Sufficiency Economy Philosophy (ประเพณีนิยมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง). Bangkok: Ministry of Culture.

Phiajanta, Chinnawat. (2013). Salak Yom Tradition Conservation Management of Pratu Pa Community Mueang Lamphun District, Lamphun Province by Public Participation (การจัดการอนุรักษ์ฟื้นฟูประเพณีงานบุญสลากย้อมของชุมชนตำบลประตูป่า อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน อย่างมีส่วนร่วมของภาคประชาชน). Master’s dissertation, Chiang Mai University, Chiang Mai, Thailand.

Phuttitarn, Linina. (2011). Participatory-Based Approach to Safeguarding a Festival’s Cultural Significance: A Case Study of Salak Yom Festival in Lamphun Province, Thailand (แนวทางการอนุรักษ์ฟื้นฟูคุณค่าทางวัฒนธรรมของประเพณีแบบเน้นการมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาประเพณีสลากย้อมในจังหวัดลำพูน ประเทศไทย). Master’s dissertation, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand.

Prachatai. (2004). Lamphun Awaits World Heritage Listing: Unveiling Community Dimensions and Wisdom (ลุ้นมรดกโลกลำพูนเข้าบัญชี เปิดมิติชุมชน-ภูมิปัญญาด้วย). [Online]. Retrieved May 3, 2020 from https://prachatai.com/journal/2004/11/1482

Sukkorn, Khwannapa, Samanit, Saowatarn, Phongsak, Siththa, Yaisumlee, Thitiworada, Supachantarasuk, Siranathaseth, Tutanon, Pathaithep, & Viphasrinimit, Patchaporn. (2019). Value Creation Process from Social and Cultural Capital towards the Development of Community’s Strength and Sustainability of Phapang Subdistrict, Maeprik District, Lampang Province (Research report) (กระบวนการสร้างคุณค่าจากทุนทางสังคมวัฒนธรรม สู่การพัฒนาบนความเข้มแข็งและยั่งยืนของชุมชน ตำบลผาปัง อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง) (รายงานการวิจัย). Lampang: Suan Dusit University, Lampang Campus.

The Lanna Cultural and Ethnic Museum Project. (2007). The Thai Yong Traditions (ประเพณีชาวไทยอง). Chiang Mai: Social Research Institute, Chiang Mai University.

Interview

Phra khru Paisan Thammanusit, Abbot of the Wat Pratu Pa. Interview, April 17, 2019.