ความสอดคล้องของมาตรการคว่ำบาตรบริษัทอัญมณีจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาของสหรัฐอเมริกาภายใต้พันธกรณีขององค์การการค้าโลก

ผู้แต่ง

  • จารุประภา รักพงษ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

อัญมณี, อัญมณีและเครื่องประดับ, องค์การการค้าโลก, ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากร และการค้า, มาตรการจำกัดปริมาณ, มาตรการคว่ำบาตร, รัฐบาลทหาร, สิทธิมนุษยชน, ศีลธรรมสาธารณะ, ความมั่นคงของชาติ, สหรัฐอเมริกา, การเจรจาทางการค้า

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการสรุปผลส่วนหนึ่งจากงานวิจัยในเชิงนิติเศรษฐศาสตร์ เรื่อง ความสอดคล้องของมาตรการคว่ำบาตรบริษัทอัญมณีจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาของสหรัฐอเมริกา ภายใต้พันธกรณีขององค์การการค้าโลก : นัยต่อการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับจากไทยไปยังสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการศึกษาเกี่ยวกับมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ต่อบริษัทอัญมณีจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย และเน้นการวิเคราะห์ความสอดคล้องของมาตรการดังกล่าว ภายใต้กรอบพันธกรณีขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization)

จากการศึกษาพบว่า มาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ มีแนวโน้มขัดต่อพันธกรณีภายใต้ความตกลงทั่วไป ว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (GATT) เนื่องจากเป็นการเลือกประติบัติ (discrimination) ที่ขัดกับหลักการชาติ ที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (MFN Principle) และมีผลเป็นมาตรการจำกัดปริมาณ ซึ่งขัดกับพันธกรณีในมาตรา XI ของความตกลง GATT แต่สหรัฐฯ อาจอ้างข้อยกเว้นว่าด้วยมาตรการที่จำเป็นต่อการปกป้องผลประโยชน์ด้านความมั่นคงของชาติ (National security) ได้ ดังนั้นสหรัฐฯ จึงมีแนวโน้มที่จะคงไว้ซึ่งมาตรการคว่ำบาตรดังกล่าวต่อไป 

เมื่อเป็นเช่นนี้ รัฐบาลไทยควรเจรจากับสหรัฐฯ เพื่อชี้ให้เห็นว่า แม้มาตรการดังกล่าวจะมีความสอดคล้องกับพันธกรณีขององค์การการค้าโลก ทว่ามาตรการดังกล่าวได้ก่อให้เกิดอุปสรรคทางการค้าโดยไม่จำเป็นต่อประเทศไทยมากกว่าสร้างแรงกดดันต่อรัฐบาลทหารเมียนมาซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลักของมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ และในขณะเดียวกันรัฐบาลและผู้ประกอบการไทยควรดำเนินการในลักษณะอื่น ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาในระยะยาวไปพร้อม ๆ กันด้วย

References

หนังสือ

จารุประภา รักพงษ์, ‘บทที่ 3 หลักชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง มาตรา 1 ของความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า’ ใน กฎหมายแห่งองค์การค้าโลก: การตีความและการวิเคราะห์บทบัญญัติสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 2, โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2560).

งานวิจัย

ปิติ ศรีแสงนาม และ สินีนาฏ เสริมชีพ, ‘โครงการการศึกษาโอกาสทางการค้าและการลงทุน อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยในเมียนมาภายหลังการปฏิรูปประเทศ’ (รายงานผลการวิจัยเสนอต่อสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ 2559).

อื่น ๆ

ภาษาไทย

–– ‘เมียนมารำลึก 30 ปี เหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตย 8-8-88’ BBC Thailand (8 สิงหาคม 2561) <https://www.bbc.com/thai/international-45103631> สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2564.

หอการค้าไทย, ‘รับรองเอกสารเพื่อการส่งออก’ <https://register.thaichamber.org/ service/รับรองเอกสารเพื่อการส่งออก> สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2567.

ภาษาต่างประเทศ

–– ‘Find things you'll love. Support independent sellers. Only on Etsy.’ (Etsy) <https://www.etsy.com/> สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565.

–– ‘Issuance of Executive Order “Blocking Property With Respect To The Situation In Burma;” Burma-related Designations and Designations Updates’ (U.S. Department of The Treasury, 2 November 2021) <https://home.treasury.gov/policy-issues/financial-sanctions/recent-actions/20210211> สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2564.

–– ‘PRESS RELEASES: Treasury Sanctions Key Gems Enterprise in Burma’ (U.S. Department of the Treasury 2021) <https://home.treasury.gov/news/press-releases/jy0115> สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2565.

BGL Burapha Gemological Laboratory อัตราค่าใช้บริการการตรวจสอบอัญมณีของห้องปฏิบัติการสืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2567.

China—Measures related to the Exportation of Rare Earths, Tungsten, and Molybdenum WT/DS431/AB/R (7 August 2014).

European Communities—Measures Prohibiting the Importation and Marketing of Seal Products, Appellate Body Report, WT/DS400/AB/R, WT/DS401/AB/R (Adopted 18 June 2014).

Federal Register, Executive Order 14014: Blocking Property With Respect to the Situation in Burma 2021 <https://www.federalregister.gov/documents/2021/02/12/2021-03139/blocking-property-with-respect-to-the-situation-in-burma> สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2567.

General Agreement on Tariffs and Trade (GATT), as adopted on 30 October 1947.

Lalit K. Jha, ‘US Lawmakers Propose Gem Sanctions’ The Irrawaddy (18 October 2007) <https://www2.irrawaddy.com/article.php?art_id=9041> สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2565.

Nazanin Lankarani, ‘Burmese Rubies: Costly and Controversial’ New York Times (22 November 2021) <https://www.nytimes.com/2021/11/22/fashion/jewelry- rubies-myanmar-mozambique.html> สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2567.

OFAC, Burma Sanctions Regulations <https://www.treasury.gov/ofac/downloads/sdnlist.pdf> สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2567.

Russia—Measures concerning Traffic in Transit (5 April 2019) WT/DS512/R. <https://www.wto.org/english/tratop_e/dispu_e/cases_e/ds512_e.htm> สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2567.

Shrimp/Turtle II, United States-Import Prohibition of Certain Shrimp and Shrimp Products, Recourse to Article 21.5 of the DSU by Malaysia, Report of the Panel, WT/DS58/RW, Adopted 21 November 2001.

สัมภาษณ์

สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์, ผู้ค้าพลอยในกรุงเทพฯ, (15 มกราคม 2565 และ 21 กุมภาพันธ์ 2565).

สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์, ผู้ค้าพลอยในประเทศไทย, (15 มกราคม 2565 และ 1 เมษายน 2565).

สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์, สถาบันตรวจสอบอัญมณีแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ, (4 เมษายน 2565).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30