ประสิทธิภาพ ตามแนวคิด 7s ของ McKinsey กรณีศึกษา บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

อัครกิตติ์ พัฒนสัมพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพ ตามแนวคิด 7s ของ McKinsey  กรณีศึกษา บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทราการดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ใช้การศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญในครั้งนี้ คือผู้จัดการฝ่ายในแผนกต่าง ๆ ประกอบไปด้วย ผู้จัดการฝ่ายขาย ผู้จัดการฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล ผู้จัดการฝ่ายการเงิน ผู้จัดการโรงงาน ผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรมและซ่อมบำรุง ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ ผู้จัดการฝ่ายควบคุมคุณภาพ และผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ จำนวน 10 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการวิจัย ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการสร้างข้อสรุปจากการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัย พบว่าการพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพ ตามแนวคิด 7s ของ McKinsey  กรณีศึกษาบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้แก่ (1)  กลยุทธ์ การฝึกอบรม  การกระจายอำนาจ  (2) โครงสร้าง สายบังคับบัญชาสั้น ความรับผิดชอบแบ่งตามหน้าที่  (3) ระบบ การให้มีส่วนร่วมการตัดสินใจ  (4) รูปแบบ  การสอนงาน การเป็นพี่เลี้ยง  (5) บุคคล การวางเส้นทางความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน คุณภาพชีวิต  (6) ทักษะ ระบบซอฟต์แวร์ ERP  (7) ค่านิยมร่วม การทำงานเป็นทีม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. ข้อมูลโรงงานในเขตการนิคมแห่งประเทศไทย. นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ : (ออนไลน์).ค้นจาก

http://sql.diw.go.th/factory/ IEAT-000018.xls วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564

กัลยกร บุญรักษา. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำกับการมีส่วนร่วมในการทำงานของบุคลากรในศูนย์

การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอในเขตจังหวัดจันทบุรี. การศึกษามหาบัณฑิต.

มหาวิทยาลัยบูรพา.

กรวิภา งามวุฒิวงศ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมภายในสำนักอำนวยการสำนักงานปลัดกระทรวง

ศึกษาธิการ. รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณิศาภัทร ม่วงคำ. (2559). คุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากร : กรณีศึกษา เจ้าหน้าที่อาสาสมัครกู้ภัย

มูลนิธิมิราเคิลออฟไลฟ์ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี. ศิลปศาสตรมหา

บัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกริก.

นันท์นภัส สุขแก้ว. (2558). การสำรวจการประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์การวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรโดยรวม

ของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทย ในกลุ่มธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย.

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร

นริศรา บุญเที่ยง. (2561) . ความพร้อมในการฝึกอบรม กระบวนการฝึกอบรม และความพึงพอใจในการฝึกอบรมที่มี

ผลต่อแรงจูงใจในการนำการฝึกอบรมไปพัฒนาในการทำงานของพนักงานธนาคารพาณิชย์ในโซนถนน

รัชดาภิเษก. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ปราวีณา กุญแจทอง. (2557). การสำรวจการใช้เครื่องมือการพัฒนาบุคลากร. การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต.

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พเยาว์ อินทอง. (2560). การพัฒนาหน่วยงานภาครัฐสู่องค์การสมรรถนะสูง : กรณีศึกษา กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

กระทรวงแรงงาน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ภัครวรรณ ปิ่นแก้ว. (2558). การเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน และความผูกพันต่อองค์กรระหว่างองค์กรญี่ปุ่น และ

องค์กรไทย. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศุภวรรณ ศรีเกตุ. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างระบบพี่เลี้ยงกับการปรับตัวในการทำงานของพนักงาน. วิทยานิพนธ์

การศึกษามหาบัณฑิต. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

วรางคนา ชูเชิดรัตนา. (2557). แรงจูงใจในการพัฒนาความก้าวหน้าในสายอาชีพ การรับรู้ความยุติธรรมในองค์กร

และความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคที่ส่งผลตอความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทเอกชนในเขต

กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สายหยุด ใจสำราญ และสุภาพร พิศาลบุตร. (2549). การพัฒนาองค์การ. พิมพ์ครั้งที่7. กรุงเทพมหานคร :ศูนย์เอกสารและ

ตำราโครงการศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.

สมพร ศิลป์สุวรรณ์. (2550). HR กับการพัฒนาองค์กรสู่ High Performance Organization. (ในเอกสารประกอบการ

สัมมนาวิชาการและการบรรยาย วันที่15-16 พฤศจิกายน 2550 ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์คอนเวนชั่น

กรุงเทพ). สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่ง ประเทศไทย. หน้า4

สุมณทิพย์ สามิภักดิ์. (2557). ความสัมพันธ์ของโครงสร้างองค์การกับพฤติกรรมที่แสดงถึงความพึงพอใจใน

การทำงานและระดับความสุขของพนักงาน: กรณีศึกษา พนักงานในบริษัทในพื้นที่แขวงสีลม.

การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Singh, A. (2013). A study of role of McKinsey's 7S framework in achieving organizational excellence.

Organization Development Journal, 31(3): P39.