การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Model Eliciting Activities เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

สุวพัชร โพธิ์ปิ่น
ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง

บทคัดย่อ

             การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Model Eliciting Activities ก่อนและหลังเรียน  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Model Eliciting Activities ก่อนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดยางนอน อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 14 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Model Eliciting Activities 2) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และ  3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ  การทดสอบค่าที (t-test) แบบ dependent ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่าการทำความเข้าใจปัญหามีค่าเฉลี่ยของคะแนนสูงสุด รองลงมาเป็นการวางแผนแก้ปัญหา การดำเนินการ ตามแผน และค่าเฉลี่ยของคะแนนต่ำที่สุดคือ การสรุปคำตอบ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษา  ปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2561). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ขวัญหทัย พิกุลทอง. (2561). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ขวัญหทัย พิกุลทอง และชนิศวรา เลิศอมรพงษ์. (2562). Model Eliciting Activities (MEAS): การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนไทยในยุคการศึกษา 4.0. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 21(3), 342-355.

ณัฐฐินุช จุยคำวงศ์. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และเจตคติต่อคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 14 (ปักษ์แรก มกราคม-เมษายน): 15-23.

นงนุช ยืดเนื้อ.(2557). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

นริศรา สาราญวงษ์. (2558). การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องบทประยุกต์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปรีชา เนาว์เย็นผล. (2556). การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์. ในประมวลสาระชุดวิชาสารัตถะและวิทยวิธีทางคณิตศาสตร์ Foundations and Methodologies of Mathematics Instruction. นนทบุรี:สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร. (2555). ครบเครื่องเรื่องควรรู้สำหรับครูคณิตศาสตร์ หลักสูตร การสอนและการวิจัย.กรุงเทพมหานคร: จรัลสนิทวงศ์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2555). ครูคณิตศาสตร์มืออาชีพเส้นทางสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพมหานคร : 3-คิว มีเดีย.

สถาบันส่งเสริมการสอนวทิยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2555). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. ผลจากการทดสอบระดับชาติ (National Test : NT) ระดับโรงเรียน. [Online] เข้าถึงได้จาก: https://bet.obec.go.th/New2020/. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2563.

วิฬาร์ เลิศสมิตพร.(2558). ผลของการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนว Model-Eliciting Activities ที่มีต่อความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้ และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัมพร ม้าคนอง. (2559). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bransford, J., Brown, A. L. and Cocking, R. R. (Eds.) (2000). How people learn: Brain, mind. Experience and school. Washington, DC: National Academy Press.

Chamberlin, S.A. and Coxbill, E. (2012). Using model eliciting activities to introduce upper elementary students to statistical reasoning and mathematical modeling. In L. Hatfield & R. Mayes (eds.), Quantitative reasoning and mathematical modeling; A driver for STEM integrated education and teaching in context. Wyoming Institute for the Study of Mathematics Education, Laramie, WY.

Chamberlin, S.A., and Moon, S.M. (2008). How does the problem based learning approach compare to the mode-eliciting activity approach in mathematics? [Online]. International Journal for Mathematics Teaching and Learning.

Chan Chun Ming Eric. (2008). Using Model-Eliciting Activities for Primary Mathematics Classrooms. [Online]. The Mathematics Educator.

Dickinson, P. and Hough, S. (2012). Using realistic mathematics education in UK classrooms. [Online]. Retrieved from http://mei.org.uk/files/pdf/rme_impact_booklet.pdf

Garfield, et al. (2012). Inventing and Testing Models: Using Model-Eliciting Activities. from http:/serc.carleton.edu/sp/ library/mea/index.html.

Lesh, R., et al. (2000). Principles for Developing Thought-Revealing Activities for Students and Teachers. In A. Kelly, R. Lesh (Eds.), Research Design in Mathematics and Science Education. (pp. 591-646). Lawrence Erlbaum Associates, Mahwah, New Jersey.

Lesh, R., et al. (2010). Modeling Students' Mathematical Modeling Competencies. New York Dordrecht Heidelberg London: Springer.

Lester, F.K. (1977). "Ideas about Problem Solving: A Look at Some Psychological Research." Arithmetic Teacher 25, 2 (November): 2 - 14.

Schwartz, D.L., Varma, S., & Martin, L. (2008). Dynamic transfer and innovation. S. Vosniadou (Ed.), Handbook of Conceptual Change. Mahwah, NJ: Erlbaum.

Showalter, Q. (2008). The effect of model-eliciting activities on problem solving process and student disposition toward mathematics. graduate degree program in Education, University of Kansas.

Solekhan Z., Supardi K.I., Wardani S. (2021). The Implementation of PBL Model by Using Demonstration Toward Problem Solving Skill and Student Learning Outcome. [Online]. Journal of Primary Education, 10(3): 311 –316.

Available from https://journal.unnes.ac.id/sju/index.php/jpe/article/view/35349

Sulak S. (2010). Effect of problem solving strategies on problem solving achievement in primary school mathematics. Procedia Social and Behavioral Sciences. 9: 468–472.