กระบวนการกล่อมเกลาทางการเมืองของรัฐไทย: กรณีศึกษาเนื้อหาแบบเรียนในยุคเผด็จการทหาร ระหว่างปี พ.ศ. 2503 ถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในช่วงเวลาของการขึ้นมาปกครองโดยรัฐบาลเผด็จการทหารอย่างเต็มรูปแบบในช่วงเวลาระหว่างปี พ.ศ. 2503 - เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 การศึกษาในระบบของรัฐถูกใช้เป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการสร้างและผลิตซ้ำอุดมการณ์ความต้องการของรัฐให้กับเยาวชนในช่วงเวลานั้น โดยผ่านการกำหนดรูปแบบและการให้คุณค่าของเนื้อหาและองค์ความรู้ต่าง ๆ ในแบบเรียนหลายวิชาของกระทรวงศึกษาธิการในช่วงเวลานั้น ด้วยเหตุนี้งานชิ้นนี้จึงได้ทำการศึกษาเพื่อแสดงให้เห็นถึงรูปแบบและวิธีการในความพยายามสร้างกระบวนการกล่อมเกลาทางการเมืองของรัฐผ่านเนื้อหาในแบบเรียนของกระทรวงศึกษาธิการในยุคเผด็จการทหาร ระหว่างปี พ.ศ. 2503 - เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
Article Details
How to Cite
บท
บทความวิชาการ
References
เอกชัย ภูมิระรื่น, หนังสือเรียนสังคมศึกษา ภาพสะท้อนความต้องการของรัฐ พ.ศ. 2503 - พ.ศ.2555, (วิทยานิพนธ์, อักษรศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2558), 27-82.
กรมวิชาการ, แบบเรียนสังคมศึกษา วิชาหน้าที่พลเมือง ประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น ตามหลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2503, (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2505), 73-74.
กรมวิชาการ, แบบเรียนสังคมศึกษา วิชาหน้าที่พลเมือง ประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2503, พิมพ์ครั้งที่ 7, (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2510), 128.
กรมวิชาการ, แบบเรียนสังคมศึกษา วิชาหน้าที่พลเมือง ประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น ตามหลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2503, (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2505), 73-74.
กรมวิชาการ, แบบเรียนสังคมศึกษา วิชาหน้าที่พลเมือง ประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2503, พิมพ์ครั้งที่ 7, (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2510), 128.