การเคลื่อนย้ายทุนและแรงงานจีนใหม่เข้าสู่ประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งอธิบายปรากฏการณ์การเพิ่มขึ้นของทุนและแรงงานจีนในสังคมไทยด้วยการวิเคราะห์ปัจจัยทางการเมืองและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ไทย-จีนที่เป็นปัจจัยหลักต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว หลังจากการรัฐประหารในไทยเมื่อปี ค.ศ.2014 การวิพากษ์วิจารณ์ของสหรัฐฯ ทำให้รัฐบาลทหารของไทยต้องหันหน้าไปพึ่งพาจีนในทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่าจีนนั้นมีนโยบายไม่แทรกแซงกิจการภายในของชาติใด ความร่วมมือดังกล่าวนำไปสู่การเคลื่อนตัวของทุนและแรงงานจีนเข้าสู่สังคมไทย ซึ่งนักวิชาการชี้ว่ามีแรงงานจีนในสังคมไทยมากกว่าห้าแสนคน ทั้งที่ถูกกฎหมายและลักลอบเข้ามาทำงาน แม้จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ภายในประเทศ แต่ทุนและแรงงานจีนในไทยก็ยังคงเพิ่มขึ้น ปรากฏการณ์ใหม่นี้ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของตลาดแรงงานของไทยด้วย ไม่เพียงแต่การสนับสนุนของรัฐบาลจีนที่มุ่งส่งนายทุนของตนไปลงทุนในต่างแดน และความต้องการของรัฐบาลไทยที่ต้องการรับการลงทุนจากต่างชาติจะเป็นสาเหตุของการเพิ่มขึ้นของทุนและแรงงานจีนดังกล่าว แต่ปัจจัยการเมืองภายในของไทยก็มีบทบาทสำคัญในการอำนวยให้เกิดความร่วมมือในระดับทวิภาคีระหว่างไทยและจีนด้วย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
• Benjamin Zawacki, Thailand: shifting ground between the US and a rising China, (London: Zed Books, 2017).
• Chien-peng Chung, China’s Multilateral Cooperation in Asia and the Pacific: Institutionalizing Beijing’s “Good Neighbour Policy,” (Abingdon: Routledge, 2010).
• Clive Hamilton and Mareike Ohlberg, Hidden Hand: Exposing How the Chinese Communist Party Is Reshaping the World, (London: Oneworld Publications, 2020).
• Elizabeth C. Economy, The Third Revolution: Xi Jinping and the New Chinese State, (New York: Oxford University Press, 2018).
• Hans Hendrischke, “Guangxi: Towards Southwest China and Southeast Asia,” in David S.G. Goodman, China’s Provinces in Reform: class community and political culture, (London: Routledge, 1997).
• Hongbin Li, Lei Li, Binzhen Wu, and Yanyan Xiong, “The End of Cheap Chinese Labor,” Journal of Economic Perspectives, Vol.26, No.4 (Fall 2012).
• Jie Minbao, “Lukchin: Chinese Thai transnational bridge builders,” in Tan Chee-Beng, (ed.), Chinese Transnational Networks, (Abingdon: Routledge, 2007).
• Jonathan Pugh, “Is China the New Hegemon of East Asia?,” E-International Relations, (October 2017), https://www.e-ir.info/2017/10/08/is-china-the-new-hegemon-of-east-asia/ (accessed 10 April 2020).
• Joseph E. Stiglitz, The Great Divide, (UK: Penguin Books, 2016).
• Jurgen Haacke, “The significance of Beijing’s bilateral relations looking ‘below’ the regional level in China-ASEAN ties,” Ho Khai Leong and Samuel C.Y. Ku. (eds.), China and Southeast Asia: global changes and regional challenges, (Singapore: Institute of Southeast Asian Studies, 2005).
• Kasian Tejapira, “A Tick on the Dragon's Back: How Siam Bonded Itself to China's Political and Economic Supply Chains” Situations, Vol. 13, No. 1 (2020).
• Kasian Tejapira, “The Sino-Thais’ right turn towards China,” Critical Asian Studies, (October 2017), http://dx.doi.org/10.1080/14672715.2017.1380875 (accessed 12 August 2020).
• Leo Suryadinata, “Chinese Migration and Adaptation in Southeast Asia: The Last Half-Century,” in Aris Ananta, and Evi Nurvidya Arifin (ed.), International Migration in Southeast Asia, (Singapore: ISEAS Publications, 2004).
• Lu Jianren, “The 21st Century Maritime Silk Road and China-ASEAN Industry Cooperation,” International Journal of China Studies, Vol.7 No.3 (December 2016).
• Mark S. Cogan, “Is Thailand Accommodating China?,” Southeast Asian Social Science Review, Vol. 4, No. 2, (2019).
• Parag Khanna, The Future is Asian: Global Order in the Twenty-First Century, (London: Weidenfeld&Nicolson, 2019).
• Raghuram Rajan, The Third Pillar: How Markets and the State Leave the Community Behind, (London: William Collins, 2020).
• Samir Saran and Akhal Deo, Pax Sinica: Implications for The Indian Dawn, (New Delhi: Rupa Publications, 2019).
• Sebastian Hilmann and Dirk H. Schmidt, China’s Foreign Political and Economic Relations: An Unconventional Blobal Power, (Maryland: Rowman&Littlefield, 2014).
• Tom Miller, China’s Asian Dream: Empire Building along the New Silk Road, (London: Zed Books, 2019).
ภาษาไทย
• กิตติ ประเสริฐสุข, โครงการ นโยบาย Soft Power ต่ออาเซียนของญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้: นัยและบทเรียนสำหรับประเทศไทย, (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), 2557).
• จางเหวยเหว่ย และ ทิพภานิดา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา, คลื่นจีน: การผงาดของรัฐอารยธรรม, (กรุงเทพฯ: บริษัท อินเทลเลคชวล พับลิชชิ่ง จำกัด, 2562).
• นิสิต พันธมิตร, เศรษฐกิจเสรีนิยมและการค้าชายแดนภาคเหนือ, (เชียงใหม่: ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2559).
• พรทิพย์ ตันติวิเศษศักดิ์ และ อดิศร ณ อุบล, “ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลงทุนโดยตรงของจีนในไทยเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนระหว่างปี 2543 – 2559,” สุทธิปริทัศน์, ปีที่ 32 ฉบับที่ 104 (ตุลาคม - ธันวาคม 2561).
• พระราชบัญญัติการทํางานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551.
• ร่มเย็น โกไศยกานนท์, “ความฝันของจีน การเปิดและปฏิรูป และการออกไปลงทุนต่างประเทศเป็นกลุ่ม: กรณีศึกษานิคมอุตสาหกรรมระยองไทย-จีน,” ใน ยศ สันตสมบัติ (บก.), ทุนนิยมจีนในอุษาคเนย์, (เชียงใหม่: ศูนย์ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และศูนย์จีน-อุษาคเนย์ศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2562).
• วรศักดิ์ มหัทธโนบล, ครองแผ่นดินจีน: พรรค ผู้นำ อำนาจรัฐ, (กรุงเทพฯ: มติชน, 2554).
• วาสนา วงศ์สุรวัฒน์, “นายทุนแดงผงาด: อิทธิพลของสาธารณรัฐประชาชนจีนและความท้าทายใหม่ พันธมิตรระหว่างราชสำนักกับกลุ่มธุรกิจจีนในประเทศไทย,” ใน ยศ สันตสมบัติ (บก.), ทุนนิยมจีนในอุษาคเนย์, (เชียงใหม่: ศูนย์ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และศูนย์จีน-อุษาคเนย์ศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2562).
• ศิริเพ็ชร ทฤษณาวดี, “ทฤษฏีการย้ายถิ่นกับชาวจีนอพยพใหม่” ใน วารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 (2563).
• สักกรินทร์ นิยมศิลป์, “คลื่นลูกที่สี่: เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับการย้ายถิ่นของชาวจีนยุคใหม่,” การประชุมสังคมวิทยาระดับชาติ ครั้งที่ 4 (คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติสาขาสังคมวิทยา, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 18-19 มิถุนายน 2555).
• อมร ฟ้ามุ่ย, นโยบายของไทยต่อการอพยพของชาวจีนระลอกใหม่: ศึกษากรณีอำเภอแม่สาย เชียงแสน และเชียงของ จังหวัดเชียงราย, (วิทยานิพนธ์, คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558).
• อรัญญา ศิริผล และ สุนันทา แย้มทัพ, "คนจีนอพยพระลอกใหม่ในลุ่มน้ำโขง", สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), (เมษายน 2555), https://www.trf.or.th/asean-insight/1121-2012-04-19 (สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564).
• อรัญญา ศิริผล, “ผู้ค้าจีนรุ่นใหม่กับยุทธวิธีประกอบการข้ามชาติในเชียงใหม่,” ใน ยศ สันตสมบัติ (บก.), ทุนนิยมจีนในอุษาคเนย์, (เชียงใหม่: ศูนย์ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และศูนย์จีน-อุษาคเนย์ศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2562).
• อาร์ม ตั้งนิรันดร, China 5.0 : สีจิ้นผิง เศรษฐกิจยุคใหม่ และแผนการใหญ่ AI, (กรุงเทพฯ: Bookscape, 2561).
• Hsing-Chou Sung, “ระบบทุนนิยมจีนและการพัฒนาของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: มุมมองว่าด้วยการทำให้ไม่เป็นประเด็นความมั่นคง (De-securitization),” ใน ยศ สันตสมบัติ (บก.), ทุนนิยมจีนในอุษาคเนย์, (เชียงใหม่: ศูนย์ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และศูนย์จีน-อุษาคเนย์ศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2562).
ภาษาจีน
• 中华人民共和国商务部,对外投资合作国别(地区)指南:东 盟(2020年版), (กระทรวงพาณิชย์สาธารณรัฐประชาชนจีน, คู่มือการลงทุนและความร่วมมือในต่างประเทศ: อาเซียน ฉบับปี 2020), http://www.mofcom.gov.cn/dl/gbdqzn/upload/dongmeng.pdf, (สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2564).
• 代帆,“东南亚的中国新移民及其影响,” 东南亚研究,第2期,(2011)。 [ไต้ฟาน, “แรงงานจีนอพยพใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และผลกระทบ,” วารสารวิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ฉบับที่ 2 (2011).]
• 国家发展改革委、外交部、商务部,“推动共建丝绸之路经济带和21世纪海上丝绸之路的愿景与行动”, 财新传媒编辑部(编),一带一路引领中国:国家顶层战略设计与行动布局,(北京:中国文史出版社,2015). [คณะกรรมการปฏิรูปและพัฒนาแห่งชาติจีน, กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงพาณิชย์จีน, “ความปรารถนาและปฏิบัติการร่วมผลักดันสร้างแถบเศรษฐกิจบนเส้นทางสายไหมและเส้นทางสายไหมทางทะเลในศตวรรษที่ 21” ไฉซินฉวนเหมย (บก.), หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางนำทางจีน: การออกแบบยุทธศาตร์ระดับบนและการวางแผนปฏิบัติการระดับชาติ, (ปักกิ่ง: สำนักพิมพ์จงกั๋วเหวินสื่อ, 2015).]
• 庄国土,“论中国人移民东南亚的四次大潮,” 南洋问题研究, 第1 期,(2008)。[จวงกั๋วถู่, “อภิปรายการอพยพของชาวจีนโพ้นทะเลใหม่สู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระลอกที่ 4,” วารสารวิจัยปัญหาหนันหยาง, ฉบับที่ 1 (2008).]