วารสาร “รัฐศาสตร์นิเทศ” ฉบับแรกของ พ.ศ. 2565 ถือว่าจัดพิมพ์ออกมาในห้วงเวลาที่ดูปั่นป่วนและยุ่งยากยิ่งนักปีนี้เริ่มต้นมาพร้อมกับความหวัง ของใครหลายคนว่า สถานการณ์โดยรวมของโลก (และของประเทศไทย) คงปรับตัวดีขึ้นบ้าง สืบเนื่่องจากการควบคุมโรคระบาดด้วยวัคซีนที่น่าจะเริ่มเห็นผลเต็มที่ซึ่งย่อมส่งผลบวกต่อเรื่่องเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิตของผู้คนด้วย ไม่ว่าระดับใดอย่างไรก็ดี ผ่านมาแค่เพียงไม่ถึง 2 เดือนก็เกิดวิกฤติระลอกใหม่ นั่นคือการบุุกยููเครนของกองทัพรัสเซีย สิ่งที่่ติดตามมาคือความทุกข์ยากในทาง เศรษฐกิจของผู้คนทั่วโลก โดยเฉพาะที่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน แน่นอนว่า ความทุกข์ยากนีมิอาจเทียบได้กับชะตากรรมที่ชาวยูเครนต้องเผชิญ และก็เป็นความทุกข์ยากที่ทับถมลงบนความลำบากที่ดำรงอยู่มาเกือบจะครบ 2 ปีครึ่งแล้วนับตั้งแต่่การเริ่มต้นของโรคระบาดโควิด-19 สำหรับวารสาร “รัฐศาสตร์นิเทศ” ในฐานะสิ่งพิมพ์ทางวิชาการคงไม่สามารถทำอะไรมากไปกว่าแค่การร่วม คาดหวังไปกับใครอีกหลายคนว่าช่วงครึ่งหลังของปีนี้สถานการณ์ทุกด้านจะทุเลาความเลวร้ายลงไม่มากก็น้อย

          สำหรับเนื้อหาในเล่มทางวารสารยังคงมีบทความ 4 ชิ้นมานำเสนอท่่านผู้อ่านเช่นเดิม โดยประเด็นที่่จับนั้นค่อนข้างหลากหลาย คือ มีไล่ตั้งแต่เรื่องรัฐธรรมนูญ เรื่องทุนและแรงงานข้ามชาติ เรื่องการบริหารงบประมาณ ไปจนถึงเรื่่องการเมืองระดับโลก อนึ่ง สมควรกล่าวด้วยว่าเพื่อเป็นการยกระดับคุุณภาพทางวารสารกำลังจะปรับระบบการประเมินบทความจากเดิมที่ใช้ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่านเป็น 3 ท่าน ทางวารสารเชื่อว่าแม้ก่อให้เกิดต้นทุนเพิ่มเติมการปรับนี้จะช่วยให้กระบวนการพิจารณาผลงานแต่ละชิ้นมีความเข้มข้นและความถี่ถ้วนยิ่งขึ้น โดยไม่กระทบต่อระยะเวลาดำเนินการแต่อย่างใด

          สุดท้ายทางวารสารหวังว่าจะได้รับความอนุเคราะห์จากท่านผู้อ่านตลอดจนท่านผู้เขียนต่อไปในอนาคต

 

กองบรรณาธิการ

วารสารรัฐศาสตร์นิเทศ

หมายเหตุ: สำหรับผู้ที่สนใจบทความฉบับเต็มสามารถติดต่อขอซื้อได้ที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) ชั้น 2

เผยแพร่แล้ว: 09-06-2022