พหุวัฒนธรรมกับนโยบายด้านพลเมืองของ รัฐบาลมาเลเซีย กรณีศึกษากลุ่มคนมาเลเซีย เชื้อสายไทย (โอรังเซียม)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิหลังประวัติความเป็นมาของกลุ่มคนมาเลเซียเชื้อสายไทยในประเทศมาเลเซียและเพื่อศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการของรัฐบาลมาเลเซียภายใต้ แนวทางพหุวัฒนธรรม กรณีกลุ่มคนมาเลเซียเชื้อสายไทย (โอรังเซียม) โดยใช้วิธีการศึกษาจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ จากตำราเรียน เอกสาร บทความวิชาการ รวมไปถึงข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต พร้อมทั้งนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผลการศึกษา โดยจากการศึกษาพบว่า ความเป็นมาของกลุ่มคนมาเลเซียเชื้อสายไทย(โอรังเซียม) มีความเกี่ยวข้องกับประวัติด้านความสัมพันธ์ระหว่างรัฐในสมัยอดีต โดยมีการอพยพเพื่อเป็นกำลังพลในการปกป้องประเทศ และช่วงสมัยชาติอาณานิคมอังกฤษเข้ามามีอำนาจเพื่อแสวงหาดินแดนในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงเกิดความสนใจในดินแดนคาบสมุทรมลายู ด้วยปัจจัยทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญ และด้วยทรัพยากรธรรมที่อุดมสมบูรณ์ในพื้นที่จำนวนมาก จึงใช้วิธีการเจรจากับผู้มีอำนาจหรือผู้ปกครองรัฐในสมัยนั้น เมื่ออังกฤษเข้ามาปกครองจึงใช้วิธีการแบ่งเขตแบบรัฐสมัยใหม่ และช่วงที่อังกฤษได้คืนเอกราชให้กับมาเลเซีย จึงเกิดปัญหาชนกลุ่มน้อยจำนวนมากในประเทศ รวมไปถึงกลุ่มคนมาเลเซียเชื้อสายไทยดังนั้น รัฐบาลมาเลเซียจึงจำเป็นต้องใช้แนวทางในบริหารการจัดการเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นภายในประเทศ พร้อมทั้งเป็นรูปแบบการสร้างความร่วมมือของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในการพัฒนาประเทศประเทศมาเลเซียภายใต้วิสัยทัศน์ที่ได้มีการวางเป้าหมายเอาไว้ได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
สุขุม ไพรัชการ, ภาคใต้ของไทยหรือของมาเลเซียหรือมาเลเซีย ?, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ปะการัง, 2522), 19 – 22.
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, “ฐานข้อมูล–วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” (เว็บไซต์)https://www.sac.or.thdatabases/southeastasia/subject.php?c_id=5&/sj_id=45&fbclid=wAR3Todxs63rIdD3TqVaYDHai2IDZvzugxbzikMY7lRWQMK-qf0NyO-lVXkc (สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2565).
สุชาดา ทวีสิทธิ์ มาลี สันภูวรรณ์ และศุทธิดา ชวนวัน, ประชากรสังคมในอาเซียน : ความ ท้าทาย และโอกาส, (นครปฐม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560). พรชัย ลิขิตธรรมโรจน์ และอภิวัฒน์ สมาธิ, “นโยบายภูมิบุตราของมาเลเซียกับสิทธิชาวสยามในรัฐเคดาห์และรัฐกลันตัน,” วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์, ปีที่ 38, ฉบับที่ 5 (กรกฏาคม – ธันวาคม 2564), 41 – 46.
พรชัย นาคสีทอง และอนินทร์ พุฒิโชติ. คนไทยในรัฐเคดาห์ (ไทรบุรี) : ศึกษาการดำรงอยู่ในมิติประวัติศาสตร์ (พ.ศ. 2452 - 2550), (กรุงเทพ ฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2552), 19 – 22.
ฐนยศ โล่ห์พัฒนานนท์, สัมภาษณ์โดยผู้เขียน, 4 เมษายน 2565.
ฐนพงศ์ ลือขจรชัย, “ปัจจัยที่มีผลต่อการตกลงพรมแดนในดินแดนมลายูระหว่างสยามและอังกฤษในสนธิสัญญา ปี ค.ศ. 1909,” วารสารประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์, ปีที่ 5, ฉบับที่ 2 (มกราคม – มิถุนายน 2561), 181 – 182.
สิริอร จุลทรัพย์ และบุญเชิด หนูอิ่ม, “คนสยามในรัฐปะลิส ประเทศมาเลเซีย : ความเป็นมา สถานภาพ และการดำรงอยู่,” วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, ปีที่ 6, ฉบับที่ 10 (2564), 32 – 33.
ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ, ไทยในมาเลเซีย, พิมพ์ครั้งที่ 2, (กรุงเทพมหานคร : เจ้าพระยาระบบการพิมพ์, 2547).
จุฬณี ตันติกุลานนท์, การเมืองเรื่องชาติพันธุ์ในมาเลเซีย : ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับจีนและข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564), 22-23.
“THE RESEARCH OF LEGAL SYSTEM OF MALAYSIA AND LEGAL INFORMATION RELATED TO SOCIETY, CULTURE, POLITICS AND SECURITY IN MALAYSIA,” Office of the council of state of Thailand.,https://lawforasean.krisdika.go.th/ File/files/Final%20Report%20 (Malaysia%20Project)%20-%20English.pdf(accesses 18 April 2022).
บุญรัตน์ รัฐบริรักษ์, “มาเลเซียกับความสำเร็จในการบริหารจัดการพหุสังคมและวัฒนธรรม : บทเรียนต่อจังหวัดชายแดนภาคใต้,” TRF Policy Brief, ปีที่ 3, ฉบับที่ 3 (กรกฏาคม 2555), 2-3.
Keiko Kuroda, “The Siamese in Kedah under nation-state making,” : https:// www.uni-muenster.de/Ethnologie/South_Thai/working_paper/Kuroda_ Kedah. Pdf (accessed 18 April 2022).
James Chin, “The Malaysian Chinese Dilemma: The Never Ending Policy (NEP),” Chinese Southern Diaspora Studies, Vol. 3, (January 2009), 167-182.
Rie Nakamura, “Race or Ethnic Group?" Politics of Race in Malaysia,” Journal of Sociology and Anthropology, Vol. 3 No.8 (August 2015), 389-398.
NerdySeal, “Malaysian siamese community,” NerdySeal, https://nerdyseal. com/malay sian-siamese-community/2021 (accessed 22 April 2022).
Lee Hwok Aun, “Malaysia’s New Economic Policy and the 30% Bumiputera Equity Target : Time for a Revisit and a Reset,” ISEAS - Yusof Ishak Institute, https://www. iseas.edu.sg/wpcontent/uploads/2021/03/ISEAS_Perspective_2021_36.pdf (accessed 28 April 2022).
ทัศนวดี แก้วสนิท, “คนพลัดถิ่น “ไทย” ในมาเลเซียกับการสื่อสารอัตลักษณ์ : ข้อค้นพบจากการทบทวนวรรณกรรม,” วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้าสถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์, ปีที่ 3, ฉบับที่ 1, (2559), 156.
Thatsanawadi Kaeosanit, DYNAMIC CONSTRUCTION OF THE SIAMESE – MALAYSIANS’ ETHNIC IDENTITY, MALAYSIA, (PhD Thesis, National Institute of Development Administration, 2016).