บริบท แนวนโยบาย โครงสร้าง และการพัฒนาบุคลากร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการบริหารเงินทุนหมุนเวียนฯ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

Main Article Content

Sunisa Chorkaew

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบริบทและวิเคราะห์ทิศทางแนวนโยบายผู้บริหารต่อเงินทุนหมุนเวียน   เพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย และเพื่อให้ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาโครงสร้างและการพัฒนาบุคลากรของเงินทุนหมุนเวียน ฯ  ผลการวิจัยพบว่า เงินทุนหมุนเวียน ฯ ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นกลไกสำคัญให้รัฐเข้าไปช่วยเหลือและสนับสนุนทุนการประกอบอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ผู้บริหารมีความคาดหวังให้เงินทุนหมุนเวียน ฯ เป็นที่รู้จักของบุคลากรภายในกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและประชาชนทั่วไป มากขึ้นผ่านการประชาสัมพันธ์ในช่องทางที่หลากหลายและมีการเชื่อมโยงการทำงานกับกองงานอื่น ๆ ภายในกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการช่วยเหลือผู้ประกอบการให้มากขึ้น เช่นเดียวกันกับผลการศึกษาในด้านการพัฒนาบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านเงินทุนหมุนเวียน ฯ ที่ต้องมีความสอดคล้องกับทิศทางและนโยบายการขับเคลื่อนองค์กรที่มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ประกอบการและประชาชน และการเพิ่มขีดความสามารถขององค์กร  ตลอดจนการให้ความสำคัญกับการเพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรเพื่อสร้างมิติใหม่ด้านวัฒนธรรมองค์กรให้มีกิจกรรมส่งเสริมการถ่ายทอดความรู้และเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างส่วนกลางและภูมิภาค

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บริษัท เอฟฟินิตี้ จำกัด, “โครงการจัดทำฐานข้อมูลและแผนพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์รายสาขา,” แผนพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สาขางานฝีมือและหัตถกรรม ปี 2562, (กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน, 2562) 12.

ชื่อภาษาอังกฤษของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คือ Department of Industrial Promotion หรือที่มักเรียกโดยย่อว่า DIProm หรืออาจเรียกเป็นภาษาไทยว่า “ดีพร้อม” เป็นคำที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมใช้เพื่อประชาสัมพันธ์นโยบายและกลไกการส่งเสริมผู้ประกอบการที่ดำเนินการโดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, ระเบียบกระทรวงอุตสาหกรรมว่าด้วยเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย พ.ศ. 2525, (เอกสารอัดสำเนา).

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, ผลการประเมินของเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย ประจำปี พ.ศ. 2561-2563, (เอกสารอัดสำเนา).

ในจำนวนนี้หมายรวมถึงผู้อำนวยการกลุ่มงานเงินทุนหมุนเวียน ฯ แต่ไม่รวมผู้บริหารระดับสูงของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และไม่นับรวมนิติกรที่ปฏิบัติงานในโครงสร้างการบริหารส่วนกลาง

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย ครั้งที่ 3/2563, วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคาร กสอ., (เอกสารอัดสำเนา).

Campion, M. A., Campion, J. E., & Hudson, J. P., Jr., “Structured interviewing: A note on incremental validity and alternative question types,” Journal of Applied Psychology, 79(6), 998–1002. https://doi.org/10.1037/0021-9010.79.6.998

พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2560, ข้อ 3

หลักสูตรที่ระบุในตารางถือเป็นแนวทางในการพัฒนา สามารถปรับเปลี่ยนรายละเอียดของหัวข้อการพัฒนาได้ตามความเหมาะสม

Hala Altamimi, Qiaozhen Liu, Benedict Jimenez, “Not Too Much, Not Too Little: Centralization, Decentralization, and Organizational Change,” Journal of Public Administration Research and Theory, muac016, https://doi.org/10.1093/jopart/muac016

Anwar, G. and Abdullah, N. N., “The Impact of Human Resource Management Practice on Organizational Performance,” International journal of Engineering, Business and Management (IJEBM), Vol 5, Issue1, (Jan-Feb 2021), 35-47.

Hood, C., “A Public Management for All Seasons?,” Public Administration, 69 (1), 3-19.

Prahalad, C. K. and Hamel, G., “The Core Competence of the Corporation,” Harvard Business Review, 68(3), 79–91.

ปรัชญาพร ทองประสิทธิ์, สักรินทร์อยู่ผ่อง และ อัคครัตน์ พูลกระจ่าง, “รูปแบบการพัฒนาทักษะด้านอารมณ์โดยวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับผู้ปฏิบัติงานส่วนหน้าในธุรกิจบริการ,” วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม พ.ศ. 2563), 102-106.

Boyatzis A. R., “The Competent Manager: A Model for Effective Performance,” New York: J. Wiley, January (1982), 20–21.

Noe, Raymond A., Employee Training and Development, (New York: McGraw Hill, 2007).

Stewart, G. and Brown, K., Human Resource Management: Linking Strategy to Practice, (MA: Wiley & Sons. Inc., 2008).

Grubert, T., Steuber, J. & Meynhardt, T., “Engagement at a higher level: The effects of public value on employee engagement, the organization, and society,” Curr Psychol, (May 2022), https://doi.org/10.1007/s12144-022-03076-0