ภูมิสถาบันการจัดการน้ำของประเทศไทย: การวิเคราะห์โครงสร้างเชิงสถาบันด้านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภาพรวมเชิงระบบ

Main Article Content

นาอีม แลนิ

บทคัดย่อ

การจัดการน้ำเป็นภาคส่วนมีที่ความเป็นการเมืองและถูกทำให้เป็นการเมือง (politicized) ทั้งด้านการจัดสรรทรัพยากรน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพและเป็นธรรมและจัดการความขัดแย้ง การเมืองยังส่งผลต่อการกำหนดกรอบกติกาการบริหารจัดการน้ำ ทั่วโลกจะพบอุปสรรคการจัดการน้ำที่แยกส่วนโครงสร้างบริหารจัดการโดยภาครัฐ (fragmented sector) ประเทศไทยมีกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำจำนวน 38 ฉบับ สะท้อนถึงหน่วยงานด้านน้ำที่รับผิดชอบและเกี่ยวข้องมีจำนวนมากกว่า 30 หน่วยงาน งานวิจัยนี้มีมุ่งเน้นการศึกษาเพื่อเข้าใจในมิติโครงสร้างเชิงสถาบันด้านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบการบริหารจัดการน้ำของประเทศ ใช้แนวทางการสำรวจโครงสร้างเชิงสถาบันหรือ Institutional review โดยการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ เพื่อทำความเข้าใจกับสภาพเชิงโครงสร้างและระบบอันซับซ้อนในปัจจุบันและเพื่อต่อยอดสู่ข้อเสนอการนำเสนอเชิงนโยบายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างการจัดการน้ำของประเทศ งานวิจัยนี้พบว่าในขณะที่ทิศทางโครงสร้างการบริหารจัดการน้ำทั่วโลกคือเน้นการบูรณาการเชิงพื้นที่เป็นหลัก (area-based integration) หน่วยงานด้านน้ำในประเทศไทยยังเน้นบทบาทเชิงฟังค์ชั่น (functional-based agencies) และอำนาจความรับผิดชอบการจัดการระบบน้ำที่เกี่ยวข้องยังเน้นอยู่ที่อำนาจของกรมมากกว่าพื้นที่ จากการศึกษาพบว่าได้ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการน้ำของไทยคือสามหน่วยงานหลัก บวกหน่วยงานอื่นที่มีบทบาทที่แตกต่างกันแบบกระจาย งานวิจัยนี้เสนอว่าควรเพิ่มบทบาทของนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญในการให้ความหมายและคำนิยามระบบการจัดการน้ำที่ชัดเจนขึ้นและต้องสามารถมองภาพรวมการทำงานร่วมกันมากขึ้นทั้งระดับนโยบายที่มีหลายมิติ ครอบคลุมความเท่าทันวิกฤติที่เผชิญอยู่และแนวโน้มการบริหารจัดการน้ำและความยั่งยืนระดับโลก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

หนังสือ

Nikomborirak, Deunden, Climate Change and Institutional Challenges for Developing Countries: The Case of Water Resource Management in Thailand (Thailand Development Research Institute Foundation, 2016).

OECD, Water governance in cities, (OECD Publishing, 2016).

OECD, Water governance in OECD countries: A multi-level approach, (OECD Publishing, 2011).

OECD, Water Governance in the Netherlands: Fit for the Future?, OECD Studies on Water, (OECD Publishing, 2014).

Pahl-Wostl, Claudia, and Kabat, Pavel , and Möltgen, Jörn, Adaptive and Integrated Water Management, Coping with Complexity and Uncertainty, (Berlin Und Heidelberg, 2008).

Panella, Tom, et al., Asian Water Development Outlook 2020: Advancing Water Security across Asia and the Pacific, (Asian Development Bank, 2020).

SDSN Thailand, SDG Move, and IHPP Thailand, รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย

มุมมองจากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาคส่วน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2565 (ครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย, 2022).

Taberham, Justin, Palgrave Studies in Natural Resource Management, (2019).

ชัยยุทธ ชนิณะราศรี และคณะ, การกําหนดทิศทางของนโยบายและแผนหลักการบริหารจัดการน้ํา ระดับประเทศ และการวิจัยเพื่อลดผลกระทบจากภัยพิบัติ (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี, 2555).

นิรมล สุธรรมกิจ, ชยันต์ ตันติวัสดาการ, และ ชล บุนนาค, ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการเชื่อมโยงความ เท่าเทียมและเป็นธรรมในการจัดสรรน้ำกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ: กรณีลุ่มน้ำภาคกลาง: รายงาน ฉบับสมบูรณ์, (สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, 2017).

มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด, และคณะ, แนวนโยบายการจัดการน้ำสำหรับประเทศไทย เล่ม 1: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์, (สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, 2544).

มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด, และคณะ, แนวนโยบายการจัดการน้ำสำหรับประเทศไทย เล่ม 2: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์, (สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, 2544).

สุจริต คูณธนกุลวงศ์ และคณะ, โครงการวิจัยรายงานการวิเคราะห์สถานการณ์น้ำของประเทศไทย: ทรัพยากรน้ำกับการพัฒนาเศรษฐกิจ: รายงานฉบับสมบูรณ์ Thailand Water Resources Analysis Report: Water Resources with Economic Development, (สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, 2560).

สุจริต คูณธนกุลวงศ์,งานวิจัยเข็มมุ่งด้านการบริหารจัดการน้ำ ระยะที่ 1. หน่วยปฏิบัติการวิจัยระบบการจัดการแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, (คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563).

บทความ

Akhmouch, Aziza, and Clavreul, Delphine, and Peter Glas, "Introducing the OECD Principles on Water Governance," Vol. 43, No. 1 (2018), 5-12.

Ostrom, Elinor, "Coping with Tragedies of the Commons," Annual review of political science, Vol. 2, No. 1 (1999), 493-535.

Paavola, Jouni, "Institutions and Environmental Governance: A Reconceptualization," Ecological economics, Vol. 63, No. 1 (2007), 93-103.

ออนไลน์

OECD, Implementing the OECD Principles on Water Governance (2018), https://www.oecd- ilibrary.org/content/publication/9789264292659-en.

OECD, Water governance in Asia-Pacific, (2021), https://doi.org/10.1787/b57c5673-en

The World Bank Group and the Asian Development Bank, Climate Risk Country Profile: Thailand (2021) (2021), https://openknowledge.worldbank.org/bitstream/handle/10986/36368/Thailand-Climate- Risk-Country-Profile.pdf?sequence=1&isAllowed=y.