“ทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพ” (Health in All Policies: HiAP) และการทำให้เป็นรูปธรรมผ่านพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550

Main Article Content

ธีรพัฒน์ อังศุชวาล
จอมขวัญ โยธาสมุทร
คนางค์ คันธมธุรพจน์
ศรวณีย์ อวนศรี
อารยา ญาณพิบูลย์

บทคัดย่อ

แนวคิด “ทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพ” หรือ Health in All Policies (HiAP) ได้ถูกกล่าวถึงในฐานะแนวคิดและหลักการสำคัญของการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพทั่วโลก บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าแนวคิด HiAP ปรากฏเป็นรูปธรรมในประเทศไทยได้อย่างไร และการปรากฏเป็นรูปธรรมนั้นส่งผลต่อการขับเคลื่อนแนวคิดผ่านกลไกนโยบายในลักษณะใด


การศึกษานี้ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องจำนวน 44 คน โดยเก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม พ.ศ. 2565 การศึกษานี้วิเคราะห์ข้อมูลบนฐานของการวิเคราะห์แก่นสาระเพื่อค้นหาประเด็นและเรื่องราวที่สำคัญเกี่ยวกับแนวคิด HiAP ในกลไกนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพในประเทศไทย


ผลการศึกษา พบว่าแนวคิด HiAP ปรากฏขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมผ่านการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550” ผ่านกลไกขับเคลื่อนใน 3 ลักษณะสำคัญ ได้แก่ (1) การปรับเปลี่ยนนิยามสุขภาพใหม่ ผ่านการขยายนิยามสุขภาพในหมวดสิทธิและการมีธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพสุขภาพแห่งชาติ (2) การมีส่วนร่วมของสาธารณะ ผ่านกลไกเด่นที่ เช่น สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ และการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ และ (3) ความร่วมมือแบบข้ามภาคส่วน โดยรูปธรรมปรากฏอย่างเด่นชัดในเรื่องคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติที่เชื่อมตัวแทนผู้กำหนดนโยบายจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งในและนอกประเด็นสุขภาพอันทำให้นโยบายที่ตัดสินใจมีความชอบธรรมและสอดคล้องกับทิศทางของสังคม นอกจากนี้ การขับเคลื่อนแนวคิด HiAP ผ่านพระราชบัญญัติฯ ปรากฏความท้าทายในเรื่องการพัฒนากระบวนการและรูปแบบในการสื่อสารนิยามสุขภาพใหม่ การสร้างการมีส่วนร่วมมีความหมายมากยิ่งขึ้น และการประสานพลังเชิงนโยบายและสร้างผลกระทบควบคู่กัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

หนังสือ

G. B. Peters, “Meta-governance and public management,” in S. P. Osborne (ed.), The New Public Governance? Emerging Perspectives on the Theory and Practice of Public Governance, (London: Routledge, 2010), 52-67.

G. Dahlgren, and M. Whitehead, Policies and Strategies to Promote Social Equity in Health, (Stockholm: Stockholm Institute for Further Studies, 1991).

G. Hofstede, “Empirical models of cultural differences,” in N. Bleichrodt, and P. J. D. Drenth (eds.), Contemporary Issues in Cross-cultural Psychology, (Amsterdam: Swets & Zeitlinger, 1991), 4-20.

Government of South Australia, and World Health Organization, Progressing the Sustainable Development Goals through Health in All Policies: Case studies from around the world, (Adelaide: Government of South Australia, 2017).

J. L. Creighton, The Public Participation Handbook: Making Better Decisions through Citizen Involvement, (San Francisco: Jossey-Bass, 2005).

J. Naidoo, and J. Wills, Foundations for Health Promotion (4th ed), (London: Elsevier, 2016).

K. Leppo, E. Ollila, S. Peña, M. Wismarand S. Cook (eds.), Health in All Policies: Seizing opportunities, implementing policies, (Helsinki: Ministry of Social Affairs and Health, Finland, 2013).

K. Leppo, E. Ollila, S. Peña, M. Wismarand S. Cook, Health in All Policies, Cited; P. Cairney, E. S. Denny, H. Mitchell, “How Can Policy Theory Help to Address the Expectations Gap in Preventive Public Health and ‘Health in All Policies’?,” in P. Fafard, A. Cassola, and E. de Leeuw (eds.), Integrating Science and Politics for Public Health, (Cham: Palgrave Macmillan, 2022), 239-265.

L. Meuleman, Public Management and the Metagovernance of Hierarchies, Networks and Markets: The Feasibility of Designing and Managing Governance Style Combinations, (Heidelberg: Springer, 2008).

M. Marmot (ed.), Fair Society Healthy Lives, (London: The Marmot Review, 2010).

N. Mathurapote, T. Posayanonda, S. Pitakkamonporn, W. Saengtim, K. Sae-iew, and W. Putthasri, “Thailand’s National Health Assembly – a means to Health in All Policies,” in V. Lin, and I. Kickbusch (eds.), Progressing the Sustainable Development Goals through Health in All Policies: Case studies from around the world, (Geneva: World Health Organization, 2017), 52-50.

National Health Commission Office, NHCO Master Plan No.3 (edition) (2020-2022), (Nonthaburi: National Health Commission Office, 2019).

T. Ungsuchaval, NGOs and Civil Society in Thailand: Metagovernance and the Politics of NGO Funding, (London: Routledge, 2023).

W. Phoolcharoen, Quantum Leap: The Reform of Thailand’s Health System, (Nonthaburi, Health Systems Research Institute, 2004).

World Health Organization, Closing the Gap in a Generation: Health Equity Through Action on the Social Determinants of Health, (Geneva: WHO, 2008).

World Health Organization, Health in All Policies (HiAP) Framework for Country Action, (Geneva: WHO, 2014).

World Health Organization, Milestones in Health Promotion: Statements from Global Conferences, (Geneva: WHO, 2009).

World Health Organization, The Kingdom of Thailand Health System Review, (WHO Regional Office for the Western Pacific, 2015).

เพ็ญแข ลาภยิ่ง, เสกสรรค์ พวกอินแสง และ กันยา บุญธรรม, การประเมินกระบวนการนำมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติไปสู่การปฏิบัติระยะที่ 2: กรณีศึกษา 6 มติ, (นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2556).

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, วิบูลย์ วัฒนนามกุล, ฉันทนา ผดุงทศ, สุธีร์ รัตนะมงคลกุล, มธุรส ศิริสถิตกุล และ คณะ, ปฏิรูปสุขภาพ ปฏิรูปประชาธิปไตย: นโยบายสาธารณะ การมีส่วนร่วม กับประชาธิปไตยแบบร่วมไตร่ตรอง, (นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ, 2558).

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, การสาธารณสุขไทย 2559-2560, (นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข, 2562).

ธีรพัฒน์ อังศุชวาล และ คณะ, รายงานผลการศึกษาทบทวนแนวคิดการมีส่วนร่วมและการจัด “กลุ่มเครือข่าย” ในกระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ, (นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ, 2564).

ธีรพัฒน์ อังศุชวาล, Governance 101: ความหมายและรูปแบบที่หลากหลาย (พิมพ์ครั้งที่ 2), (กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์, 2566).

ประเวศ วะสี, พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ: เครื่องมือการสร้างสังคมสมานฉันท์, (นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ, 2550).

พัชรี สิโรรส, พลวัตนโยบายสาธารณะ: จากรัฐ เอกชน สู่ประชาชน, (กรุงเทพฯ: คบไฟ, 2556).

ภานุเบศร์ มหาเรือนขวัญ, การขับเคลื่อนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ รากฐานการจัดวางอิฐก้อนแรกของระบบสุขภาพพึงประสงค์, (นนทบุรี: บริษัท มาตา จำกัด, 2557).

ลือชัย ศรีเงินยวง และ คณะ, รายงานงานวิจัยโครงการวิจัยการประเมินผลการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม โดยสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6,7 (2556-2557), (นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ, 2557).

วรัญญู เสนาสุ, เส้นทางกฎหมายสุขภาพแห่งชาติ: จากรัฐบาลทักษิณถึงรัฐบาลสุรยุทธ์, (วิทยานิพนธ์, คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2559).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม: เทคนิควิธีและการนำไปสู่การปฏิบัติ, (กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, 2560).

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ, หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2563-2564, (นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ, 2563).

สุภาภรณ์ สงค์ประชา และ กฤษณ์ รักชาติเจริญ, การศึกษาการมีส่วนร่วมของกลุ่มเครือข่ายในกระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ, (นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ, 2557).

อำพล จินดาวัฒนะ (บก.), หนึ่งปีปฏิรูป: หนึ่งปีแรกของการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ, (นนทบุรี: สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ, 2545).

บทความ

A. Mukhopadhyay, and N. Kaur, “Redefining health promotion to reach the unreached: opportunities for transformative change in South and South-East Asia,” Global Health Promotion, Vol. 28, No. 4 (2021), 104-108.

C. Bambra, D. Fox, and A. Scott-Samuel, “Towards a Politics of Health,” Health Promotion International, Vol. 20, No. 2 (2005), 187-193.

D. Rajan, N. Mathurapote, W. Putthasri, T. Posayanonda, P. Pinprateep, S. de Courcelles, R. Bichon, E. Ros, A. Delobre, and G. Schmets, “Institutionalising participatory health governance: Lessons from nine years of the National Health Assembly model in Thailand,” BMJ Global Health, Vol. 4 (2019), e001769.

E. Garmendia, and S. Stagl, “Public participation for sustainability and social learning: Concepts and lessons from three case studies in Europe,” Ecological Economics, Vol. 69, No. 8, (2010), 1712-1722.

E. Sørensen, “Metagovernance: The changing role of politicians in processes of democratic governance,” The American Review of Public Administration, Vol. 36, No. 1 (2006), 98-114.

F. Baum, A. Lawless, T. Delany, C. Macdougall, C. Williams, D. Broderick, D. Wildgoose, E. Harris, D. Mcdermott, I. Kickbusch, J. and Popay, M. Marmot, “Evaluation of Health in All Policies: concept, theory and application,” Health Promotion International, Vol. 29, No. suppl_1 (2014), i130–i142.

J. E. Innes, and D. E. Booher, “Reframing public participation: strategies for the 21st century,” Planning Theory and Practice, Vol. 5, No. 4 (2004), 419-436.

J. J. Bos, R. R. Brown, and M. A. Farrelly, “A design framework for creating social learning situations,” Global Environmental Change, Vol. 23, No. 2, (2013), 398-412.

J. M. Bryson, “What to do when stakeholders matter: Stakeholder identification and analysis techniques,” Public Management Review, Vol. 6, No. 1 (2004), 21-53.

K. Kantamaturapoj, C. Chanchitpricha, P. Hongsuwan, P. Suebsing, S. Thaweesuk, and S. Wibulpolprasert, “Contextual attributes associated with public participation in environmental impact assessments in Thailand: Perspectives obtained from authorities and academics,” Heliyon, Vol. 9, No. 11 (2023), e21786.

K. Rasanathan, T. Posayanonda, M. Birmingham, and V. Tangcharoensathien, “Innovation and participation for healthy public policy: The first National Health Assembly in Thailand,” Health Expectations, Vol. 15, No. 1 (2012), 87-96.

K. Shankardass, C. Muntaner, L. Kokkinen, L., F. Vahid Shahidi, A. Freiler, G. Oneka, A. M. Bayoumi, and P. O’Campo, “The implementation of Health in All Policies initiatives: a systems framework for government action,” Health Research Policy and Systems, Vol. 16, No. 26 (2018), https://doi.org/10.1186/s12961-018-0295-z.

M. M. Barry, “Transformative health promotion: what is needed to advance progress?,” Global Health Promotion, Vol. 28, No. 4 (2021), 8-16.

P. Healey, “Institutionalist analysis, communicative planning, and shaping places,” Journal of Planning Education and Research, Vol. 9, No. 2 (1999), 111-121.

R. Brugha, and Z. Varvasovszky, “Stakeholder analysis: a review,” Health Policy and Planning, Vol. 15, No.3 (2000), 239-246.

R. Colvin, G. B. Witt, and J. Lacey, “Power, perspective, and privilege: the challenge of translating stakeholder theory from business management to environmental and natural resource management,” Journal of Environmental Management, Vol. 271, No. 1 (2020), 110974.

S. Van den Broucke, “Implementing health in all policies post Helsinki 2013: why, what, who and how,” Health Promotion International, Vol. 28, No. 3 (2013), 281-284.

T. Gunton, M. Rutherford, and M. Dickinson, “Stakeholder analysis in marine planning,” Environments: A Journal of Interdisciplinary Studies, Vol. 37, No. 3 (2010), 95-110.

T. Ståhl, “Health in All Policies: From rhetoric to implementation and evaluation–the Finnish experience,” Scandinavian Journal of Public Health, Vol. 46, No. 20 (suppl) (2018), 38-46.

V. Luyet, R. Schlaepfer, M. B. Parlange, and A. Buttler, “A framework to implement stakeholder participation in environmental projects,” Journal of Environmental Management, Vol. 111 (2012), 213-219.

Y. Li, “Deliberative policy analysis: towards a methodological orientation,” Policy Studies, Vol. 40, No. 5 (2019), 437-455.

จุฑารัตน์ ชมพันธ์, “การวิเคราะห์หลัก “การมีส่วนร่วมของประชาชน” ใน “The Public Participation Handbook: Making Better Decisions through Citizen Involvement” ในบริบทประเทศไทย,” วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, ปีที่ 8, ฉบับที่ 1 (2555), 123-141.

ธวัชชัย เคหะบาล และ นิตยา เคหะบาล. “การพัฒนาและขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพชุมชนแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษาเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์,” Journal of Roi Kaensarn Academi, ปีที่ 7, ฉบับที่ 3 (2565), 275-292.

ธีรพัฒน์ อังศุชวาล และ คนางค์ คันธมธุรพจน์, “การพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม: การทบทวนกรอบคิดเบื้องต้น,” รัฐศาสตร์นิเทศ, ปีที่ 7, ฉบับที่ 2 (2564), 37-76.

ธีรพัฒน์ อังศุชวาล และ สุภาภรณ์ สงค์ประชา, “กำเนิดและพัฒนาการของสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่: กลไกการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมระดับพื้นที่,” วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, ปีที่ 18, ฉบับที่ 2 (2565), 197-230.

ธีรพัฒน์ อังศุชวาล, “การสร้างเสริมสุขภาพในฐานะ ‘อภิมหานโยบาย’ ของรัฐ,” The101.World (เว็บไซต์), https://www.the101.world/health-promotion-as-meta-policy/ (สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2566).

วิชัย โชควิวัฒน, “การศึกษาว่าด้วยมิติทั้ง 4 ของสุขภาพ,” วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, ปีที่ 3, ฉบับที่ 3 (2552), 323-335.

วิรุฬ ลิ้มสวาท, “การอภิบาลระบบสุขภาพแห่งชาติของประเทศไทยหลังการประกาศใช้ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550: กรอบแนวคิด พัฒนาการ และข้อเสนอเพื่อการพัฒนา,” วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, ปีที่ 3, ฉบับที่ 3 (2552), 419-433.

สัมภาษณ์

กรรมการ คสช. (ผู้ทรงคุณวุฒิ), สัมภาษณ์โดยผู้วิจัย, 5 พฤษภาคม 2565.

กรรมการ คสช. (ผู้แทนองค์กรภาคเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร), สัมภาษณ์โดยผู้วิจัย, 2 พฤษภาคม 2565.

กรรมการ คสช. (ผู้แทนองค์กรวิชาชีพด้านสาธารณสุข), สัมภาษณ์โดยผู้วิจัย, 6 มิถุนายน 2565.

คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ, สัมภาษณ์โดยผู้วิจัย, 26 พฤษภาคม 2565.

คณะกรรมการบริหาร สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ, สัมภาษณ์โดยผู้วิจัย, 10 พฤษภาคม 2565.

คณะกรรมการสมัชชาสุขภาพจังหวัด, สัมภาษณ์โดยผู้วิจัย, 29 พฤษภาคม 2565.

คณะกรรมการสมัชชาสุขภาพจังหวัด, สัมภาษณ์โดยผู้วิจัย, 31 พฤษภาคม 2565.

ผู้บริหาร สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ, สัมภาษณ์โดยผู้วิจัย, 26 พฤษภาคม 2565.