Study of Factors for Making Decision to have Further Education of High Vocational Certificate students in the Faculty of Engineering
Keywords:
ปัจจัยในการตัดสินใจศึกษาต่อ, ปริญญาตรี, คณะวิศวกรรมศาสตร์Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยในการตัดสินใจศึกษาต่อของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ในงานวิจัย คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ สาขาช่างกลโรงงาน สาขาช่างโลหะ สาขาช่างยนต์ สาขาไฟฟ้ากําลัง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มีจํานวนทั้งสิ้น 220 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งแบ่งเป็น 3 ตอน ตอนแรกเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว แบบสอบถาม ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยในการตัดสินใจศึกษาต่อของผู้ตอบแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของ แบบสอบถามเท่ากับ 0.86 ตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อเสนอแนะและปัจจัยอื่น ๆ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ มีปัจจัยในการตัดสินใจศึกษาต่ออยู่ในระดับมาก คือ ด้านชื่อเสียงของสถาบัน (X= 4.27, SD = 0.45) ด้านอาจารย์ผู้สอน (X = 4.24, SD = 0.48) ด้านเหตุผลส่วนตัว (X= 4.01, SD = 0.47) ด้านหลักสูตรหรือสาขาวิชา (X = 3.89, SD = 0.51) ส่วนปัจจัยด้านค่าใช้จ่าย (X = 3.46, SD = 0.79) ด้านอาคารสถานที่และสิ่งอํานวย ความสะดวก (X= 3.40, SD = 0.63) และด้านอิทธิพลการชักจูงจากบุคคลหรือสื่อ (X = 3.08, SD = 0.89) อยู่ใน ระดับปานกลาง
References
ธนกฤต ยืนยงเดชา. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนศึกษาต่อระดับอุดมศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นอันดับหนึ่งของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอำาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.
พรพรรณ ยาใจ. (2550). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจของนักศึกษาต่างชาติในการเข้ามาเป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนใน ประเทศไทย กรณี
ศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
เมธาวี สุขปาน. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) ของนักเรียน กรณีศึกษาวิทยาลัยพณิชยการธนบุรี. เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
ศศิวิมล แสนเมือง. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตั้งใจเลือกมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีของนักเรียนที่มีผลการเรียนดีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. นครราชสีมา.สำานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2548)แนวทางการจัดทำาหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช2544. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
Kast, F.E. and Rosenzweig, J.E. (1985) Organizationand Management: A System and ContingencyApproach. 4th Edition. New York: McGraw Hill.
Ebert, Ronald & Micheal, Terrence. (1975). OrganizationDecision Process. New York: Crane Russal.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความวิจัยนี้เป็นของลิขสิทธิ์