แนวทางการสร้างความร่วมมือในการทำงานด้านการขนส่งสินค้าทางเรือลำเลียงขององค์การธุรกิจโลจิสติกส์ไทยภายในประเทศ

Authors

  • สิทธิพัน จรัสสมบูรณ์กุล สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนเชิงยุทธ์ศาสตร์ คณะนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

Keywords:

ความร่วมมือในการทำงาน, ขนส่งสินค้าทางเรือลำเลียง, องค์การธุรกิจโลจิสติกส์, Collaboration, Lighter transportation, Logistics organizations

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยด้านการสื่อสารในการทำงาน ปัจจัยความไว้วางใจในการทำงาน และปัจจัยพันธะผูกพันในการทำงาน มีผลต่อแนวทางการสร้างความร่วมมือในการทางานด้านการขนส่งสินค้าทางเรือลำเลียงขององค์การธุรกิจโลจิสติกส์ไทยภายในประเทศ โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ระดับผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้างาน และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน เป็นจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 230 ตัวอย่าง ซึ่งผู้วิจัยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เชิงสถิติในการวิเคราะห์ หาค่าความสอดคล้อง ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเส้นตรงถดถอยพหุคูณเพื่อหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม

ผลจากการตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็น แล้วนำเอาข้อมูลมาวิเคราะห์ตัวแปร พบว่า ปัจจัยพันธะผูกพันในการทำงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุดที่ 3.952 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีค่าเท่ากับ .52537 รองลงมา ปัจจัยการสื่อสารในการทำงาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.921 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีค่าเท่ากับ .62051 และปัจจัยความไว้วางใจในการทำงาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.892 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีค่าเท่ากับ .57976 ตามลำดับ

ผลจากการทดสอบสมมติฐานที่ 1 และ 2 พบว่า ปัจจัยการสื่อสารในการทำงาน ปัจจัยความไว้วางใจในการทำงาน และปัจจัยพันธะผูกพันในการทำงาน มีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงในทางบวกต่อความร่วมมือในการทำงานด้านการปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา และความรับผิดชอบต่อสินค้าสูญหายในขณะปฏิบัติงาน ที่ระดับ .05 อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ 3

 

Guidelines for Collaboration in Lighter Transportation of Thai Domestic Logistics Organizations

This research aims to investigate three types of logistic operation factors: communication, trust, and commitment that influence collaboration in lighter transportation of logistic businesses in Thailand. The sample group consisted of four levels of 230 participants: executives, managers, supervisors and operation staffs. Data were analyzed with statistical computer program to find IOC, means, and standard deviation. Multiple linear regression analysis was adopted to find the relationship between independent and dependent variables.

Data obtained from questionnaires were analyzed and results showed that commitment factors had the highest mean of 3.952, with standard deviation of .52537, followed by communication with the means of 3.921 and standard deviation of .2051. Trust factor, lastly, had the mean and standard deviation of 3.982 and .57976, respectively.

When the first and second hypotheses were tested, it was found that communication, trust and commitment factors had a positive linear relationship with manager compliance and responsibility of lost goods, at statistically significant level of .05.

Downloads

How to Cite

จรัสสมบูรณ์กุล ส. (2017). แนวทางการสร้างความร่วมมือในการทำงานด้านการขนส่งสินค้าทางเรือลำเลียงขององค์การธุรกิจโลจิสติกส์ไทยภายในประเทศ. RMUTL Journal of Business Administration and Liberal Arts, 3(2), 63–71. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/balajhss/article/view/75248