สิทธิในแสงสว่างของประเทศอังกฤษ

Authors

  • ปีดิเทพ อยู่ยืนยง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

สิทธิในแสงสว่าง, สิทธิในการใช้ทรัพย์สิน, กฎหมายควบคุมอาคาร, ประกันภัย, กฎหมายอังกฤษ, Right to light, Easement, Construction Law, Insurance, English Law

Abstract

บทความวิชาการฉบับนี้กล่าวถึง สิทธิในแสงสว่างของประเทศอังกฤษเกิดขึ้นมาจากปัญหาทางสถาปัตยกรรม วิศวกรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระดับความส่องสว่างในบริเวณพื้นที่อาคาร สิทธิในแสงสว่าง ได้แก่ สิทธิของเจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองสิ่งปลูกสร้างที่จะได้รับแสงธรรมชาติส่องเข้ามาในอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างของตน ในประเทศอังกฤษ หลักการสำคัญของสิทธิในแสงสว่างได้ถูกวางหลักเกณฑ์เอาไว้ในคำพิพากษา HKRUK II (CHC) Ltd v Marcus Alexander Heaney [2010] และกฎหมาย Prescription Act 1832 ความตระหนักในสิทธิดังกล่าวได้กลายมาเป็นประเด็นวิพากษาวิจารณ์อย่างกว้างขวางถึงความท้าทายในการปฏิรูปหลักเกณฑ์ในการควบคุมอาคารและกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งการออกแบบอาคารสูงจาต้องตระหนักว่าอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่กำลังก่อสร้างอยู่ต้องไม่บดบังทิศทางการส่องของแสงธรรมชาติมายังอาคารหรือทรัพย์สินของเพื่อนบ้าน ดังนั้น ความรู้เกี่ยวกับหลักกฎหมายว่าด้วยสิทธิในแสงสว่างของประเทศอังกฤษและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมก็อาจเป็นส่วนสนับสนุนให้มีการออกแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างที่ดีในอนาคต

 

Rights to Light in England

Right to light in England generally refers to various architectural, engineering and legal problems related to the light levels or illuminance required by the tasks performed within each building area. It is an easement that gives a landowner the right to receive natural light through defined apertures in buildings on his or her land. In England the key concept of a right to light has been enumerated in English law which include both case and statutory laws, for example, the rules on HKRUK II (CHC) Ltd v Marcus Alexander Heaney [2010] EWHC 2245 (Ch) and the Prescription Act 1832. The awareness of right to light in England becomes a flashpoint in the debate in the broader challenge of reforming the construction requirements and insurance policy. It also refers to the idea that the design and construction of tall multistory building must adhere to the architectural and engineering standards for conduct of the professional responsibilities. The knowledge of legal aspects of right to light in England and regulatory frameworks affecting architectural and engineering professionals will constitute good building environment design in the future.

Downloads

How to Cite

อยู่ยืนยง ป. (2017). สิทธิในแสงสว่างของประเทศอังกฤษ. RMUTL Journal of Business Administration and Liberal Arts, 4(1), 120–130. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/balajhss/article/view/75450