การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างผู้นำชุมชนเพื่อพัฒนาศักยภาพในการบริหาร ชุมชนเข้มแข็ง

Authors

  • ธีระวัฒน์ จันทึก สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี
  • จิรวัธ ศิริศักดิ์สมบูรณ์ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี
  • กนกอร เนตรชู สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี

Keywords:

โมเดลสมการโครงสร้าง, ผู้นำชุมชน, การบริหารชุมชน, structural equation modeling, community leaders, community management

Abstract

การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างผู้นำชุมชนเพื่อพัฒนาศักยภาพในการบริหารชุมชนเข้มแข็ง ตำบลศาลายา จังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลสมการโครงสร้างผู้นำชุมชนเพื่อพัฒนาศักยภาพในการบริหารชุมชนเข้มแข็ง ตำบลศาลายา จังหวัดนครปฐมที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และศึกษาน้ำหนักของอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อการพัฒนาศักยภาพในการบริหารชุมชนเข้มแข็ง ตำบลศาลายา จังหวัดนครปฐมโดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ ประชาชนในจังหวัดนครปฐม จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 280 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับสถิติอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM)

ผลการศึกษาพบว่า ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อผู้นำชุมชนเพื่อพัฒนาศักยภาพในการบริหารชุมชนเข้มแข็ง ตำบลศาลายา จังหวัดนครปฐมในด้านทุนทางสังคมอยู่ในระดับมากที่สุด สำหรับด้านการมีเครือข่าย ด้านภาวะผู้นำ และด้านชุมชนเข้มแข็งอยู่ในระดับมาก หากพิจารณาถึงการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลสมการโครงสร้างผู้นาชุมชนเพื่อพัฒนาศักยภาพในการบริหารชุมชนเข้มแข็ง ตำบลศาลายา จังหวัดนครปฐมที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่ามีความสอดคล้องกัน โดยพิจารณาจากค่าไค-สแควร์ (Chi-Square) มีค่าเท่ากับ 125.47 ที่องศาอิสระ (Degree of Freedom) เท่ากับ 93.86 ระดับความมีนัยสำคัญ (P-Value) เท่ากับ 0.37 ค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อนจากการประมาณค่า (Root Mean Square Error of Approximation, (RMSEA) เท่ากับ 0.000 ค่าไค-สแควร์ (Chi-Square) ต่อองศาอิสระ (Chi-Square df) มีค่าเท่ากับ 1.34 สำหรับการศึกษาน้ำหนักของอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อการพัฒนาศักยภาพในการบริหารชุมชนเข้มแข็ง ตำบลศาลายา จังหวัดนครปฐม พบว่า ภาวะผู้นำ ได้รับอิทธิพลรวมสูงสุด รองลงมาคือทุนทางสังคม และการมีเครือข่าย

 

Analysis Of Structural Equation Model Community’s Leaders To Develop A Strong Community Management In Salaya, Nakhon Pathom

Analysis of structural equation model community’s leaders to develop a strong community management in Salaya, Nakhon Pathom aimed to examine the harmony of structural equation model community leaders to develop a strong community management Salaya, Nakhon Pathom developed with empirical data and studied the weight of direct influence, indirect influence and total influence of causal factors towards the development of strong community management, Salaya, Nakhon Pathom. This research was the quantitative research. The populations were 280 people in Nakhon Pathom province by using stratified random sampling method. The statistics used for data analysis were descriptive statistics included frequency, percentage, average and standard deviation. For statistical inference including structural equation modeling analysis (SEM).

The result found that the opinions of the samples towards community’s leaders to develop a strong community management in Salaya, Nakhon Pathom in terms of social capital was at highest levels. For the network Leadership and the strong community were at high levels. If considering examining the harmony of structural equation model community leaders to develop a strong community management Salaya, Nakhon Pathom developed with empirical data found that they were consistent. Based on the chi-square was 125.47, Degree of Freedom was 93.86, P-Value was 0.37, Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) was 0.000, Chi-Square df was 1.34. For the weight of direct influence, indirect influence and total influence of causal factors towards the development of strong community management, Salaya, Nakhon Pathom found that leadership was highest influenced. The second is social capital and a network.

Downloads

How to Cite

จันทึก ธ., ศิริศักดิ์สมบูรณ์ จ., & เนตรชู ก. (2017). การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างผู้นำชุมชนเพื่อพัฒนาศักยภาพในการบริหาร ชุมชนเข้มแข็ง. RMUTL Journal of Business Administration and Liberal Arts, 4(2), 52–59. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/balajhss/article/view/75498