ปัจจัยเชิงสาเหตุของการบริหารการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย
Keywords:
ปัจจัยเชิงสาเหตุ, บริหาร, ความเข้มแข็งของชุมชน, The causal factors, Management, Strengthen the CommunityAbstract
การศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของการบริหารการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุ และตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างโมเดลโครงสร้างองค์ประกอบการบริหารการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ ประชาชนในภูมิภาคตะวันตก ประกอบด้วย 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดราชบุรี จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดตาก และจังหวัดกาญจนบุรี จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 580 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับสถิติอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์เส้นทาง (Path analysis)
ผลการศึกษาพบว่า ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการบริหารการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในด้านผู้นำ ด้านการรวมกลุ่มกิจกรรม ด้านการบริหารจัดการกลุ่ม ด้านการเรียนรู้และการถ่ายทอด การสร้างเครือข่าย ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากร ด้านการปรับตัว และด้านการสร้างจิตสานึกโดยร่วมอยู่ในระดับมาก สำหรับผลการศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของการบริหารการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย พบว่า ปัจจัยด้านผู้นำส่งผลต่อการบริหารการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนมากที่สุดโดยมีค่าเท่ากับ 0.68 รองลงมา คือ ด้านการสร้างจิตสำนึก มีค่าเท่ากับ 0.63 และด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรส่งผลต่อการบริหารการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนน้อยที่สุด มีค่าเท่ากับ 0.22 ในขณะที่ผลการตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างโมเดลโครงสร้างองค์ประกอบการบริหารการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า มีความสอดคล้องกัน โดยพิจารณาจากค่าไค-สแควร์ (Chi-Square) มีค่าเท่ากับ 95.46 ที่องศาอิสระ (Degree of Freedom) เท่ากับ 113 ระดับความมีนัยสำคัญ (P-Value) เท่ากับ 0.08 ค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อนจากการประมาณค่า (Root Mean Square Error of Approximation, (RMSEA) เท่ากับ 0.000 ค่าไค-สแควร์ (Chi-Square) ต่อองศาอิสระ (Chi-Square df) มีค่าเท่ากับ 0.85
The causal factors of the participation management of the public to strengthen the community in the western region of Thailand
The causal factors of the participation management of the public to strengthen the community in the western region of Thailand aimed to studied causal factors and examine the consistency between structural model the configuration of the participation management of the public to strengthen the community in the western region of Thailand and empirical data. This research was the quantitative research. The population was 580 people in western region include 5 provinces Ratchaburi, Phetchaburi, Tak and Kanchanaburi. By using stratified random sampling method. The statistics used for data analysis were descriptive statistics included frequency, percentage, average and standard deviation. For statistical inference including Path analysis
The result found that the opinions of the samples towards the participation management of the public to strengthen the community in terms of leadership, The integration activities, Management Group, Learning and transfer. Networking, Resource Conservation, The adaptation and the conscious creation were at high levels. For causal factors of the participation management of the public to strengthen the community in the western region of Thailand found that leadership most affected the participation management of the public to strengthen the community equal to 0.68. The second was creating consciousness equal to 0.63. and the conservation of resources least affected the participation management of the public to strengthen the community equal to 0.22. While the examine of the consistency between structural model the configuration of the participation management of the public to strengthen the community in the western region of Thailand and empirical data found that Chi-Square was 95.46, Degree of Freedom was 113, P-Value was 0.08, Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) was 0.000, Chi-Square df was 0.85
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความวิจัยนี้เป็นของลิขสิทธิ์