การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสียงโรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสันมะนะ ตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

Authors

  • อัมพร ไวยโภคา สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราขภัฎเขียงใหม่

DOI:

https://doi.org/10.14456/rcmrj.2013.96131

Keywords:

กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน, โปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ, Risk group of diabetes mellitus, Health behavior development program

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานด้วยกิจกรรม ด้านการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร และการจัดการด้านอารมณ์โดยประยุกต็ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถแห่งตนในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน แล้วเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพก่อนและหลังใช้โปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ซึ่งได้ทำการวิจัยกับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลันมะนะ ตำบลด้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน จำนวน 34 คน ระยะเวลาดำเนินการ 12 สัปดาห์

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ด้านการออกกำลังกาย ด้านการบริโภคอาหาร และการจัดการด้านอารมณ์ ดีกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ส่วนภาวะสุขภาพ ได้แก่ นํ้าหนักร่างกาย ดัชนีมวลกาย และระดับนํ้าตาลในเลือด พบว่า ลดลงมากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05)

Health Behavioral Devopment in Risk Group of Diabetes at Sanmanahealth Promoting Hospital Tambon Tontong Muang District Lumphun Province

This study was semi experiment research. The objective was to study the effectiveness of the development program which applied the Self-efficacy for risk group of diabetes in Sanmana Health Promoting Hospital Tambon Tonthong, Muang District, Lumphun Province. The program contains the behavior of exercise healthy food consumption and emotional management. The study consisted of 34 subject and took 12 weeks.

The results showed that the experimental group had been statistically significant (p-value < 0.05) to improve their health behavior of exercise health food consumption and emotion management were better than before the experiment. And the health status of the experimental group including body weight, body mass index and blood sugar levels were found that statistically significant (p-value < 0.05) shoved lower than before the experiment.

Downloads

How to Cite

ไวยโภคา อ. (2014). การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสียงโรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสันมะนะ ตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. Community and Social Development Journal, 14(1), 81–94. https://doi.org/10.14456/rcmrj.2013.96131

Issue

Section

บทความวิจัย (RESEARCH ARTICLE)