การพัฒนาสื่อดิจิทัล เรื่อง การสอนนวดแผนไทย ของสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเชียงใหม่
DOI:
https://doi.org/10.14456/rcmrj.2018.156124คำสำคัญ:
สื่อดิจิทัล, การสอนนวดแผนไทย, การประเมินผลบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลการใช้สื่อดิจิทัลการสอนนวดแผนไทยของสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเชียงใหม่ จำนวน 71 คน และผู้นวดหรือหมอนวดในสถานบริการนวดแผนไทยในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ สื่อดิจิทัลการสอนนวดแผนไทย และแบบประเมินการใช้สื่อดิจิทัล ข้อมูลวิเคราะห์โดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า สื่อดิจิทัลที่พัฒนาขึ้นเป็นสื่อที่สามารถเปิดใช้งานได้ในทุกอุปกรณ์ ทำให้สามารถศึกษาเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา ทุกระบบ เนื้อหาของการสอนประกอบด้วย 18 หัวข้อ ได้แก่ 1) คำไหว้พระบรมครูแพทย์ชีวกโกมารภัจจ์ 2) คำไหว้ครูของเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรทราธิบดี 3) คำกล่าวบูชาพระบรมครูชีวกโกมารภัจจ์ 4) จริยธรรมของหมอนวดไทย 5) มารยาทของหมอนวดไทย 6) จรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพการนวดไทย 7) ประวัติการนวดไทย 8) การนวดแบบทั่วไป (แบบเชลยศักดิ์) 9) กายวิภาคศาสตร์แบบการแพทย์แผนไทย 10-14) ร่างกายของเรา 15) เส้นประธานสิบ 16) ข้อควรระวังในการนวด 17) การบริหารแบบไทย ท่าฤๅษีดัดตนพื้นฐาน 15 ท่า 18) การนวดไทย : ทำอย่างไรจึงจะปลอดภัยและถูกกฎหมาย โดยสามารถใช้สื่อดิจิทัลการสอนนวดแผนไทยผ่านทางอินเตอร์เน็ต และ QR code การประเมินการใช้สื่อดิจิทัลการสอนนวดแผนไทย พบว่า สื่อดิจิทัลมีประสิทธิภาพด้านเนื้อหาสาระในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.45 เรียงตามลำดับดังนี้ ด้านทักษะที่ได้ ด้านการเรียนรู้ ด้านการใช้งาน ด้านเนื้อหาสาระ และ ด้านความรู้และประโยชน์ที่ได้รับ
References
ศราวุธ บุญคง. 2556. การพัฒนาหนังสือพิมพ์อินไซด์ มจธ.ในรูปแบบสื่อดิจิทัลแมกกาซีนเพื่อการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
โสมนัสสา โสมนัส. 2549. พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในการเลือกใช้บริการนวดแผนไทยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “Community and Social Development Journal” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ Community and Social Development Journal มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และเพื่อให้เผยแพร่บทความได้อย่างเหมาะสมผ่านสื่อสิ่งพิมพ์และอิเล็กทรอนิกส์ ผู้เขียนยังคงถือครองลิขสิทธิ์บทความที่ตีพิมพ์ภายใต้ใบอนุญาต Creative Commons Attribution (CC BY) ซึ่งอนุญาตให้เผยแพร่บทความซ้ำในแหล่งอื่นได้ โดยอ้างอิงต้องอ้งอิงบทความในวารสาร ผู้เขียนต้องรับผิดชอบในการขออนุญาตผลิตซ้ำเนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์จากแหล่งอื่น
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ