รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูในการจัดการเรียนรู้ ด้านสุขอนามัยสำหรับโรงเรียนบนพื้นที่สูง

ผู้แต่ง

  • สายฝน แสนใจพรม ภาควิชาเทคนิคการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

DOI:

https://doi.org/10.14456/rcmrj.2018.156139

คำสำคัญ:

รูปแบบการพัฒนา, สมรรถนะของครูในการจัดการเรียนรู้ด้านสุขอนามัย, โรงเรียนบนพื้นที่สูง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะของครูโรงเรียนบนพื้นที่สูงในการจัดการเรียนรู้ด้านสุขอนามัย 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูโรงเรียนบนพื้นที่สูงในการจัดการเรียนรู้ด้านสุขอนามัย และ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูโรงเรียนบนพื้นที่สูงในการจัดการเรียนรู้ด้านสุขอนามัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความต้องการจำเป็น แบบประเมินคุณภาพของรูปแบบ แบบประเมินสมรรถนะของครู แบบประเมินความพึงพอใจของครู แบบบันทึกผลการประเมินการเรียนรู้ และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จัดลำดับความต้องการจำเป็นด้วยวิธี Priority Needs Index แบบปรับปรุง ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ คือ 1) ครูโรงเรียนบนพื้นที่สูงมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้สุขอนามัย ด้านเจตคติมากที่สุด  รองลงมาคือสมรรถนะด้านทักษะ  และสมรรถนะด้านความรู้ ตามลำดับ 2) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูโรงเรียนบนพื้นที่สูงในการจัดการเรียนรู้ด้านสุขอนามัย มี 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 หลักการพัฒนาครู องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการพัฒนาครู มี 4 ขั้นตอน คือ ปรับกระบวนทัศน์ พัฒนาทบทวนความรู้ ลงมือปฏิบัติแบบมีส่วนร่วม เสริมสร้างกำลังใจ องค์ประกอบที่ 3 การติดตามผล ผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการพัฒนา พบว่า มีคุณภาพด้านความเป็นไปได้ ความเหมาะสม ความถูกต้อง ความครอบคลุม และความเป็นประโยชน์ในระดับมากที่สุด 3) สมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ด้านสุขอนามัยของครูโรงเรียนบนพื้นที่สูงหลังการเข้าร่วมการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา 4) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้มีพฤติกรรมด้านสุขอนามัยผ่านเกณฑ์การประเมินผล และ 5) ผู้ปกครองและชุมชนให้ความร่วมมือและมีทัศคติที่ดีในการจัดการเรียนรู้ด้านสุขอนามัยของครู

References

เกียรติสุดา ศรีสุข. 2552. ระเบียบวิธีวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). เชียงใหม่: ครองช่างพริ้นติ้ง จำกัด.

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. 2552. การพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ภูเขาสูงและ
ถิ่นทุรกันดาร. ม.ป.ท.

จอมพงศ์ มงคลวนิช. 2555. การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชวีพร คชสินธ์. 2559. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะประจำสายงานของครูโรงเรียนบนพื้นที่สูง
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ณัฐริณีย์ พิมเสน. 2553. การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาครูปฐมวัยในการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสุขอนามัยของนักเรียนโรงเรียน ที โอ เอ วิทยา (เทศบาล 1 วัดคำสายทอง) สังกัดเทศบาลเมืองมุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

นิตยา แสงเล็ก. 2547. การสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยชาวเขา. ศูนย์พัฒนาอนามัยบนพื้นที่สูง.
(ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล https://hhdc.anamai.moph.go.th/database/index.php?page=research_
detail.php&idresearch=36 (20 สิงหาคม 2558)

นิภา แย้มวลี. 2561. สมเด็จพระเทพฯ ทรงแนะใช้หัวใจนักปราชญ์จัดการศึกษา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล https://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?
NewsID=42055&Key=hotnews (20 กรกฎาคม 2561)

มานิตย์ แก้วกันธะ, อินทร์ จันทร์เจริญ, จำนง แจ่มจันทรวงษ์, และพรภวิษย์ มนตร์วัชรินทร์. 2558.
การบริหารสถานศึกษาบนพื้นที่สูงที่มีนักเรียนหลายชนเผ่าเรียนรวมกัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังกวัดเชียงราย. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 9(2): 106-114.

สมควร ใจกระจ่าง. 2552. การศึกษาภาวะสุขภาพอนามัยแม่และเด็กและบทบาทครูอาสาด้าน
สุขภาพอนามัยในพื้นที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวง. ศูนย์พัฒนาอนามัยพื้นที่สูง. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล https://advisor.anamai.moph.go.th/download/research
/Research53Hill006.pdf (20 สิงหาคม 2559)

สายฝน แสนใจพรม. 2559. เอกสารประกอบการสอนวิชาการวิจัยทางการศึกษา. เชียงใหม่: คณะ
ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สำเนา หมื่นแจ่ม. 2555. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาบนพื้นที่สูง.
ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาภาวะผู้นำทางการศึกษาและทรัพยากรมนุษย์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สุรพงษ์ แสงสีมุข, จิติมา วรรณศรี, วิทยา จันทร์ศิลา และสำราญ มีแจ้ง. 2557. รูปแบบการพัฒนา
สมรรถนะของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา.
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(2), 119-128.

Kenneth C. Land, Alex C. Michalos & M. Joseph Sirgy. (2012). Handbook of Social
Indicators and Quality of Life Research. (online). Retrieved from
https://books.google.co.th/books?isbn=9400724217 (January 5, 2018)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-19

How to Cite

แสนใจพรม ส. (2018). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูในการจัดการเรียนรู้ ด้านสุขอนามัยสำหรับโรงเรียนบนพื้นที่สูง. Community and Social Development Journal, 19(1), 51–64. https://doi.org/10.14456/rcmrj.2018.156139

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (RESEARCH ARTICLE)