ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้ามือสองของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สินฟ้า ทัพผดุง

DOI:

https://doi.org/10.14456/rcmrj.2018.156245

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, ทัศนคติ, การตัดสินใจซื้อ, เสื้อผ้ามือสอง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของส่วนประสมทางการตลาด ผลกระทบจากแรงจูงใจ อิทธิพลทางสังคมและผลกระทบจากทัศนคติที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้ามือสองของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมายที่เคยเลือกซื้อเสื้อผ้ามือสองในเขตกรุงเทพมหานคร จากการคำนวณกลุ่มเป้าหมายจากสูตร Taro Yamane ได้จำนวน 400 คน โดยการสร้างเครื่องมือจากการทบทวนวรรณกรรม การเก็บข้อมูลทำการสุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบง่ายและการสุ่มแบบกำหนดโควตา ทดสอบสมมติฐานด้วยวิธีการทำ Multiple Regression

          ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ช่วงอายุ 15 – 24 ปี รายได้ต่อเดือนอยู่ที่ 10,000-19,999 บาท ระดับการศึกษาสูงสุดอยู่ที่ต่ำกว่าปริญญาตรี ข้อมูลแรงจูงใจภายนอกในประเด็นส่วนประสมทางการตลาดในภาพรวมอยู่ในระดับมากแรงจูงใจภายนอกประเด็นอิทธิพลทางสังคม พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางแรงจูงใจภายในประเด็นแรงจูงใจทางด้านเหตุผล พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากแรงจูงใจภายในประเด็นแรงจูงใจทางด้านอารมณ์ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางทัศนคติ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางการตัดสินใจซื้อ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า แรงจูงใจภายนอก แรงจูงใจภายในและทัศนคติมีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้ามือสองของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นไปตามสมมติฐาน

References

นันทนา พ้นภัยพาล และ อรชร มณีสงฆ์. (2559). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อผู้บริโภคในการซื้อรองเท้ามือสองในอำเภอเชียงใหม่. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2 (1): 413 – 424.

นิโรธ ทองธรรมชาติ. (2559). วิถีชีวิตและสภาวการณ์ปัจจุบันในสังคมเมือง. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal Silpakorn University. 9 (1): 1669 – 1687.

พวงเพชร ศิริโอด. (2558). ปัจจัยด้านความตั้งใจซื้อที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้ามือสองของผู้บริโภคในตลาดนัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต สำนักวิชาการเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

พิบูล ทีปะปาล. (2545). หลักการตลาดยุคใหม่: ศตวรรษที่ 21. โรงพิมพ์มิตรสัมพันธ์ กราฟฟิค. กรุงเทพมหานคร.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. บริษัท ธรรมสาร จำกัด. กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2559). รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ปี 2559 และแนวโน้มปี 2560. สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. กรุงเทพมหานคร.

Deutsch M. & Gerard H.B. (1955). A study of normative and informational social influences upon individual judgment. The Journal of Abnormal and Social Psychology. 51(3): 629 – 636.

Gagne M. & Deci L. (2005). Self‐determination theory and work motivation. Journal of Organizational Behavior. 4(26): 331 – 362.

Kotler P. & Keller K. (2012). Marketing management. Upper Saddle River, N.J.: Prentice Hall.

Schiffman L. G. & Kanuk L. L. (2007). Consumer Behavior. (9th ed.) Pearson Prentice Hall.

Yamane T. (1967). Taro Statistic : An Introductory Analysis. New York: Harper &row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-20

How to Cite

ทัพผดุง ส. (2018). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้ามือสองของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. Community and Social Development Journal, 19(1), 41–50. https://doi.org/10.14456/rcmrj.2018.156245

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (RESEARCH ARTICLE)