การพัฒนาเครื่องบริหารปอดเพื่อแก้ปัญหาสุขภาวะพร่องของระบบทางเดินหายใจ

ผู้แต่ง

  • นิกร ยาอินตา อาจารย์ประจำ วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • บุศรา โพธิสุข อาจารย์ประจำ วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • บุญญาดา ประภัทรสิริ นักวิจัยอิสระ
  • เมธัส กวินกุล นักวิจัยอิสระ
  • วัชรวลี ยาอินตา นักวิจัยอิสระ
  • วรรณชนก โตวิชา นักวิจัยอิสระ

DOI:

https://doi.org/10.14456/rcmrj.2019.185127

คำสำคัญ:

เครื่องบริหารปอด, สุขภาวะ

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาสุขภาวะพร่องในระบบทางเดินหายใจ สร้างเครื่องบริหารปอด และศึกษาผลการใช้เครื่องบริหารปอดเพื่อแก้ปัญหาสุขภาวะพร่องของระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยมี 2 กลุ่ม คือ อาสาสมัครผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) และอาสาสมัครที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปี ในเขตเทศบาลตำบลท่ากว้าง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ จำนวนประชากรที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 50 ตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุมักพบปัญหาระบบทางเดินหายใจ คือ ความจุของปอดจะลดลง อันเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะปอดแฟบได้ง่าย และยังพบโรคเกี่ยวกับระบบหายใจ คือ โรคหอบหืด วัณโรค โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคถุงลมโป่งพอง ดังนั้น แนวทางที่จะช่วยให้ปอดขยายได้ คือ การบริหารปอดด้วยวิธีการดูดลมเข้าปอดจะทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนมากขึ้น ช่วยให้การหายใจมีประสิทธิภาพมากขึ้น การผลิตเครื่องบริหารปอดแบบ Incentive Spirometer NK1 จึงเป็นการพัฒนาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการช่วยขยายปอด ซึ่งได้ออกแบบตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ และมีการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องบริหารปอด Incentive Spirometer NK1 โดยได้ใช้หลักการแทนที่ลมด้วยน้ำ เพื่อวัดปริมาตรอากาศที่จะเข้าปอด ผลการใช้เครื่องบริหารปอดแบบ Incentive Spirometer NK1 พบว่าไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้ทดสอบแต่อย่างใด แต่ได้ส่งผลดีต่อผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มลดลงหลังการทดสอบร้อยละ 77.27 และในผู้สูงอายุสามารถช่วยเพิ่มปริมาตรอากาศให้แก่ปอดได้ในระดับดี (940 ซีซี) และในระดับดีมาก (1233 ซีซี) กับกลุ่มปกติ

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2560). สถานการณ์และการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศและเสียงของประเทศไทย ปี 2560. กรุงเทพฯ: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

จริยา พรหมสุวรรณ. (2552). การทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับประสิทธิผลการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดต่อการลดอาการหายใจลำบากในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. รายงานวิจัย. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสงขลา.

จันทรา เพ็ชรมาก. (2551). เปรียบเทียบผลของการออกกำลังกายกล้ามเนื้อหายใจโดยใช้เครื่องกระตุ้นหายใจกับยางยืดที่มีตอสมรรถภาพปอด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

จินตนา ประชุมพันธ์. (2561). PM2.5 ฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ กับวิกฤตสุขภาพที่คนไทยจะต้องแลก. THE STANDARD. สืบค้นจาก https://thestandard.co/pm-2-5-environmental - nano-pollutants

ถาวร วาจนศิริ. (2556). การออกแบบและสร้างเครื่องวัดปริมาตรอากาศขณะหายใจแบบดิจิตอล. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ประเสริฐ อัสสันตชัย. (2552). ผู้สูงอายุกับระบบการหายใจ. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.

เมธี จินะโกฏิ และการันต์ พงษ์พานิช. (2561). บทความฟื้นวิชา การเปลี่ยนแปลงของระบบหายใจในผู้สูงอายุและการจัดการทางกายภาพบำบัดทรวงอก. เวชสารแพทย์ทหารบก, 71(4), 279-283.

วนิดา จีนศาสตร์. (2551). มลพิษอากาศและการจัดการคุณภาพอากาศ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมศักดิ์ โล่เลขา. (2560). แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ...ชี้วิกฤตมลพิษ ส่งผลคนไทยป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ. สืบค้นจาก www.ryt9.com/s/tpd/2530516

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2555). โรคและภัยสุขภาพจากปัญหาหมอกควัน. กรมควบคุมโรค.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-11

How to Cite

ยาอินตา น., โพธิสุข บ., ประภัทรสิริ บ., กวินกุล เ., ยาอินตา ว., & โตวิชา ว. (2019). การพัฒนาเครื่องบริหารปอดเพื่อแก้ปัญหาสุขภาวะพร่องของระบบทางเดินหายใจ. Community and Social Development Journal, 20(1), 94–104. https://doi.org/10.14456/rcmrj.2019.185127

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (RESEARCH ARTICLE)