ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้สื่อดิจิทัลการสอนนวดแผนไทยของสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเชียงใหม่
DOI:
https://doi.org/10.14456/rcmrj.2021.203577คำสำคัญ:
สื่อดิจิทัล, การสอนนวดแผนไทย, หมอนวดแผนไทยบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้สื่อดิจิทัลการสอนนวดแผนไทยของสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้นวดหรือหมอนวดในสถานบริการนวดแผนไทยในจังหวัดเชียงใหม่เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ สื่อดิจิทัลการสอนนวดแผนไทย และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบไคสแควร์ (Chi-square) ผลการศึกษา พบว่า ผู้นวดหรือหมอนวดในสถานบริการนวดแผนไทย มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้สื่อดิจิทัลการสอนนวดแผนไทย ว่า สื่อดิจิทัลมีเนื้อหาด้านต่าง ๆ เรียงตามลำดับดังนี้ ด้านทักษะที่ได้ ค่าเฉลี่ย 4.55 + 0.62 ด้านการเรียนรู้ ค่าเฉลี่ย (4.53 + 0.59)ด้านการใช้งาน ค่าเฉลี่ย (4.51 + 0.69) ด้านเนื้อหาสาระ ค่าเฉลี่ย (4.45 + 0.70) และ ด้านความรู้และประโยชน์ที่ได้รับ ค่าเฉลี่ย (4.33 + 0.79) สถิติทดสอบไคสแควร์ พบว่า ปัจจัยด้านอายุมีอิทธิพลต่อการใช้สื่อดิจิทัลการสอนนวดแผนไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05) และมีอิทธิพลต่อการใช้สื่อดิจิทัลการสอนนวดแผนไทย ด้านเนื้อหาสาระ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (P-value < 0.05)
References
Department of Thai Traditional and Alternative Medicine. (2010). Handbook of Health Care Methods with Thai Traditional and Alternative Medicine. Bangkok: Department of Thai Traditional and Alternative Medicine. Ministry of Public Health. (In Thai)
Greer, J. D., & Yan, Y. (2011).Newspaper Connect with Readers Through Multiple Digital Tools. Newspaper Research Journal, 32(4), P.83-97. DOI:10.1177/073953291103200407
Kannasut, P. (1999). Statistics for behavioral science research. (3rd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press. (In Thai)
Leelawongsaroj, S. (2014). Development of A Digital Media Creation Supporting System for Education. (Doctor of Philosophy Thesis King Mongkut's University of Technology North Bangkok). (In Thai)
Nora, W. (2018). The development of digital media on Thai Massage of Health Science Department, Institute of Physical Education, Chiang Mai. Rajabhat Chiang Mai Research Journal, 19(1), 15-25. (In Thai)
Richard, S. (2013). What is Digital Media?. The Center for Digital Media. The Master of Digital Media program. 15 (October). Retrieved from http://thecdm.ca/news/faculty-news/2013/10/15/what-is-digital-Media.
Saramas, P., Khantabudr, N., & Yoosuk, U. (2008). A Study on Thai traditional Massage : Health Promotion Service’s Person in Chiangmai. Chiang Mai: Maejo University. (In Thai)
Sukchom, M. (2014). Relationship Between Service Marketing Mix and Service Usage Behavior of Thai Massage Consumers in Bangkok Metropolitan Hospitals. Siam Academic Review, 14(2), 15-27. (In Thai)
Sumanit, N. (2014). A Development of Cueing Digital Media on Mobile Electronic Devices for Public Relation of Educational Communications and Technology Department. Bangkok: Graduate School of Communication Arts and Management Innovation. (In Thai)
Taweerat, P. (1997). Research Methods in Behavioral and Social Science. (7th ed.). Bangkok: Educational and Psychological Test Bureau. Srinakharinwirot University. (In Thai)
Vanitsuppavong, P. (2003). Documents Teaching Educational Research Methodology. (4th ed.). Pattani : Technology and Learning Innovation Department Office of Academic Resources Prince of Songkla University. (In Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “Community and Social Development Journal” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ Community and Social Development Journal มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และเพื่อให้เผยแพร่บทความได้อย่างเหมาะสมผ่านสื่อสิ่งพิมพ์และอิเล็กทรอนิกส์ ผู้เขียนยังคงถือครองลิขสิทธิ์บทความที่ตีพิมพ์ภายใต้ใบอนุญาต Creative Commons Attribution (CC BY) ซึ่งอนุญาตให้เผยแพร่บทความซ้ำในแหล่งอื่นได้ โดยอ้างอิงต้องอ้งอิงบทความในวารสาร ผู้เขียนต้องรับผิดชอบในการขออนุญาตผลิตซ้ำเนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์จากแหล่งอื่น
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ