การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมการผลิตผักพื้นบ้านด้วยระบบพืชปลอดภัยร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตรสำหรับผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • กานต์ชัญญา แก้วแดง ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

DOI:

https://doi.org/10.14456/rcmrj.2016.214843

คำสำคัญ:

หลักสูตรการฝึกอบรม, การผลิตผักพื้นบ้าน, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและทดสอบหลักสูตรการฝึกอบรมการผลิตผักพื้นบ้านด้วยระบบพืชปลอดภัยร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตรสำหรับผู้สูงอายุ  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้สูงอายุเขตเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 12 คน   เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ การสนทนากลุ่ม และแบบทดสอบความรู้  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  เกณฑ์ E1 / E2 (80 / 80)   และสถิติทดสอบ paired – t  test  และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า การผลิตผักพื้นบ้านด้วยระบบพืชปลอดภัยควรเสริมด้านความรู้ด้วยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์บนฐานกฎ   กติกา และแนวคิดภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านการเกษตร  ประสิทธิภาพของหลักสูตรการฝึกอบรมมีค่าคะแนนความรู้ระหว่างการฝึกอบรม (E1) และความรู้หลังการใช้กิจกรรมการฝึกอบรม  (E2) เท่ากับ 81.48 / 89.56  การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์หลังทดลองใช้หลักสูตรการฝึกอบรมมีค่าคะแนนสูงกว่าก่อนทดลองใช้หลักสูตรการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  ทั้งนี้ผู้สูงอายุได้เสนอแนะการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรในพื้นที่สู่การเสริมสร้างอาชีพที่เหมาะสมกับวัย

References

ดารารัตน์ จำเกิด และคณะ. (2554). แนวทางการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างภาวะสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2531). ชุดการสอนระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

พรพรม ไขชัยภูมิ และภรณี ศิริโชติ. (2554). ความต้องการสวัสดิการสำ หรับผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลโนนไทย อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา. มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์. 28 (1): 85- 100.

วิทญา ตันอารีย์ และสามารถ ใจเตี้ย. (2554). การประเมินผลกระทบสุขภาพจากการใช้สารเคมีการเกษตรในการปลุกพืชไร่ของเกษตรกร เทศบาลเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สามารถ ใจเตี้ย. (2555). การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพจากการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในการปลูกพืชไร่โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน. ราชพฤกษ์. 10 (1): 81-85.

สามารถ ใจเตี้ย. (2556). การจัดการปัจจัยการผลิตพืชปลอดภัยชุมชนในสลวง - ขี้เหล็ก อำเภอแม่ริมจังหวัดเชียงใหม่. วิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร. 30 (1): 51 - 58.

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ. (2555). แรงงานสูงอายุมีผลกระทบต่อผลิตภาพการผลิตและการพัฒนาของประเทศไทย. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล http://www.ilo.org/asia/info/ public/pr/WCMS_104834/lang--en/index.htm (18 กันยายน 2558)

อภิษฎา เหล่าวัฒนพงษ์. (2554). ความต้องการและแนวทางในการจัดสวัสดิการของผู้สูงอายุด้านอาชีพ
โครงการส่งเสริมอาชีพพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วิทยบริการ. 22 (3): 56 - 67.

Allen, P. (2010). Realizing justice in local food systems. Cambridge Journal of Regions, Economy and Society. 3: 295 - 308.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-22

How to Cite

แก้วแดง ก. (2017). การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมการผลิตผักพื้นบ้านด้วยระบบพืชปลอดภัยร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตรสำหรับผู้สูงอายุ. Community and Social Development Journal, 17(1), 47–56. https://doi.org/10.14456/rcmrj.2016.214843

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (RESEARCH ARTICLE)