การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการศึกษาในด้านการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในพื้นที่เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พรวนา รัตนชูโชค ภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

DOI:

https://doi.org/10.14456/rcmrj.2016.214852

คำสำคัญ:

เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการศึกษา, การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น

บทคัดย่อ

     โครงการวิจัยเรื่อง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการศึกษาในด้านการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในพื้นที่เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่     มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อรวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างสื่อการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยกระบวนการมีส่วนร่วมกับนักเรียนในชุมชน และผู้วิจัย เพื่อเผยแพร่สื่อการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้แก่นักเรียนในชุมชน และเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของสื่อการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 19 คน กลุ่มผู้เสนอแนะรูปแบบวิธีการจัดเก็บข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น และการสร้างสื่อด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 22 คน และกลุ่มตัวอย่างสำหรับการประเมินการใช้งานระบบ และประเมินคุณภาพสื่อ จำนวน 53 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย การสัมภาษณ์ การจัดเวที ประเมินการใช้งานระบบด้วยแบบสอบถาม และแบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าคะแนนความรู้ด้วยการทดสอบค่า t-test  ซึ่งงานวิจัยได้เก็บรวมรวมข้อมูลภูมิปัญญาภายในท้องถิ่น ประกอบด้วย ภูมิปัญญาการเพาะเห็ดโคนน้อย ภูมิปัญญาการจัดทำโคมไฟ 700 ปี ภูมิปัญญากังหันวิดน้ำ ภูมิปัญญาด้านพิธีกรรมพื้นบ้านล้านนา และการเขียนตัวหนังสือเมือง ภูมิปัญญาช้างกระดาษสา ภูมิปัญญาการตีมีด ภูมิปัญญาการจ่อตอง  และดำเนินการจัดทำระบบสารสนเทศสำหรับการศึกษาเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้เป็นระบบสารสนเทศ และจัดทำสื่อการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนในชุมชน และเผยแพร่ระบบสารสนเทศสำหรับการศึกษาในด้านการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยการมีส่วนร่วมกับชุมชนเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบยั่งยืน
           ผลการวิจัยได้สอบถามความพึงพอใจการใช้งานระบบของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2 โรงเรียน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลภูมิปัญญา พบว่า ผู้ใช้มีระดับความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์มาก และการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนทั้ง 2 โรงเรียน พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเพิ่มขึ้นจากคะแนนก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ 57.27 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียน และหลังเรียน ปรากฏว่าคะแนนแบบทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนแบบทดสอบก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

งามนิจ กุลกัน. (2556). การจัดการองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมท้องถิ่นของตำบลอ้อมเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 25(14), 18-30.

ธีรศานต์ ไหลหลั่ง. (2549). การออกแบบประเมินชุดสื่อมัลติมีเดียวิชาการถ่ายภาพทางการศึกษาตามโมเดลการออกแบบของกานเยและบริกส์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

นพคุณ ชูทัน. (2558). การพัฒนาสารสนเทศเพื่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญาสถาปัตยกรรมเมืองมรดกโลก จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 6(2), 1-18.

มณีวรรณ จันที. (2553). การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่องการวิเคราะห์โครงการลงทุน. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิลาวัณย์ เดือนราษฎร์, รังสิยา นารินทร์, วรากรณ์ บุญเชียง, ศิวพร อึ้งวัฒนา และ สุกิจ เตือนราษฎร์. (2551). การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนด้วยบทเรียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกระบวนวิชา 551485 การรักษาโรคเบื้องต้น. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 19(2), 1-11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-22

How to Cite

รัตนชูโชค พ. (2016). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการศึกษาในด้านการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในพื้นที่เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. Community and Social Development Journal, 17(1), 69–80. https://doi.org/10.14456/rcmrj.2016.214852

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (RESEARCH ARTICLE)