การพัฒนาหนังสือเสียงระบบเดซี เรื่อง การอ่านเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนผู้มีความบกพร่องทางสายตา
DOI:
https://doi.org/10.14456/rcmrj.2021.236288คำสำคัญ:
หนังสือเสียงระบบเดซี, การอ่านเพื่อความเข้าใจ, นักเรียนผู้มีความบกพร่องทางสายตาบทคัดย่อ
การวิจัย ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหนังสือเสียงระบบเดซี เรื่อง การอ่านเพื่อความเข้าใจสำหรับนักเรียนผู้มีความบกพร่องทางสายตา ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของหนังสือเสียงระบบเดซี เรื่อง การอ่านเพื่อความเข้าใจ สำหรับผู้มีความบกพร่องทางสายตา 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนผู้มีความบกพร่องทางสายตาก่อนและหลังเรียนด้วยหนังสือเสียงระบบเดซี เรื่อง การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนผู้มีความบกพร่องทางสายตา โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือในพระบรมราชินูปถัมภ์ จังหวัดเชียงใหม่ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2561 จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หนังสือเสียงระบบเดซี เรื่อง การอ่านเพื่อความเข้าใจ คู่มือการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีประสิทธิผล
ผลการวิจัยพบว่า 1) หนังสือเสียงระบบเดซี เรื่อง การอ่านเพื่อความเข้าใจ สาหรับนักเรียนผู้มีความบกพร่องทางสายตา มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) ค่าดัชนีประสิทธิผลของหนังสือเสียงระบบเดซี เรื่อง การอ่านเพื่อความเข้าใจ มีค่าเท่ากับ 0.70 ซึ่งหมายความว่า นักเรียนผู้มีความบกพร่องทางสายตามีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 70 3) นักเรียนผู้มีความบกพร่องทางสายตามีความสามารถในการอ่านสูงขึ้นกว่าก่อนการเรียนด้วยหนังสือเสียงระบบเดซี เรื่อง การอ่านเพื่อความเข้าใจ
References
Bunton, M. (1999). Handbook of volunteers. Develop the quality of life of the blind. Association of the blind. Bangkok: Thiranusorn printing. (In Thai)
Government Gazette. (2008). Education Management for Persons with Disabilities Act 2008. (2008). Government Gazette. Volume 125. (In Thai)
Hallahan, D., & James, K. (1982). Exceptional Children : Introduction to Special Education. New Jursey : Prentice Hall Inc.
Krittayakier, O. (2007). A Program Supporting DAISY Digital Audio Book Creation. Bangkok: Chulalongkorn University. (In Thai)
Niamnoi, A. (2008). Development of critical reading using the SQ3R method. Bangkok: Suwiriyasarn. (In Thai)
Pholam, M. (2013). Development of Computer-Assisted Multimedia Lessons. ASEAN Community matters for Visually impaired students Ramkhamhaeng University. (Master of Education Thesis in Educational technology and communication, Kasetsart University). (In Thai)
Phongsawat, N. (2015). Content needs of the visually impaired. To produce audio books on the application Read for the Blind. (Independent research of Strategic Communication Program, Graduate School Bangkok University). (In Thai)
Samranwet, P. (2010). The teaching condition of English at the secondary level. In schools for the blind and in schools In the project of co-teaching blind students. (Master of Education Thesis, Chulalongkorn University). (In Thai)
Subsakorn, W. (1995). A study of problems and solutions related to the production and use of teaching materials in schools for the blind. (Master's thesis, Faculty of Education, Chulalongkorn University). (In Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “Community and Social Development Journal” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ Community and Social Development Journal มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และเพื่อให้เผยแพร่บทความได้อย่างเหมาะสมผ่านสื่อสิ่งพิมพ์และอิเล็กทรอนิกส์ ผู้เขียนยังคงถือครองลิขสิทธิ์บทความที่ตีพิมพ์ภายใต้ใบอนุญาต Creative Commons Attribution (CC BY) ซึ่งอนุญาตให้เผยแพร่บทความซ้ำในแหล่งอื่นได้ โดยอ้างอิงต้องอ้งอิงบทความในวารสาร ผู้เขียนต้องรับผิดชอบในการขออนุญาตผลิตซ้ำเนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์จากแหล่งอื่น
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ