แนวทางการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐยชญ์ บุญสด คณะวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • โฆสิต แพงสร้อย คณะวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

DOI:

https://doi.org/10.14456/rcmrj.2021.241201

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม, จังหวัดสุรินทร์

บทคัดย่อ

     การวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม จังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการของแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม จังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ 3) แนวทางการการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม จังหวัดสุรินทร์ เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสำรวจ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการประชุมเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 93 คน จากพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม 4 แหล่ง อันได้แก่ บ้านตากลาง บ้านภูมิโปน วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร และงานเทศกาลปลาไหล ข้าวใหม่หอมมะลิและงานกาชาดด้วยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling)
    ผลการศึกษาพบว่า 1) พัฒนาการของแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม จังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบันภาครัฐได้เข้ามาให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยวแก่ชุมชน มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการท่องเที่ยวในระดับชุมชน ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต และการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนตอบสนองความต้องการคนในชุมชนอย่างแท้จริง 2) สภาพปัญหาของแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ ถนนในชุมชนไม่ค่อยสะอาด มีฝุ่นละอองและมีขยะ เจ้าของบ้านพักโฮมเตย์ไม่สามารถสื่อสารกับนักท่องเที่ยวได้ด้วยภาษาต่างประเทศ มัคคุเทศก์มีจำนวนไม่เพียงพอ ขาดการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ 3) แนวทางการการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม จังหวัดสุรินทร์ ประกอบด้วย 3 แนวทาง คือ แนวทางการพัฒนาโดยทั่วไป แนวทางการพัฒนาตามความต้องการของนักท่องเที่ยว และแนวทางการพัฒนาตามศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว โดยแบ่งเป็น  3  ด้าน คือ ด้านการดึงดูดใจนักท่องเที่ยว ด้านการต้อนรับนักท่องเที่ยว และด้านบริหารจัดการ

References

Department of Community Development. (2020). Service: One Tambon One Product. Retrieved from https://surin.cdd.go.th/service/one-tambon-one-product (In Thai)

Phanratanasil, W. (2008). A Study of a Philosophical Operational Model School Sufficiency Economy: Multiple Research, Case Studies. (Master's Thesis, Chulalongkorn University) (In Thai)

Ratchakrit, T. (2019). Management concept. Retrieved from https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190419-management-concept (In Thai)

Sarawadee, S. (1997). Community organization Mechanisms for solving problems and social development. Khon Kaen: Research and Development Institute. Khon Kaen University. (In Thai)

Suansri, P. (1997). Tourism management with participation of people. Bangkok: Volunteer Foundation for Society. (In Thai)

Tourism Authority of Thailand. (2003). Tourism and hospitality. Bangkok: Thai Union Graphics. (In Thai)

Tourism Development Plan No. 2. (2020). 2nd Edition of National Tourism Development Plan (2017 - 2021). Retrieved from https://www.thai-german-cooperation.info/admin/

uploads/publication/1be798cb24ee07703c498fcd47cbba4den.pdf (In Thai)

Waiapa, S. (2010). Development of Tourism Business Administration by Ban Sop Win Community, Mae Win Sub-district, Mae Wang District, Chiang Mai Province. (Doctor of Philosophy Thesis, Mae Jo University). (In Thai)

Yospakorn, N. (2004). Management of travel companies that affect the satisfaction of tourists. : A case study of Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. (Master of Business Administration Thesis, Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30

How to Cite

บุญสด ณ., & แพงสร้อย โ. . (2021). แนวทางการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม จังหวัดสุรินทร์. Community and Social Development Journal, 22(1), 220–234. https://doi.org/10.14456/rcmrj.2021.241201

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (RESEARCH ARTICLE)