รูปแบบการส่งเสริมและพัฒนาสุขภาวะของผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมระดับท้องถิ่น ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
DOI:
https://doi.org/10.14456/rcmrj.2021.242491คำสำคัญ:
รูปแบบการส่งเสริมและพัฒนาสุขภาวะ, การมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
การศึกษาแบบผสมผสานนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยคือ 1) ศึกษาการรับรู้ภาวะสุขภาพ และปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยส่วนบุคคล กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพและพฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุ และ 3) ศึกษารูปแบบการส่งเสริม และพัฒนาสุขภาวะของผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมระดับท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 332 คน และมีผู้ให้ข้อมูลหลัก 70 คน เครื่องมือประกอบด้วยแบบสอบถาม แบบสังเกต และประเด็นการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติทดสอบไค-สแควร์ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า การรับรู้ภาวะสุขภาพและปัญหาสุขภาพที่สำคัญของผู้สูงอายุอยู่ในระดับพอใช้ (ค่าเฉลี่ย 2.27, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.79) และน้อย (ค่าเฉลี่ย 2.05, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.14) พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในภาพรวมอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย 2.96, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.85) การใช้ยาของผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.24, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.97) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล (ความเพียงพอของรายได้ และสถานะในครอบครัว) ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การรับรู้ภาวะสุขภาพ และปัญหาสุขภาพที่สำคัญของผู้สูงอายุ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value≤ .05) ความเหมาะสมของรูปแบบนี้ (การส่งเสริมและพัฒนาสุขภาวะของผู้สูงอายุ) เกี่ยวกับการ มีองค์ประกอบที่สามารถปฏิบัติได้ โดยจำแนกเป็นคุณลักษณะอย่างมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย องค์ประกอบเชิงปัจจัย เชิงกระบวนการของจัดการความรู้ และแนวทางการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ในบริบทของผู้สูงอายุ งานวิจัยนี้ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ การสร้างความตระหนักรู้ด้านสุขภาวะ บนหลักการของความรอบรู้ด้านสุขภาวะอย่างมีส่วนร่วมและการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุ
References
Aotkan, P. (2013). Theory of degradation. Retrieved from
http://110.164.51.229/newbcnu/attachments/WorksTeacher/Panu/ (In Thai)
Chokekerd, M., & Noisub, L. (2016). The development a network to promote healthy aging, Uttaradit Province. Journal of ODPC 10th, 14(2), 33-44. (In Thai)
Department of Older Persons. (2017). Situation of the Thai Elderly Year 2015. Retrieved from http://www.dop.go.th/th/know/2/67 (In Thai)
Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. (2018). Situation of the Thai Elderly 2018. Retrieved from https://thaitgri.org/?p=38670 (In Thai)
Junrith, K., Kancham, P., Thanawat, T., Jaikamwang, N., & Konthasing, P. (2019). Health Care Model for the Elderly by Community Networks Participation, Tambon Pasao, Muang, Uttaradit. Uttaradit Province. Academic Journal Uttaradit Rajabhat University, 14(1), 65-78. (In Thai)
Khung Taphao Health Promoting Hospital. (2018). Health service system for the elderly in the Khung Subdistrict Tapao. Uttaradit: Khung Taphao Subdistrict Health Promoting Hospital.. (In Thai)
Klumrat, K., Jongwutiwes, K., Mahakan, P., & Prasertsuk, N. (2013). Causal factors of Health Behavior of Elderly in Western Region of Thailand. Rajabhat Maha Sarakham University Journal, 7(3), 93-103. (In Thai)
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610. https://doi.org/10.1177/001316447003000308
Nachiangmai, D. (2015). Situation of aging in Thailand. Retrieved from
http://thaitgri.org/?p=37841 (In Thai)
Rattanamongkolgul, D., Sungkamanee, S., Rattanamongkolgul, S., Lertwongpaopun, W., & Sukchawee, S. (2015). Heath profile of elderly people through active ageing framework in a community, Nakornnayok province. Journal of Medicine and Health Sciences, 22(2), 48-60. (In Thai)
Rottrakul, P. (2012). Factors Correlating with Self-Care Ability of Elderly Disease. Dermatology Case Studies Institute of Dermatology Bangkok. Journal of Nursing Division, 39(1), 79-91. (In Thai)
Siangpor, K., Utama, N., Thonchuay, P., & Pudpong, S. (2018). Model Development of Community Participation in Holistic Health Promotion for the Elderly in a Rural Area, Phayao Province. Journal of Public Health, 48 (2), 113-126. (In Thai)
Silangern, P. (2017). Factors Correlating to Self-Health Care Behavior of the Elderly In Phayao Province. (Master of Public Health, Thesis Faculty of Public Health, Thammasat University). (In Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “Community and Social Development Journal” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ Community and Social Development Journal มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และเพื่อให้เผยแพร่บทความได้อย่างเหมาะสมผ่านสื่อสิ่งพิมพ์และอิเล็กทรอนิกส์ ผู้เขียนยังคงถือครองลิขสิทธิ์บทความที่ตีพิมพ์ภายใต้ใบอนุญาต Creative Commons Attribution (CC BY) ซึ่งอนุญาตให้เผยแพร่บทความซ้ำในแหล่งอื่นได้ โดยอ้างอิงต้องอ้งอิงบทความในวารสาร ผู้เขียนต้องรับผิดชอบในการขออนุญาตผลิตซ้ำเนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์จากแหล่งอื่น
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ