การศึกษาชนิดและสถานภาพการคุกคามต่อไม้ต้นในงานภูมิทัศน์ถนน พื้นที่เขตเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
DOI:
https://doi.org/10.14456/rcmrj.2022.246999คำสำคัญ:
ไม้ต้นประดับถนน , ภูมิทัศน์ถนน , นครศรีธรรมราชบทคัดย่อ
การศึกษาชนิด และสถานภาพการคุกคามของไม้ต้นในงานภูมิทัศน์ถนน ในพื้นที่เขตเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ผลการวิจัย พบว่า ชนิดไม้ต้น ในเขตเทศบาลนคร นครศรีธรรมราช มีทั้งหมด 29 ชนิด จำนวน 692 ต้น คือ อโศกอินเดีย (Polylthia longifolia), ตะแบก (Lagerstroemia floribunda), พญาสัตบรรณ (Alstonia scholaris) และอื่น ๆ โดยมีจำนวนเท่ากับ 306, 93, 56 ต้น และ อื่น ๆ ตามลำดับ และเขตเทศบาลเมืองทุ่งสง มีทั้งหมด 31 ชนิด จำนวน 533 ต้น คือ ลีลาวดี (Plumeria sp.), เสลา (Lagerstroemia loudoni), ราชพฤกษ์ (Cassia fistula) และอื่น ๆ โดยมีจำนวนเท่ากับ 236, 67, 35 ต้นและอื่น ๆ ตามลำดับ สถานภาพการคุกคาม ส่วนใหญ่ไม้ต้นในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช มีการคุกคามระดับปานกลาง 17 ชนิด มีเพียง 12 ชนิด ที่มีการคุกคามต่ำหรือน้อย และในเขตเทศบาลเมืองทุ่งสง ส่วนใหญ่ไม้ต้นมีการคุกคามระดับปานกลาง 19 ชนิด มีเพียง 12 ชนิด ที่มีการคุกคามต่ำหรือน้อย การประเมินสถานภาพการคุกคามของไม้ต้นในงานภูมิทัศน์ถนน ในเขตเทศบาลนคร นครศรีธรรมราช มีสาเหตุมาจาก ต้นไม้ทรงพุ่มหนักเกินไป ขาดการตัดแต่งกิ่ง, ความเสียหายที่เกิดจากการตัดแต่งของเจ้าหน้าที่ และการซึมซาบของน้ำและช่องว่างอากาศเท่ากับ 4.17, 3.33 และ 3.20 ตามลำดับ ส่วนในเขตเทศบาลเมืองทุ่งสงเช่นเดียวกัน มีการประเมินสถานภาพการคุกคามมีสาเหตุมาจาก ต้นไม้ทรงพุ่มหนักเกินไป ขาดการตัดแต่งกิ่ง, ความเสียหายที่เกิดจากการตัดแต่งของเจ้าหน้าที่และการซึมซาบของน้ำและช่องว่างอากาศเท่ากับ 3.89 และ 3.37 และ 3.13 ตามลำดับ
References
Aryanimitsakul, C. (2015). The Study of Trees along Streets and Canals in Rattanakosin Area during the Reign of King Rama V. Landscape Architecture Journal. Department of Landscape Architecture, Faculty of Architecture, Chulalongkorn University, 64, 19-32. (In Thai)
Bunkham, D. (2000). Big trees in construction and urban development: Bangkok Chulalongkorn University Printing House. (In Thai)
Bunsopit, P., Preechapunya, P., & Jucharoen, C. (2004). Ethnoecology, about Multilayer cropping system Ban Kiriwong, Lansaka District, Nakhon Si Thammarat. Reserch report. Forest Research and Development Center. Faculty of Agroforestry, Kasetsart University and Natural Resources Conservation, Royal Forest Department, 1-112. (In Thai)
Choothong, S., Qin, H., & Soonsawad, N. (2016). Diversity, Prevalence and Environmental Benefits of Street Tree in Nakhon Si Thammarat, Thailand. Journal of Agricultural Technology, 12(3), 395-507. (In Thai)
Hattong, J. (2004). Survey and Landscape Potential Assessment of Trees in Rajamangala Institute of Technology, Nakorn Si Thammarat Campus, Thung Song, Nakorn Si Thammarat. (Master’s Thesis, Kasetsert University). (In Thai)
Marselle, M.-R., Bowler, D.-E., Watzema, J., Eichenberg, D., Kirsten, T. & Bonn, A. (2020). Urban street tree biodiversity and antidepressant prescriptions. Scientific reports, 10, 22445.
Matheny, N.P., & J.R. Clark. (1994). A Photographic Guide to the Evaluation of Hazard Trees in Urban Areas (2nd ed.). International Society of Arboriculture, Champaign, IL. 85 p.
Nagendra, H. & Gopal, D. (2010). Street trees in Bangalore: Density, diversity, composition and distribution. Urban Forestry & Urban Greening, 9(2), 129-137.
Nanta, P. (2020). Guidelines for Increasing Green Space and Assessing the Potential of Green Space in Vadhana District, Bangkok. Sarasatr academic journal, 4, 908-920. (In Thai)
Na Nakorn, W. (2016). Width and abundance of trees in primary and secondary schools at thung song sub district. Nakorn Si Thummarat, Rajamangala University of Technology Srivijaya. (In Thai)
Rojrudakorn, P. (2012). Streetscape & urbanization in Bangkok. Executive Journal, 32(3), 145-151. (In Thai)
Sangthong, D. (2006). The Development guidelines for Streetscape of Srinakarin Road. (Master’s Thesis, Chulalongkorn University). (In Thai)
Soonsawad, N. (2014). An Assessment of Ecosystem Services Provided by Public Street Trees in Bangkok, Thailand. (Doctoral’s thesis, University of California Riverside). (In Thai)
Streethern M., Adnan M. & Azuar, A.K.-K. (2011). Street tree inventory and tree risk assessment of selected major road in Kuala Lumpur, Malaysia. Arboriculture and Urban Foestry, 37(5), 226-235.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “Community and Social Development Journal” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ Community and Social Development Journal มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และเพื่อให้เผยแพร่บทความได้อย่างเหมาะสมผ่านสื่อสิ่งพิมพ์และอิเล็กทรอนิกส์ ผู้เขียนยังคงถือครองลิขสิทธิ์บทความที่ตีพิมพ์ภายใต้ใบอนุญาต Creative Commons Attribution (CC BY) ซึ่งอนุญาตให้เผยแพร่บทความซ้ำในแหล่งอื่นได้ โดยอ้างอิงต้องอ้งอิงบทความในวารสาร ผู้เขียนต้องรับผิดชอบในการขออนุญาตผลิตซ้ำเนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์จากแหล่งอื่น
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ