การพัฒนาตัวชี้วัดสำหรับการให้คะแนนทางเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจไทย

ผู้แต่ง

  • ปฏิมา พักตร์ผ่อง นิสิตดุษฎีบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • ธนา สมพรเสริม สาขาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • ศักดิ์สิทธิ์ บุศยพลากร สาขาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • เรวัตร ธรรมาอภิรมย์ สาขาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

DOI:

https://doi.org/10.14456/rcmrj.2022.259503

คำสำคัญ:

คะแนนทางเครดิต , สถาบันการเงินเฉพาะกิจ , ระดับความน่าเชื่อถือ , ความเสี่ยงทางเครดิต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดสำหรับการให้คะแนนทางเครดิต (Credit scoring) ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจไทย และประยุกต์ใช้ Credit scoring ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงทางเครดิต
ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของไทย โดยศึกษาและวิเคราะห์ทั้งข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการให้คะแนนทางเครดิตจากหน่วยงานจัดระดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating Agency: CRA) เช่น สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ, TRIS Rating, S&P, Moody’s และ Fitch Ratings เป็นต้น รวมถึงใช้ข้อมูลจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ทั้งนี้ กรอบการวิจัย ประกอบด้วยสาระสำคัญ ดังนี้ โครงสร้างแบบจำลอง (ความเสี่ยงด้านธุรกิจ ความเสี่ยงด้านการเงิน และความเสี่ยงด้านมหภาค) ตัวชี้วัดและค่าน้ำหนัก (100%)  (ตัวชี้วัดความเสี่ยงด้านธุรกิจ (40%) (ระดับอุตสาหกรรม (50%) และระดับองค์กร (50%)) ตัวชี้วัดความเสี่ยงด้านการเงิน (40%) ได้แก่ ระดับโครงสร้างทางการเงิน (100%) และตัวชี้วัด
ความเสี่ยงด้านมหภาค (20%) (ระดับมหภาค (25%) ระดับความเกี่ยวข้องกับภาครัฐ (25%) และระดับกลยุทธ์การบริหารหนี้ระยะปานกลาง (50%))

สำหรับเกณฑ์การประเมินได้ใช้ข้อมูลเพื่อนำมากำหนดคะแนนทางเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจใช้ข้อมูลในช่วงปี พ.ศ. 2552-2562 ที่ครอบคลุมช่วงวัฏจักรเศรษฐกิจไทยโดยใช้วิธีเปอร์เซนไทล์   
เพื่อแบ่งช่วงการกำหนดคะแนนทางเครดิต 1-5 (เสี่ยงที่สุด-ดีที่สุด) และแปลงคะแนนทางเครดิตเป็นระดับ
ความน่าเชื่อถือ 1-8 (หนี้ชั้นดี-หนี้สูญ) โดยใช้วิธี Linear Regression ผ่านแบบจำลอง The Z-Score Model:

Z = X1Wα + X2Wδ + X3Wγ + €

ผลจากการวิจัยพบว่าการพัฒนาตัวชี้วัดและค่าน้ำหนักโดยแบ่งความเสี่ยงออกเป็นความเสี่ยงด้านธุรกิจ ความเสี่ยงด้านการเงิน และความเสี่ยงด้านมหภาค เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดระดับความน่าเชื่อถือของสถาบันการเงินเฉพาะกิจไทยให้มีความถูกต้องและเหมาะสมกับลักษณะธุรกิจของสถาบันการเงินเฉพาะกิจมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ผลของการจัดระดับความน่าเชื่อถือมีความสัมพันธ์กับความเป็นไปได้ของการผิดนัดชำระหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจอีกด้วย อันส่งผลต่อภาพรวมของระดับและการบริหารหนี้สาธารณะของประเทศ

References

Altman, E. (1968). Financial Ratios, Discriminant Analysis and the Prediction of Corporate Bankruptcy. Journal of Finance, 23(4), 589-609. DOI:10.1111/j.1540-6261.1968.tb00843.x

Andrew, K.., Til, S., & Scott, M.W. (2002). Risk Measurement, Risk Management and Capital Adequacy of Financial Conglomerates. Brookings-Wharton Papers on Financial Services, December 20022003(1). DOI:10.1353/pfs.2003.0005.

Budi, S., Riandi, A.D., Musli, M., & Rasidi, I. (2020). Article Key Performance Indicators of Indonesia State-Owned Enterprise - a Model Using BSC and MBPE. International Journal of Integrated Engineering, 12(3), 115-121. DOI: https://doi.org/10.30880/ijie.2020.12.03.015

Chengcheng, H., Moudud, A., & Kenneth, C. (2010). Review of the literature on credit risk modeling: Development of the past 10 years. Banks and Bank Systems, 5(3), 43-60.

Fritz, F.B. (2016). Contingent Liabilities Risk Management: A Credit Risk Analysis Framework for Sovereign Guarantees and On-Lending (Country Experiences from Colombia, Indonesia, Sweden and Turkey). World Bank Policy Research Working Paper, No.7538.

Hand, D.J., & Jacka, S.D. (1998). Credit Scoring, Statistical Techniques and Evaluation Criteria: A Review of the Literature. Intelligent Systems in Accounting Finance & Management. London.

Santi, C., & Prasopchok, N. (2017). Assessment of fiscal transparency of non-financial enterprises for fiscal sustainability. Faculty of Economic Development, the National Institute of Development Administration. (In Thai)

Somboon, S. (2015). Credit Scoring System for Managing Risk in Agricultural Loan Portfolio of the Thailand Rural Financial Market. Applied Economics Journal, 22(1), 27-50. (In Thai)

The State Enterprise Policy Office (2017). List of state-owned enterprises in the supervision of ministries. Retrieved from http://www.sepo.go.th/content/162 (In Thai)

The Public Debt Management Office (2005). Public Debt Management Act B.E.2005 and amended. Retrieved from https://www.pdmo.go.th (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-30

How to Cite

พักตร์ผ่อง ป., สมพรเสริม ธ., บุศยพลากร ศ., & ธรรมาอภิรมย์ เ. . (2022). การพัฒนาตัวชี้วัดสำหรับการให้คะแนนทางเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจไทย. Community and Social Development Journal, 23(2), 15–32. https://doi.org/10.14456/rcmrj.2022.259503

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (RESEARCH ARTICLE)