กลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการตอบรับการแสดงความไม่พอใจในภาษาไทย Linguistic strategies for responding to complaint in Thai

Main Article Content

ดร. สิทธิธรรม อ่องวุฒิวัฒน์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษากลวิธีทางภาษาที่ผู้พูดภาษาไทยใช้ในการตอบรับการแสดงความไม่พอใจและข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจหรือปัจจัยที่ผู้พูดภาษาไทยคำนึงถึงในการเลือกใช้กลวิธีทางภาษาในการแสดงความไม่พอใจตามแนวคิดวัจนปฏิบัติศาสตร์แนวปลดปล่อย (Emacipatory Pragmatics) โดยใช้แบบสอบถามประเภท Discourse Completion Test (DCT) จากกลุ่มตัวอย่างผู้พูดภาษาไทยที่เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีหลากหลายคณะและหลากหลายชั้นปีจำนวน 100 คน และจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน  ผลการศึกษาพบว่า ผู้พูดภาษาไทยเลือกใช้กลวิธีทางภาษาแบบลดน้ำหนักความรุนแรงในการตอบรับการแสดงความไม่พอใจมากกว่ากลวิธีทางภาษาแบบตรงไปตรงมา ส่วนข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจหรือปัจจัยที่ผู้พูดภาษาไทยคำนึงถึงในการใช้กลวิธีทางภาษาในการตอบรับการแสดงความไม่พอใจมี 2 ส่วน คือ (1) ข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจหรือปัจจัยในส่วนที่เป็นวัตถุประสงค์ของการสนทนา และ (2) ข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจหรือปัจจัยในส่วนที่เป็นปริบทของการสนทนา โดยการรักษาความสัมพันธ์ของคู่สนทนาเป็นข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจหรือปัจจัยที่ผู้พูดภาษาไทยส่วนใหญ่คำนึงถึงมากที่สุดในการใช้กลวิธีทางภาษาในการตอบรับการแสดงความไม่พอใจ พฤติกรรมทางภาษาดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรม 4 ประการ ได้แก่ (1) การมีมุมมองตัวตนแบบพึ่งพา (interdependent view of self) (2) ความเป็นสังคมแบบอิงกลุ่ม (collectivism)  (3) ความเป็นสังคมแบบไมตรีสัมพันธ์(affiliative society)  และ (4) ความเป็นวัฒนธรรมปริบทสูง (high context culture )


Abstract


This article aims to study linguistic strategies that Thai people adopted to respond to the complaint, as well as to study native speakers’ motivational concerns while performing the act. The results indicate that Thai speakers adopted mitigating strategies more frequently than bold-on record strategies. An analysis of native speaker’ motivational concerns reveal that there           are two types of motivational concerns: (1) motivational concerns relating to the purpose of conversation and (2) motivational concerns relating to the context of conversation. It found that Thai speakers place a priority on keeping relationship with the interlocutor. This linguistics behavior might be motivated by four socio-cultural factors: (1) an interdependent view of self (2) collectivism (3) affiliative society and (4) high context culture.

Article Details

บท
บทความวิชาการ